Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​บทความโดย : 


​​​​​​ ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจไม่ค่อยสู้ดีนัก คนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าสินค้ากลุ่มสินค้าแฟชั่น หรือ Luxury Goods นั้นเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย มีราคาแพง เกินความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการใช้ชีวิต และ ลดการจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าเหล่านี้ลงไป แต่ในขณะเดียวกันนั้นก็จะมีกลุ่มคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบ และ หลงใหลไปกับสินค้าแบรนด์เนมที่จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยนี้ด้วยเช่นกัน


แบรนด์เนมทั่วโลกปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง


ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าเหล่าแบรนด์เนมชื่อดังหลากหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Louis Vuitton, Gucci, CHANEL หรือ Hermes ได้มีการปรับราคาขายของสินค้าภายใต้แบรนด์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าประเภทกระเป๋าถือที่เป็นที่นิยม มีโอกาสเพิ่มสูงไปได้ถึง 25%  

        ในขณะที่บริษัท Tag Heuer (บริษัทในเครือ LVHM) ได้มีการประกาศว่าจะขึ้นราคาในไม่ช้าโดยประมาณไว้ที่ 5 - 6% แต่เหล่าบรรดาผู้ซื้อ Luxury Goods เหล่านี้ยังคงยอมรับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า และ ไม่ได้ต่อต้าน ซึ่งสถาบันวิจัยการลงทุน Bernstein ได้ประเมินการขึ้นของราคาสินค้าแบรนด์เนมเอาไว้ว่าจะอยู่ระหว่างที่ 6 – 7% 

ปัจจัยผลัก ราคาแบรนด์เนมขึ้น


ซึ่งการขึ้นราคาของสินค้าแบรนด์เนมนี้มีหลากหลายปัจจัยที่เข้ามาส่งผลกระทบ ดังนี้

    • อัตราเงินเฟ้อและอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงิน : เป็นปัจจัยที่แปรผันไปตามสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และ การขนส่งสินค้าสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคาสินค้าต่าง ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 
    • เวลาพักผ่อน : ปัจจัยเวลาพักผ่อน หรือ ช่วงเวลาของการหยุดยาว ส่งผลต่อราคาของการเดินทาง และ ท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งจะสูงกว่าช่วงเวลาปกติ
    • Private Label : แบรนด์หันมาทำสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิต OEM มากขึ้น ทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น และ เป็นเหตุทำให้ราคาของสินค้านั้นปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
    • แรงงาน : ตลาดขาดแคลนแรงงานในการผลิต ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการ แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มเป้าหมายของสินค้ายังคงมีความต้องการซื้อที่สูงอยู่ จึงเป็นผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้นตามหลักอุปสงค์ และ อุปทาน

​OEM (Original Equipment Manufacturer) คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าตามแบบที่ลูกค้ากำหนด เพื่อนำไปจำหน่ายในแบรนด์ของลูกค้าเอง โดยลักษณะของโรงงานประเภทนี้จะมีเครื่องจักรเฉพาะที่ใช้ในการผลิต เช่น โรงงาน OEM กระเป๋า, โรงงาน OEM เสื้อผ้า เป็นต้น

แบรนด์เนมขึ้นราคา ทำไมถึงยังขายดี?


ต้องมองกว้างออกไปที่ตลาดคริปโตที่สร้างผู้บริโภคที่ร่ำรวยมหาศาล แต่ในช่วงนี้ตลาดมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ทำให้นักลงทุนบางส่วน นำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนมากกว่า อย่างอสังหาริมทรัพย์ ทอง เครื่องประดับ และสินค้าแบรนด์เนม 

        การขึ้นราคานี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่ต้องการรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเอาไว้ เมื่อประกอบกับปัจจัยการขึ้นราคาที่กล่าวไว้ข้างต้น และ การที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีฐานะร่ำรวยขึ้น ยอมรับได้กับราคาสินค้าที่ปรับตัวขึ้น และ โหยหาสินค้าที่จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ส่งผลให้แม้จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าแบรนด์เนมก็ยังคงสามารถขายได้นั่นเอง

3 กลยุทธ์สำคัญ ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ


3 กลยุทธ์สำคัญที่อยู่เบื้องหลังการขึ้นราคาสินค้าแบรนด์เนม แต่ยังสามารถทำให้ลูกค้ายอมรับกับราคาที่ปรับตัวขึ้นได้ เพราะแบรนด์และการขายเป็นเรื่องเดียวกันและสำคัญเสมอ คือ 

    • กลยุทธ์การตลาดแบบโน้มน้าวใจ – จะเห็นได้ว่าทุกครั้งที่แบรนด์เนมประกาศขึ้นราคา แต่ไม่ได้ทำให้ลูกค้าที่คิดจะครอบครองคิดหนักขึ้น ในทางกลับกันยิ่งกระตุ้น “ต่อมความอยาก” ของลูกค้ามากขึ้น
    • Brand Equity - การเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าคิดและรู้สึกผ่าน ‘มูลค่า’ ของแบรนด์ 
    • การสร้างแบรนด์ผ่านไลฟ์สไตล์ – โดยไม่ให้ห่างจากตัวลูกค้าจนเกินไป เพราะหากแบรนด์ไม่สามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในไลฟ์สไตล์ของลูกค้าได้ ก็อาจจะกลายเป็นแบรนด์ที่ถูกลืมไปในที่สุด
​​
        สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้การสร้างและหาจุดมุ่งหมายของแบรนด์ ค้นหาตัวตนเพื่อสร้างจุดยืนในตลาด สามารถศึกษาเพิ่มเติมต่อได้ในคอร์ส “Branding Formula สูตรลับในการสร้างแบรนด์” ไปกับคุณ ภาณุ อิงคะวัต Co-Founder Greyhound แบรนด์ไลฟ์สไตล์ไทยในเวทีโลกที่อยู่เหนือกาลเวลาตลอด 40 ปี คลิก 


กลับ