Display mode (Doesn't show in master page preview)
Turn on more accessible mode
Skip Ribbon Commands
Skip to main content
Turn off Animations

พายุความผันผวนและความเสี่ยง Recession ยังกดดัน กระตุ้นเหล่านักลงทุนต้องพร้อมรับมือ

พายุความผันผวนและความเสี่ยง Recession ยังกดดัน กระตุ้นเหล่านักลงทุนต้องพร้อมรับมือ

  • ​​​ประเทศมหาอำนาจมีแนวโน้มการเกิด Recession สูง ส่วนประเทศไทยมีแนวโน้มเพียง 13% จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ การเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ
  • สถานการณ์การลงทุนปี 2023 ยังมีความไม่แน่นอนสูง จากสถานการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน และ การเปิดประเทศของจีนในเดือนที่ผ่านมา
  • สองทางออกนักลงทุน 1) ทยอยลดสัดส่วนการลงทุน หาจังหวะขายรีบาวน์ มาพักในกองทุนตราสารหนี้ หรือ 2) เก็บกองทุนที่ศึกษาแล้วว่ามีอนาคต เพื่อรอรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
  • คำแนะนำการลงทุนช่วงนี้ แนะนำให้ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เพื่อลดความเสี่ยง และ ตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะยาว

​        เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีประกาศเตือนของ IMF ว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่สภาวะ Recession หรือ เศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ตลาดว่า 3 มหาอำนาจมีโอกาสเกิด Recession  ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ที่มีโอกาส 65% , ยุโรป 80% รวมไปถึงอังกฤษและรัสเซียที่สูงถึง 90% ซึ่งทำให้วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ หนักหนากว่าครั้งที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้เกิดขึ้น คือ
    • ราคาพลังงาน
    • ราคาอาหาร
    • ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
    • ความปั่นป่วนในตลาดเงินโลก



        สำหรับประเทศไทยแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่ผ่านมา แต่โอกาสการเกิดนั้นน้อยเพียง 13% เท่านั้น เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าในปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามากกว่า 22 ล้านคน แม้จะยังไม่เท่ากับก่อนการเกิด COVID-19 แต่เมื่อประกอบกับการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ก็ทำให้เป็นตัวช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี

Recession คือ การบริโภค การจับจ่ายใช้สอย การลงทุนของภาคเอกชน การจ้างงาน รายได้ การใช้จ่ายของภาครัฐ และ การส่งออกลดลง ซึ่งหากค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ติดลบติดต่อกันเป็นเวลา 2 ไตรมาส จะเรียกว่าการถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession)

2 สัญญาณสำคัญ บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สัญญาณบ่งชี้การเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่สังเกตได้ มี 2 สัญญาณสำคัญ ที่นักลงทุนจะสามารถนำมาประเมินสถานการณ์ และ เตรียมตัวรับมือล่วงหน้า ได้แก่
    • ​ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลเกิดพลิกกลับจากสถานการณ์ปกติ (Inv​erted Yield Curve) : พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว โดยเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยแทบทุกครั้ง


    • ​ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ (Economic Indicators) : เมื่อเกิดการลดลงของดัชนีชี้วัด เช่น ตัวเลขการผลิตและการจ้างงาน , ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค , ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรายเดือน , ตัวเลขรายได้ที่แท้จริง ซึ่งทำให้คนในประเทศลดความต้องการจับจ่ายใช้สอย



ความท้าทายของการลงทุนที่ยังต้องเผชิญ

สถานการณ์การลงทุนในปี 2023 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อนหน้า โดยนักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อการตัดสินใจและดูจังหวะการเลือกสินทรัพย์การลงทุนได้อย่างเหมาะสมท่ามกลางวิกฤต
    • ดอกเบี้ยขาขึ้น : ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวด เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอยู่ในหลายประเทศ
    • ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ : ปัญหารัสเซีย – ยูเครน ยังคงต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และ อาจรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลในหลาย ๆ ประเทศ และอาจส่งผลต่อการค้าโลก เพราะ รัสเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมัน
    • การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก : เกิดจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตที่ลดลงอย่างมาก (ดัชนี PMI อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว) 

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตแต่ละประเทศ


ขณะที่ประเด็นร้อนแรงของโลกในตอนนี้ คือ การกลับมาเปิดประเทศของจีน ที่ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนดีขึ้น ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันของจีนน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปเป็นที่เรียบร้อย จากการเปิดประเทศในครั้งนี้เป็นความหวังของประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่น่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อของคนจีนที่เติบโตมากขึ้น



อีกหนึ่งมหาอำนาจขั้วตรงข้ามอย่างสหรัฐฯ ในด้านนโยบายทางการเงินยังคงมีความเสี่ยงสูงอยู่ในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจาก FED ยังคงมองว่าเงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงสูงที่ต้องควบคุมเพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาว แม้จะคลายความกังวลได้บ้างจากอัตราที่ลดลงเข้าสู่ระดับ 2.9% จากระดับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งการใช้นโยบายที่ตึงตัวอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหดตัว และอาจมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯในเดือน มิ.ย. หากสภาคองเกรสไม่ขยายเพดานหนี้ยังกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ในครึ่งปีแรกนี้จึงยังมีความผันผวนสูงอยู่



ขาย หรือ สะสม ทางออกการบริหารการลงทุนที่ผันผวน

เมื่อสถานการณ์ผันผวนแบบนี้ โดยเฉพาะเมื่อกองทุนที่ถือครองติดลบมากกว่า 20% สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างแรก คือ พิจารณากองทุนที่ถือครองอยู่ว่าเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อะไร และ ราคาร่วงลงเพราะปัจจัยที่กระทบทั้งมหภาคใช่หรือไม่ เพราะ หากราคาร่วงลงจากปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะร่วงลงได้อีก โดยทางออกนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ทาง ดังนี้

    • ทยอยลดสัดส่วน และ หาจังหวะขายช่วงรีบาวน์ มาพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่รับการขาดทุนมากกว่านี้ไม่ไหว และ อยากถือเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวเอง สามารถพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ คงเป็นคำแนะนำที่เหมาะสม
    • ไม่อยากขายขาดทุน หากศึกษาข้อมูลกองทุนที่ลงทุนแล้วยังเป็นกองทุนที่มีอนาคต การร่วงลง เป็นไปตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ มีการเก็บข้อมูลสถิติในปีที่เกิดวิกฤติจะเห็นว่าแม้เศรษฐกิจจะไม่ดีหรืออยู่ในช่วงวิกฤติที่อาจได้รับผลขาดทุน แต่ส่วนใหญ่เมื่อเหตุการณ์นั้นจบลงการลงทุนก็จะกลับมาให้ผลตอบแทนที่ดีได้เสมอ
** ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจ



โอกาสการเข้าลงทุน ท่ามกลางความเสี่ยง Recession

หากนักลงทุนใดที่ยังมีความสนใจอยากเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ แม้จะอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ยังสามารถมองโอกาสของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มสินค้าสุขภาพ กลุ่มสินค้าจำเป็น กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน หรือ การกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์เพื่อลดความผันผวน นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี เนื่องจากในปัจจุบันผลตอบแทนของตราสารมีความน่าสนใจมากขึ้นจาก Yield ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนช่วงภาวะที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจแบบนี้ มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อ ดังนี้
    • ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average : DCA) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวน
    • ตั้งเป้าหมายการลงทุนอย่างน้อย 5 ปี เพราะ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวน เป้าหมายระยะสั้นมีโอกาสเห็นการขาดทุนได้สูงมากกว่า

ตารางผลตอบแทนหลังเกิดภาวะ Recession
ที่มา : Forbes.com​

บทความโดย
K WEALTH TRAINER กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPTTM

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

K-GINCOME-A(R)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

K-GINCOME-A(A)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



K-GINCOME-SSF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



K-GINCOME-RMF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



ทำไมต้อง K-GINCOME?
    • กองทุนเน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
    • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
    • มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสินทรัพย์กว่า 50 คน ทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับสม่ำเสมอ

เหมาะกับใคร?
    • ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

K-GHEALTH
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

K-GHEALTH(UH)
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

ทำไมต้อง K-GHEALTH?
    • กระจายการลงทุนหุ้นสุขภาพในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ได้แก่ เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ บริการทางการแพทย์และเทคโนโลยีการแพทย์
    • แม้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีการรักษาพยาบาลหรือยาที่จำเป็นต้องใช้ยังปรับขึ้นราคาได้ตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กองทุนกลุ่มสุขภาพจึงยังสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
    • ทีมผู้จัดการกองทุนหลักมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มหุ้นสุขภาพมากด้วยประสบการณ์เฉลี่ยกว่า 18 ปี

เหมาะกับใคร?
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้


กลับ