Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​Sell in May and Go Away คืออะไร?

Sell in May and Go Away ประโยคทางจิตวิทยา “นักลงทุนมักจะเทขายหุ้นในเดือนพฤษภาคม จริงหรือ?” ความเชื่อนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ และ สหรัฐฯ โดยเชื่อว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม นักลงทุนจะพากันเทขายหุ้น และ จะกลับมาซื้อใหม่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน โดยมีหลากหลายเหตุผล เช่น 

    • ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ผู้คนต่างใช้วันหยุดยาวฤดูร้อนเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน ทำให้ตลาดหุ้นมีปริมาณซื้อขายน้อย นักลงทุนบางคนจึงเลือกขายทำกำไรก่อนวันหยุด
    • เป็นช่วงหลังประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไตรมาส 1 และเป็นฤดูกาลจ่ายเงินปันผล ราคาหุ้นมักดีดตัวขึ้นสูง นักลงทุนบางส่วนที่เก็งกำไรระยะสั้นจะเทขายทำกำไรจากส่วนต่างดังกล่าว

จะเห็นได้ว่าเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนไม่ค่อยดี หากดูสถิติย้อนหลัง 30 ปี ตั้งแต่ปี 1992 - 2021 บ่งชี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 ในช่วงเดือนดังกล่าว ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.43% ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.23% 
        
        แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีนัยสำคัญแบบนั้นแล้ว ถ้าเราพิจารณาระยะสั้นย้อนหลังไป 5 ปี ตั้งแต่ปี 2017 - 2021 พบว่าเกิดขึ้นปีเว้นปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามปีนี้จะไม่เหมือนปีที่ผ่านมาในช่วงใกล้ ๆ เพราะ เรามองว่าปีนี้เกิดเหตุการณ์ Sell in May and Go Away อย่างแน่นอน


Sell in May and Go Away 2022 จะมีทิศทางอย่างไร

ไม่ใช่ทุกปีที่จะเกิด Sell in May and Go Away ขึ้น โดยการจะเกิดนั้นจะขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ ในปีนั้น ๆ โดยในปีนี้ความผันผวนเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี ได้แก่

    • ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างหนักโดยเฉพาะเดือนมีนาคมที่มีปัจจัยความยืดเยื้อจากสงครามเข้ามากดดัน 
    • เงินเฟ้อมีระดับที่รุนแรงมากขึ้น จนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด และ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ 
    • Fed มีแผนเริ่มลดขนาดงบดุล 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ / เดือน และ การขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งในบางครั้งอาจจะขึ้นถึง 0.5% ส่งผลให้ทั้งตลาดตราสารหนี้ และ ตลาดทุนปรับราคาลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

ตราสารหนี้ระยะสั้น และ ระยะยาวต่างถูกเทขายอย่างหนักจากนักลงทุน ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวทางของ Fed ที่ต้องการจะควบคุมสภาพคล่องในตลาดรวมถึงการที่ Fed ยังจะลดขนาดงบดุลอีกในเร็ว ๆ นี้ 

        การเร่งมาตรการเป็นไปเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้ผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ไม่ปกติ โดยผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น ปรับขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่า ผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว

ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นลักษณะของ Inverted Yield Curve ที่แสดงถึงต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มปรับตัวพุ่งสูงตามนโยบายของ Fed ทั้ง ๆ ที่ระยะยาวแล้วทิศทางเศรษฐกิจก็ยังไม่แน่นอน ส่งผลให้นักลงทุนอาจขาดความมั่นใจในการลงทุน

    • ​ตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นตัวสะท้อนนโยบายของ Fed
    • ตราสารหนี้ระยะยาว เป็นตัวสะท้อนทิศทางเศรษฐกิจในระยะยาว


ปัจจัยผลักให้เกิด Sell in May and Go Away 2022 

ความไม่มั่นใจของนักลงทุน ส่งผลให้การเทขายสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นทั่วโลกในปีนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติและต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักที่ทำให้นักลงทุนทยอยลดสินทรัพย์เสี่ยง คือ

    • วิกฤตเงินเฟ้อพุ่งสูงจากปัญหาอุปสงค์คอขวด หลังผู้คนใช้ชีวิตกับ COVID-19 ประกอบกับสงครามรัสเซียและยูเครน 
    • ความจำเป็นของธนาคารกลางในการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดหรือการขึ้นดอกเบี้ยของฝั่งสหรัฐฯ และ หลาย ๆ ประเทศเริ่มที่จะขึ้นดอกเบี้ยตาม ทั้งนี้ก็เพื่อสกัดความร้อนแรงของเงินเฟ้อที่อาจลากยาว
    • คาดการณ์กำไร และ การเติบโตทางเศรษฐกิจค่อย ๆ ทยอยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนปัจจัยลบที่เข้ามากดดันเศรษฐกิจโลก

        เหตุผลที่กล่าวมา สร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นและบั่นทอนบรรยากาศการลงทุน จึงเป็นไปได้สูงที่ปีนี้จะเกิด Sell in May และ จะอยู่ยาวนานกว่าปีอื่น ๆ กล่าวคือ อาจถึงเวลาอันควรที่จะเกิดการขายทำกำไร


กลยุทธ์การลงทุนท่ามกลาง Sell in May and Go Away 2022

        สำหรับนักลงทุนที่มีสินทรัพย์ในพอร์ต ให้ตรวจสอบพอร์ตการลงทุนว่าสินทรัพย์ที่ถือครองยังสามารถไปต่อได้หรือไม่ หากตรวจสอบแล้วคาดว่ายังสามารถไปต่อได้ มีโอกาสเติบโตต่อได้ในอนาคต ให้ถือข้ามผ่านความผันผวนไป

        นักลงทุนต้องการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต หากตลาดหุ้นปรับตัวลดลงก็ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มสัดส่วน เพราะ ในระยะยาวแล้วการลงทุนในหุ้นก็ยังให้ผลตอบแทนที่สูงอยู่นั่นเอง

        ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ การหาโอกาสให้เจอ อย่างไรก็ตามการลงทุนในปีนี้ไม่ง่ายเหมือนปีที่ผ่าน ๆ มา โดยเฉพาะการขายออกและเข้าซื้อในราคาที่ถูกกว่าอาจทำได้ยากขึ้น ฉะนั้นตอนนี้นักลงทุนควรมีการแบ่งเงินลงทุน และ กำหนดสัดส่วนให้เหมาะสม โดยเงินลงทุนในหุ้นควรเป็นส่วนที่แบ่งมาแล้วและสามารถลงทุนได้มากกว่า 3 – 5 ปีขึ้นไป

K-Expert วันวิสาข์ อรุมชูตี AFPT™
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า


กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
K-CHANGE-A(A)
กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า

​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนง่าย ๆ ผ่าน KPLUS




ทำไมต้องเค พอส​ซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า
    • ​Sell in May และอีกหลายๆ ปัจจัยที่รุมเร้าทำให้เกิดความผันผวนในตลาดลงทุน ทั้งสงครามรัสเซียกับยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ เป็นโอกาสในการทยอยลงทุนเพิ่มในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงของโลกและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ผลกระทบทางบวกผ่าน 4 ธีมการลงทุนคือ 
        1. ความครอบคลุมทางสังคมและโอกาสทางการศึกษา
        2. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
        3. การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต
        4. การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
    • ​​ผู้จัดการกองทุนหลักมองว่าสถานการณ์ความผันผวนไม่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจในระยะยาว เนื่องจากบริษัทเหล่านี้เป็นผู้นำตลาดและสามารถปรับราคาสินค้าขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจได้

เหมาะสำหรับใคร
    • ผู้ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก(Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม
    • ผู้ที่รับความผันผวนของราคาหุ้นที่อาจปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงจนทำให้ขาดทุนได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะยาวตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

 


กลับ

​​