Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

    • ​​​​การเปิดประเทศของจีน และ ผ่อนคลายมาตรควบคุม COVID-19 เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
    • ส่งผลบวกต่อด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มสูงขึ้น คาดการณ์นักท่องเที่ยวปี 2023 รวมประมาณ 25.5 ล้านคน และ มีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนกลับมาเพิ่มขึ้น แม้จะยังไม่เท่าช่วงก่อนมี COVID-19
    • ส่งผลบวกต่อด้านการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะ สินค้าประเภทอาหาร ทำให้คาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 2023 หดตัวลดลง อยู่ที่ -0.5% (จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ -1.5%)
    • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 3.7% (จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 3.2%)


หลังจากใช้มาตรการควบคุม COVID-19 อย่างเข้มงวดเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 ปี ประเทศจีนก็ได้ผ่อนคลาย และ เปิดประเทศเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2023 และ มีแนวโน้มที่จะสดใสมากขึ้น แม้เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังดูซบเซา




คาดการณ์ชาวจีนหลั่งไหล หนุนท่องเที่ยวไทยเติบโต

การเปิดประเทศของจีนทำให้ชาวจีนสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาเพิ่มขึ้นประมาณๆ 4.65 ล้านคน ส่งผลทำให้ปีนี้มีนักท่องเที่ยวรวมอยู่ที่ประมาณ 25.5 ล้านคน โดยจะเริ่มเห็นในช่วงไตรมาสที่ 2 และเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามการขยายเส้นทางการบินที่เพิ่มขึ้น

การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากภาคการท่องเที่ยวไทย จะส่งผลบวกต่อการจ้างงาน และ การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการบริการ 

        แต่เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้น อาจส่งผลต่องบประมาณการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวที่อาจลดลงได้ ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงประเมินว่า การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนในประเทศไทยอาจมีมูลค่าประมาณ 1.86 แสนล้านบาท หรือ 36% ของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนในไทยเมื่อปี 2019 ก่อนการมาของ COVID-19

 

โอกาสฟื้นตัวของ 5 สินค้าไทย ท่ามกลางข้อจำกัด

การเปิดประเทศของจีนในครั้งนี้ ยังส่งผลให้การจับจ่าย และ การผลิตภายในประเทศจีนทยอยกลับมาเป็นปกติ เป็นการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนให้ฟื้นกลับมาตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้คาดการณ์ GDP ของจีนในปีนี้อาจเติบโตได้มากกว่า 4.0% ซึ่งจะช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกของไทย 

การส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนมีสูงถึง 12% ของการส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าที่ได้ประโยชน์ ได้แก่ 
    • กลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์การบริโภคในกลุ่มอาหาร เช่น ผลไม้ ผลไม้กระป๋อง ข้าว ไก่ กุ้ง น้ำตาล 
    • สินค้าเพื่ออุตสาหกรรม และ สินค้าเพื่อการผลิต เช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ 
    • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 
    • ผลิคภัณฑ์ยาง
    • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ 

        เนื่องจากมีสัญญาณว่าจะเริ่มทำตลาดได้มากกว่าเดิมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา เพราะในช่วงที่ผ่านมีการกระจายฐานการผลิตออกจากประเทศจีน ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแรงอยู่ ทำให้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้เป็นไปได้อย่างจำกัด และ เติบโตช้ากว่าสินค้ากลุ่มอื่น ๆ 

        ​โดยคาดการณ์การการส่งออกไปประเทศจีนจะเติบโตอยู่ในเลขหลักเดียวที่ 3.4% ในขณะที่ภาพการส่งออกโดยรวมของไทยอาจหดตัวลดลงอยู่ที่ -0.5% (จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ -1.5%) ซึ่งเกิดจากปัญหาที่หลายสินค้ายังเผชิญข้อจำกัดในการเติบโต ดังนั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น อยู่ที่ 3.7% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้



        อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับแรงหนุนที่ดีจากปัจจัยที่กล่าวมา แต่ยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้เกิดการฟื้นตัวในรูปแบบตัว K (K-Sharped recovery) หรือ การฟื้นตัวที่มีแนวโน้มไม่เป็นไปอย่างเท่าเทียม ได้แก่
    • อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และ ภาคบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี
    • อุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะการส่งออก มีแนวโน้มเปราะบางจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ แม้การเปิดประเทศของจีนจะส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยว แต่ก็เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในภาพรวมยังทรงตัวในระดับสูง และ ทำให้เงินเฟ้อไทยลดลงช้าตามไปด้วย ในขณะที่มุมของค่าเงินบาท แม้จะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และ การชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED แต่ในระยะข้างหน้าค่าเงินบาทยังคงต้องเผชิญกับความผันผวน ดังนั้นผู้ประกอบการ และ นักลงทุนจะต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจ รวมไปถึงระมัดระวังในการใช้เครื่องมือเพื่อการป้องกันความเสี่ยงทางการเงินนั่นเอง

 


กลับ