K WEALTH / บทความ / Market Update / ประเด็นร้อน: Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้ พร้อมเพิ่มคาดการณ์ GDP
21 มีนาคม 2567
2 นาที

ประเด็นร้อน: Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้ พร้อมเพิ่มคาดการณ์ GDP


​​​​​​​​​​​​​​“

• Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% ตามคาดการณ์ ด้านคณะกรรมการ FOMC ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2024 พร้อมปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2024 จาก 1.4% เป็น 2.1% ส่วนประธาน Fed เผยอาจลดปริมาณการทำ QT ในเร็วๆนี้


• Fed มีท่าทีการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Dovish) ที่ชัดเจน อีกทั้งมีการปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2024 สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตแข็งแกร่ง ด้วยปัจจัยดังกล่าว K WEALTH จึงมีมุมมอง Slightly Positive ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเน้นการลงทุนไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตโดดเด่น เช่น Technology ขนาดกลางและเล็ก, Healthcare




Fed คงดอกเบี้ยตามคาด

​Fed มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.50% ตามคาดการณ์ นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน โดยในการแถลงข่าวหลังการประชุม นาย Jerome Powell ประธาน Fed เผยว่าอัตราดอกเบี้ยได้แตะระดับสูงสุดไปแล้ว การประชุมครั้งนี้ Fed ได้มีการเปิดเผยมุมมองอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการ FOMC ผ่าน Dot plot ชี้ว่าคณะกรรมการยังคงมีมุมมองว่ามีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ในปี 2024 ส่วนมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยปี 2025 คณะกรรมการมองว่ามีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ลดลงจากเดิมที่ 4 ครั้ง ในการประชุมเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา



Fed ปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2024

นอกจากมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการ FOMC แล้ว Fed ได้เผยประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยได้ปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2024 จากก่อนหน้าที่ 1.4% เป็น 2.1% และปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2025 จากก่อนหน้าที่ 1.8% เป็น 2.0%


ขณะเดียวกันได้ปรับลดประมาณการอัตราการว่างงานปี 2024 มาที่ระดับ 4.0% จากก่อนหน้าที่ 4.1% ส่วนปี 2025 ยังคงประมาณการไว้เท่าเดิมที่ 4.1%

ด้านมุมมองต่ออัตราเงินเฟ้อ Fed ยังคงประมาณการดัชนี PCE (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป) ปี 2024 ไว้ที่ 2.4% ส่วนปี 2025 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2.1% มาที่ 2.2% และประมาณการดัชนี Core PCE (อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน) ปี 2024 ถูกปรับขึ้นจาก 2.4% มาที่ 2.6% และคงประมาณการปี 2025 ไว้ที่ 2.2%​



ประธาน Fed เผยอาจลดปริมาณการทำ QT ในเร็วๆนี้

นอกจากเปิดเผยว่าอัตราดอกเบี้ยได้แตะระดับสูงสุดไปแล้ว นาย Jerome Powell ได้เผยอีกว่าคณะกรรมการมีการหารือเกี่ยวกับการลดขนาดงบดุลของ Fed หรือที่เรียกกันว่า QT ซึ่งยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะลดปริมาณการทำ QT ในการประชุมครั้งนี้ แต่อาจมีการตัดสินใจลดปริมาณการทำ QT ในช่วงเวลาไม่นานจากนี้



มุมมองการลงทุนต่อการประชุม Fed

แม้ Fed จะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ แต่ Dot plot ที่คณะกรรมการยังมองว่ามีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ 3 ครั้งในปี 2024 และการแถลงข่าวจากนาย Jerome Powell ที่เผยว่าอัตราดอกเบี้ยได้แตะระดับสูงสุดไปแล้ว และการส่งสัญญาณลดปริมาณการทำ QT ในเร็วๆนี้ นับเป็นการย้ำท่าทีการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Dovish) จาก Fed อีกทั้งยังมีแรงหนุนจากการปรับเพิ่มประมาณการ GDP ปี 2024 ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งโดยรับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่เติบโตร้อนแรง


ด้วยปัจจัยดังกล่าว K WEALTH ยังมีมุมมอง Slightly Positive ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเน้นการลงทุนไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลประกอบการมีโอกาสเติบโตโดดเด่น เช่น Technology ขนาดกลางและเล็ก, Healthcare​



คำแนะนำการลงทุน

• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ 

     o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-HIT ลงทุนในธีมที่มีโอกาสเติบโตเด่น 5-7 ธีม เช่น Digital Life, Intelligent Machines, Health Tech

     o แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-GHEALTH ลงทุนในบริษัท Healthcare ครอบคลุมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น Pharmaceutical, Healthcare Services และกลุ่ม Growth เช่น Medtech, Biotechnology


• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้น 

     o หากไม่สามารถรับความเสี่ยงการลงทุนต่างประเทศได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-CBOND ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXED-A ถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

     o ชอบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในต่างประเทศบางส่วน แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุน K-PLAN1 ถือลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน หรือ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุนอย่างน้อย 1 ปี 

     o แต่หากต้องการลงทุนกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade แนะนำลงทุนกองทุน K-GB ถือลงทุนอย่างน้อย 3-5 ปี 


• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น และไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF-A ซึ่งเหมาะกับการลงทุน 1-3 เดือน เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง หรือกองทุน K-SFPLUS เหมาะกับการลงทุน 3-6 เดือน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH Trainer
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!