แมมโมแกรม (mammogram) คืออะไร? การตรวจแมมโมแกรมที่ผู้หญิงต้องรู้ แมมโมแกรม (mammogram) คืออะไร? การตรวจแมมโมแกรมที่ผู้หญิงต้องรู้

ไขข้อสงสัย ตรวจแมมโมแกรมคืออะไร?

มะเร็งเต้านมยังคงขึ้นแท่นอันดับ 1 โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด หากตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกและรักษาได้ทันท่วงที ในบทความนี้ เราจึงจะมาแนะนำวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่สามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกอย่างการตรวจ “แมมโมแกรม (Mammogram)”

ทำไมผู้หญิงต้องตรวจแมมโมแกรม?

ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุเข้าสู่เลข 4 นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้หญิงจึงจำเป็นต้องคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรมทุก ๆ ปี อ่านมาถึงตรงนี้สาว ๆ หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการตรวจแมมโมแกรมคืออะไร? มีข้อดีอย่างไร? ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้

ทำไมผู้หญิงต้องตรวจแมมโมแกรม (mammogram)?

การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) คืออะไร?

การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) คือ การเอกซเรย์เต้านมโดยใช้รังสีพลังงานต่ำถ่ายภาพเต้านมด้านละ 2 รูป เพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก คล้ายกับการเอกซเรย์ทั่วไปแต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่า 30-60% โดยภาพถ่ายที่ได้จากการตรวจแมมโมแกรมจะมีความละเอียดสูง ทำให้มองเห็นจุดผิดปกติได้แม่นยำแม้จะมีขนาดเล็ก

การตรวจแมมโมแกรมเหมาะกับใคร?

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ควรตรวจแมมโมแกรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้หญิงที่ครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว บุตรสาว
  • ผู้ที่รับการฉายแสงรักษามะเร็งชนิดอื่นบริเวณหน้าอก
  • ผู้ที่มีอาการเสี่ยง เช่น คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านม เจ็บเต้านม และมีของเหลาออกจากหัวนม
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว 1 ข้าง
  • ผู้ที่รับยาฮอร์โมนสม่ำเสมอ

ข้อดีของการตรวจด้วยแมมโมแกรม

  • ภาพแมมโมแกรมคมชัด ทำให้แพทย์ตรวจพบจุดผิดปกติได้ดีแม้จะมีขนาดเล็กมาก
  • มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากปริมาณรังสีต่ำและมีการควบคุมปริมาณรังสีตามมาตรฐาน
  • รังสีไม่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ และไม่มีรังสีตกค้างในร่างกายหลังตรวจ
  • ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน

ตรวจแมมโมแกรมเจ็บไหม?

การตรวจแมมโมแกรม แพทย์จะใช้อุปกรณ์บีบเต้านมเข้าหากันแล้วถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมทั้ง 2 ข้าง ทำให้อาจรู้สึกไม่สบายตัวขณะตรวจ รวมทั้งหากเนื้อเต้านมมีความหนาแน่น หรือมีความคัดตึง อาจไวต่อความรู้สึกเจ็บมากกว่า ดังนั้นแนะนำให้ตรวจหลังมีประเดือน 7-14 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เต้านมตึงน้อย อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเจ็บมากขึ้นระหว่างตรวจ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบเพื่อลดแรงกดลง หรือเปลี่ยนท่าให้ผ่อนคลายอาการเจ็บได้

ตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมแล้วจำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรมหรือไม่?

การตรวจแมมโมแกรมมีประสิทธิภาพในการตรวจพบหินปูนในเต้านม โดยหินปูนบางชนิดสามารถพบได้ในมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ซึ่งไม่สามารถตรวจพบจากการอัลตร้าซาวด์เต้านมได้ ดังนั้นการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมควบคู่กับตรวจแมมโมแกรมจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคมากขึ้น และวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายที่ผู้หญิงต้องระวัง

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านมเลย ในขณะที่บางรายก็มีสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านม เช่น มีก้อนที่เต้านมหรือใต้วงแขน มีรอยบุ๋มหรือรอยย่นบริเวณเต้านม เต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปโดยที่ไม่เคยผ่าตัดมาก่อน หรือมีอาการปวดเต้านม เป็นต้น

รู้ทันมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม (mammogram)

โดยวิธีการเช็กมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองนั้นสามารถทำได้โดยการคลำด้วยมือ ซึ่งการคลำมี 3 แบบ คือ คลำในแนวก้นหอย แนวรูปลิ่ม และในแนวขึ้นลง หากคลำแล้วพบก้อนที่บริเวณเต้านมแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

รู้ทันมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม

รอยโรคมะเร็งเต้านมมีขนาดเล็กมาก ทำให้ในระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการหรือความผิดปกติใด ๆ ดังนั้น นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำแล้ว การตรวจแมมโมแกรมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ดีที่สุด สามารถตรวจพบลักษณะผิดปกติในเต้านม เช่น ก้อนน้ำ ก้อนเนื้อ หรือจุดหินปูน รวมทั้งรอยโรคที่มีขนาดเล็กได้ ซึ่งการตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น หากตรวจแล้วทำการรักษาทันทีก็มีโอกาสหายขาดได้เกือบ 100% ลดอัตราการเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งเต้านมได้

การตรวจแมมโมแกรม เป็นการคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งเต้านมที่นิยมใช้กันทั่วโลก ช่วยให้สามารถตรวจเจอมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนที่จะมีอาการ รู้เร็ว รักษาได้ ลดอัตราการเสียชีวิต โดยผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจแมมโมแกรมทุกปี เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งการตรวจแมมโมแกรม ราคา 2566 แต่ละที่นั้นจะมีความแตกต่างกัน แนะนำให้เปรียบเทียบราคาเบื้องต้นก่อนเข้ารับการตรวจ

นอกจากการตรวจแมมโมแกรมในทุก ๆ ปีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการซื้อประกันโรคร้ายแรงไว้เพื่อเตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เพราะโรคมะเร็งต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากมีประกันติดตัวเอาไว้ โดยเฉพาะประกันที่ให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งทุกระยะ จะช่วยสร้างความอุ่นใจ พร้อมสู้โรคร้าย

ประกันแบบไหนที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ

เริ่มค้นหา

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top