ลงทุนในสหรัฐฯ ตอนนี้ยังน่าสนใจอยู่ไหม?

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เดินหน้าปรับตัวขึ้นท่ามกลางกระแส AI อีกทั้งยังแข็งแกร่ง แม้เผชิญกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ยังเติบโต 2.4%

หลังการประชุม Fed ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ซึ่งอาจกดดันเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เดินหน้าปรับตัวขึ้นท่ามกลางกระแส AI สร้างคำถามมากมายว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ แพงไปหรือยัง? เศรษฐกิจจะไปในทิศทางไหนต่อ? บทความนี้จะชวนไปหาคำตอบเหล่านั้น พร้อมกองทุนที่ยังน่าสนใจในภาวะเช่นนี้กัน!!!



ส่องประเด็นน่าสนใจจากถ้อยแถลงประธาน Fed


การประชุม Fed เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นการประชุมที่ไม่มีการเปิดเผยคาดการณ์ระดับอัตราดอกเบี้ย (Dot plot) และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นนักลงทุนจึงให้ความสนใจต่อแถลงการณ์หลังการประชุมจากนาย Jerome Powell ประธาน Fed โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้


• ตลาดแรงงานยังตึงตัว มุ่งดึงเงินเฟ้อลงมาที่ 2%

Jerome Powell เผยว่าตลาดแรงงานยังคงยังตึงตัว ความต้องการแรงงานยังมากกว่าแรงงานที่หางานในตลาด แต่มีสัญญาณว่าความต้องการกับปริมาณแรงงานเริ่มเข้าสู่สมดุลมากขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างเริ่มชะลอตัวลงบ้างแล้ว ขณะเดียวกันยังเน้นย้ำอีกว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่กลางปีที่แล้ว แต่ยังต้องใช้เวลาอีกนานเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อลงมาที่ระดับ 2%


• ย้ำว่า Fed จะตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแบบ Data-Dependence

ในการแถลงการณ์ครั้งนี้ยังย้ำว่า Fed ยังตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแบบ Data-Dependent ทำให้ Jerome Powell เผยว่า Fed อาจขึ้นหรือคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจใหม่ที่จะเปิดเผยออกมาต่อจากนี้


• เศรษฐกิจอาจเติบโตน้อยกว่าเทรนด์เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าที่ 2%

การลดอัตราเงินเฟ้ออาจต้องใช้มีช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำกว่าเทรนด์และตลาดแรงงานต้องลดความร้อนแรง แต่ธนาคารกลางยังเฝ้าระวังการดำเนินนโยบายการเงิน



ติดตามสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังเผชิญดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง


แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง ตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ยังเติบโต 2.4% ต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่เติบโต 2.0% โดยหลักมาจากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงต่อเนื่อง อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เคลื่อนไหวที่ระดับ 3.5-3.7% ขณะที่การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เพิ่มขึ้นทุกเดือนระดับมากกว่าแสนตำแหน่ง


อย่างไรก็ตามภาพเศรษฐกิจในอนาคตมีแนวโน้มชะลอตัว เมื่อพิจารณาจากดัชนี PMI ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำ (Leading Indicator) พบว่าดัชนี ISM Manufacturing PMI เดือน ก.ค. อยู่ที่ 46.4 จุด ชี้ชัดว่าในอนาคตภาคอุตสาหกรรมมีโอกาสหดตัว ส่วนดัชนี ISM Non-Manufacturing PMI เดือน ก.ค. อยู่ที่ 52.7 จุด ลดลงจากต้นปี แม้จะสะท้อนว่าในอนาคตภาคบริการยังขยายตัวแต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัว


ดังนั้นเมื่อประกอบกับแรงกดดันจากดอกเบี้ยสูงจึงสรุปได้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเติบโตแต่ด้วยอัตราที่ลดลง



ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แพงเกินไปหรือยัง?


ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 7 ส.ค. 2023 ราว 16.63% ส่วนดัชนี Nasdaq 100 ปรับตัวขึ้นมา 40.84% เช่นกัน จากกระแสหุ้นกลุ่ม AI ส่งให้อัตราส่วน P/E ของดัชนี S&P 500 ขึ้นมาที่ 22.02 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ที่ 23.96 เท่า ส่วนดัชนี Nasdaq 100 อยู่ที่ 32.24 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ที่ 31.57 เท่า ก็ต้องใช้คำว่าแพง แต่ยังไม่มากเกินไปสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ



K-HIT และ K-GHEALTH กองทุนน่าสนใจท่ามกลางภาวะดอกเบี้ยสูง เศรษฐกิจไม่แน่นอน



ในภาวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาจนใช้คำว่าแพง แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจเลย การลงทุนในภาวะเช่นนี้ควรเน้นไปยังกลุ่มที่รับประโยชน์จากการเติบโตระยะยาว (Megatrend) และกลุ่มที่มีรายได้สม่ำเสมอ


กองทุนรวม K-HIT ซึ่งมีกองทุนหลัก Allianz Thematica Fund ที่เน้นลงทุนใน 7 ธีมเติบโตระยะยาว ประกอบด้วย Intelligent Machines, Infrastructure, Next Generation Energy, Pet Economy, Health Tech, Digital Life, Clean Water & Land มีการกระจายความเสี่ยงด้วยการถือสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 100 สินทรัพย์ ช่วยลดความผันผวน แถมการบริหารพอร์ตเชิงรุกยังสร้างผลตอบแทนย้อนหลังได้ดีกว่าดัชนีอ้างอิง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการการเติบโตในระยะยาว


นอกจากนี้ยังมีกองทุนรวม K-GHEALTH ซึ่งมีกองทุนหลัก JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund เน้นลงทุนในอุตสาหกรรม Healthcare ครบวงจรทั้งบริษัทผู้ผลิตยาดั้งเดิม, Biotechnology, Healthcare Services, Medical Technology เป็นต้น ซึ่งในช่วงที่ตลาดหุ้นเริ่มมองหากลุ่มที่ Laggard และมีความทนทานต่อความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ กองทุน K-GHEALTH เป็นคำตอบให้นักลงทุนที่มองหาความสม่ำเสมอ


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer วีรพล บางแวก
Back to top