Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​        ​ในช่วงเวลาที่ผ่านมาราคาพลังงานต่าง ๆ สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ในส่วนก๊าซธรรมชาติ และ ถ่านหินเองก็มีราคาพุ่งไปมากกว่า 2 เท่าตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 65) ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้า และ การขนส่งปรับเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เห็นได้ชัดว่าการที่ราคาน้ำมันแพงเป็นต้นตอหนึ่งของปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา




นโยบายการเงินเปลี่ยนทิศ จากผ่อนคลายเป็นเข้มงวด

        การแก้ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงนั้น จะเห็นได้ว่าธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น

    • ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อน
    • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วสามครั้งในปีนี้ และ ส่งสัญญานการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี อีกทั้งใช้มาตรการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

        การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและลดสภาพคล่องของเงินในระบบได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มเติบโต โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ถูกแรงกดดันจากนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงมาอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา



สถานการณ์และแรงกดดันที่ยุโรปต้องเผชิญ

        เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปนั้นยังคงถูกแรงกดดันจากหลายปัจจัย ทั้งสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยุโรปต้องเผชิญไม่ต่างไปจากที่อื่น ๆ ทั่วโลก โดยอัตราเงินเฟ้อของยุโรปในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 8.1% ระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% เกือบ 4 เท่า และ มาตรการที่สหภาพยุโรปมีมติระงับการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย 90% ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อกดดันรัสเซียให้ยุติการทำสงครามกับยูเครนส่งผลต่อเศรษฐกิจยุโรปและทั่วโลก



        ภายหลังการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ได้แจ้งว่าจะยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรยูโร เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

        จากนั้นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไปในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 11 ปี และ คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนนี้เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อระดับสูง 

        ขณะที่การคาดการณ์ยังมีการปรับเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ และ ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงอีกเช่นกัน เมื่อดูปัจจัยทั้งหมดข้างต้นแล้ว ตลาดหุ้นกลุ่มยุโรปยังมีแรงกดดันอยู่พอสมควร 

​คำแนะนำการลงทุน
    • สำหรับผู้ที่ถือกองทุนกลุ่มยุโรปอยู่ แนะนำหาจังหวะทยอยลดสัดส่วนการลงทุนสามารถโดยตัดสินใจขายคืนหรือสับเปลี่ยนไปกองทุนอื่นที่น่าสนใจกว่าได้
    • ส่วนผู้ที่ยังไม่มีการลงทุนยังไม่แนะนำเข้าลงทุนในช่วงนี้



โอกาสทำกำไรจากธุรกิจพลังงานทางเลือกทด​แทนน้ำมัน

ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้มุมมองของพลังงานทางเลือก และ พลังงานสะอาดกลายเป็นที่สนใจมากขึ้น และ เห็นได้จากนโยบายสนับสนุน รวมไปถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมาจากหลายประเทศ เช่น ในปี 2564 ได้มีเงินลงทุนกว่า 50,000 ล้านยูโร (*) ไหลเข้ากลุ่มกองทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นปัจจัยบวกให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาจนเกิดเป็นการสร้างนวัตกรรม การบริการ หรือ สินค้าที่เกี่ยวข้องได้ในระยะยาว
(*) ข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2564

จากโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจนี้ คำถาม คือ เราควรลงทุนอย่างไร? เห็นได้ว่าภาวะตลาดในปัจจุบันมีความผันผวนสูง ดังนั้นการจับจังหวะตลาดเพื่อเข้าลงทุนอาจทำได้ยาก จึงมีคำแนะนำดังนี้

    • ลงทุนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average: DCA) เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวน
    • ผู้ลงทุนจึงควรตั้งเป้าหมายการลงทุนอย่างน้อย 5 ปี เนื่องการลงทุนในระยะสั้นมีโอกาสเห็นการขาดทุนสูงจากปัจจัยลบตามบรรยากาศการลงทุนต่าง ๆ ขณะที่การลงทุนในระยะยาวจะเปิดโอกาสให้ราคาสามารถสะท้อนถึงศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของธุรกิจได้เต็มที่ จึงช่วยลดโอกาสขาดทุนจากการลงทุนได้

บทความโดย
K-Expert นิติ สนิวาล  
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า


กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
K-CLIMATE
กองทุนเปิดเค Climate Transition

​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​​​​​​


ทำไมต้องเลือก K-CLIMATE จากกสิกรไทย
ลงทุนในหุ้นทั่วโลกโดยคัดเลือกธุรกิจที่สามารถเติบโตพร้อมกับมีส่วนช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันและยั่งยืน ในระยะยาวมีกลยุทธ์การลงทุนผ่านกองทุนหลัก Lombard Odier Funds – Climate Transition, (USD), I Class A ตัวอย่างหุ้นที่กองทุน K-CLIMATE ลงทุน กองทุนหลักแบ่งการคัดเลือกหุ้นออกเป็น 2 ส่วน คือ

    • ธุรกิจที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon-constrained World) เช่น 
      - Cummins บริษัทออกแบบและผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์พลังงานก๊าซธรรมชาติและไฮโดรเจน ประสบความสำเร็จในการผลิตรถไฟพลังงานไฮโดรเจนปราศจากมลพิษ 
      - NextEra Energy ผู้นำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานลม แสงอาทิตย์ ไฮโดรเจนในสหรัฐฯ และแคนาดา โดยตั้งเป้ายกเลิกผลิตกระแสไฟฟ้าจากฟอสซิลภายในปี 2565 
    • ธุรกิจที่มีการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Carbon-damaged World) เช่น 
      - Carrier บริษัทพัฒนาน้ำยาแอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 
      - Verisk ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บริษัทประกันภัย การเงิน และพลังงาน ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้

เหมาะสำหรับใคร
    • คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นของธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากกฎเกณฑ์ นวัตกรรม การบริการ หรือ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
    • รับความผันผวนของราคาหุ้นที่อาจปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงจนทำให้ขาดทุนได้
    • ยอมรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
    • สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

อ้างอิง



กลับ