K WEALTH /
วิดีโอ /
Wealth Management / ใช้สิทธิให้คุ้ม รวมมาตรการรัฐ ช่วยคนซื้อบ้าน-คอนโด
01 ธันวาคม 2565
นาที
ใช้สิทธิให้คุ้ม รวมมาตรการรัฐ ช่วยคนซื้อบ้าน-คอนโด
ประเด็นอสังหาสุดฮอตในช่วงนี้คงไม่มีเรื่องไหนเกินไปกว่าว่าชาวต่างชาติจะมีสิทธิ์เข้ามาถือครองที่ดิน บ้านอยู่อาศัยในประเทศเราได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้คงต้องไปติดตามกัน แต่สำหรับพวกเราในฐานะผู้บริโภคต้องการซื้อบ้านอยู่อาศัยของตัวเอง ต้องการลงทุนซื้อบ้าน-คอนโดเพื่อสร้างรายได้จากค่าเช่า หรือ Passive Income ในช่วงปลายปีแบบนี้มาตรการภาครัฐกำลังจะหมดอายุลง จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรเรื่องไหนสำคัญประกอบการตัดสินใจได้บ้างไปติดตามกัน
1. เรื่องของค่าธรรมเนียมในการโอน (แล้วแต่ผู้ซื้อ-ผู้ขายตกลงกัน)
สำหรับใครก็ตามที่กำลังตัดสินใจที่จะซื้อบ้านที่อยู่อาศัยและโอนกรรมสิทธิ์ (มูลค่าไม่เกิน 3.0 ล้านบาท) ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่ง หรือบ้านมือสอง ในช่วงปีนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ค่าธรรมเนียมการโอนครับจะอยู่ที่ 0.01%
แปลว่าซื้อบ้าน 1 ล้านบาทค่าธรรมเนียมการโอนอยู่ที่ 100 บาท
แต่ถ้าผ่านไปจนถึงปีหน้า
บ้าน 1 ล้านบาทค่าธรรมเนียมการโอนจะอยู่ที่ 10,000 บาท (สมมติผู้ซื้อ-ผู้ขายรับผิดชอบคนละครึ่ง)
สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อและจดจำนองบ้าน ยังได้รับค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% จาก 1% ซึ่งครบกำหนดการผ่อนผันค่าธรรมเนียมในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 นี้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นทุกกรณี เวลาเราจะซื้อบ้านที่มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ถ้าต้นทุนในการโอนเป็นจุดตัดสินใจของเราแปลว่าเราอาจจะต้องรีบตัดสินใจก่อนวันที่ 31 ธันวาคมนี้
2. LTV
ต้องบอกว่าสำหรับใครก็ตามที่ต้องการขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน เรื่อง Loan to Value : LTV จะเป็นประเด็นสำคัญที่อยู่ในข้อกังวลใจของใครหลายคนมาตลอด ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ มาตรการที่บอกว่าการกู้ซื้อบ้านสัญญาที่ 1 สัญญาที่ 2 หรือสัญญาที่ 3 กับธนาคารจะสามารถกู้ได้ 100% (แปลว่า มูลค่าบ้าน 100 บาท จะกู้ได้เต็ม 100 บาท) กำลังจะหมดไปภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ เข้าใจง่ายๆแปลว่าสำหรับใครก็ตามที่จะกู้ซื้อบ้านในปีหน้าเป็นต้นไป หลังที่ 1 ก็อาจจะกู้ได้เกือบๆ 100% หรือ 100% เหมือนเดิมแต่หลังที่ 2 หรือหลังที่ 3 ก็จำเป็นที่จะต้องมีเงินดาวน์มากขึ้นนั่นเอง
3. กู้ร่วม
ใครก็ตามที่กำลังจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน แต่ว่าความสามารถในการผ่อนชำระอาจจะยังไม่ค่อยดี หรือไม่เพียงพอ จำเป็นต้องขอให้ใครสักคนนึงมากู้ร่วมด้วย เรื่องนี้อาจจะเป็นข้อตัดสินใจยากในก่อนหน้านี้ ว่าคนที่มากู้ร่วมภาระในการที่มากู้ร่วมกับใครๆ จะถูกนับเป็นภาระของตัวเองด้วย เรื่องนี้ก็จะช่วยผ่อนคลายลงอีกเนื่องจากภาครัฐได้มีมาตรการผ่อนปรนสำหรับผู้กู้ร่วมจะยังไม่ต้องนับภาระในการผ่อน ในการกู้ร่วม ยกตัวอย่างง่ายๆแบบนี้
สมมุติผมต้องไปกู้ร่วมกับใครก็ตามก่อนหน้านี้ มูลค่าบ้านจำเป็นต้อง นับเป็นภาระของผมด้วย (สัญญาที่ 1) เมื่อผมจะไปกู้บ้านของตัวเองผม(ถือเป็นสัญญาที่ 2) ก็จะมีสิทธิ์ได้วงเงินกู้ที่จะลดลงทันที แต่เรื่องนี้จะไม่ถูกนับในกรณีที่ผมไปกู้ และไม่ได้มีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แล้วเรื่องนี้รัฐบาลเองก็ยังผ่อนปรน ยังไม่ได้มีกำหนดว่าจะยุติ หรือจะหมดเมื่อไหร่เพราะฉะนั้น 3 ประเด็นหลักๆที่เราคุยกันมา ก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ และใช้ประกอบในการตัดสินใจในการที่จะขอสินเชื่อ หรือในการที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายปีแบบนี้แน่นอน
วิดีโอโดย K WEALTH TRAINER วีระพล บดีรัฐ