K WEALTH / บทความ / Wealth Management / ทำเงินต่อกับ LTF อย่างไร? เมื่อครบกำหนดแต่ยังขาดทุน
25 กรกฎาคม 2566
4 นาที

ทำเงินต่อกับ LTF อย่างไร? เมื่อครบกำหนดแต่ยังขาดทุน


​​​​​​​​​​​​​​​​​​“

• เราย้ายเงินก้อนLTF ครบกำหนดทั้งหมด ไปซื้อ SSF และ RMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด และมีนโยบายลงทุนหุ้นไทย เราจะสามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด 35% ของเงินลงทุนใหม่(กรณีผู้ซื้อมีรายได้ฐานภาษี 35%) โดยที่เราได้กำไรแบบไม่ต้องเสียอะไรเลย


• หลายคนเลือกที่จะรอให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นมาก่อน เพื่อดันให้กองทุน LTF ที่ถืออยู่ปรับขึ้นตาม แล้วจะได้ไปซื้อ SSF RMF ได้อย่างสบายใจ แต่ก็มีอีกวิธีที่ทำให้เราไม่รู้สึกถึงความต่างในการย้าย LTF นั่นคือการขาย LTF แล้วซื้อ SSFและ/หรือ RMF ภายในวันเดียวกันด้วยเงินก้อนอื่น เช่นผ่านบัตรเครดิต แถมได้ประโยชน์ทางภาษีแบบเต็มๆ


• ขาดทุนอยู่ไม่กล้าย้าย แต่คำนวณปันผลเข้าไปแล้วหรือยัง หลายครั้งกองทุน LTF ที่เราถืออยู่ดูเหมือนติดลบเยอะ แต่จริงๆแล้วกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ราคา NAV ที่แสดงให้เราเห็น ยังไม่ได้รวมเงินปันผลที่ได้รับ



ปัจจุบันใครที่ซื้อ LTF ตั้งแต่ปี 2559 - 2560 ก็น่าจะเริ่มครบกำหนดกันไปแล้วตามเกณฑ์ต้องถือ LTF 7 ปีปฏิทิน แต่หลายคนก็ประสบปัญหา LTF ณ วันนี้ยังขาดทุนอยู่ จึงยังไม่อยากขายออก แต่อีกใจก็อยากที่จะเอาเงินก้อนนี้ไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดให้มันงอกเงยแบบเห็นผลทันที ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง วันนี้เรามีวิธีที่แค่ขยับเงินก้อนLTF นิดหน่อย ก็เหมือนได้ผลตอบแทนก้อนใหญ่ทันตาเห็น



ย้ายไป SSF และ RMF ประหยัดเงินทันทีสูงสุด 35%


​โดยหากเราขาย LTF ที่ยังขาดทุนอยู่ แล้วไปซื้อ SSF และ RMF ทั้งก้อน เราสามารถนำ SSF และ RMF ทั้งก้อนไปลดหย่อนภาษีได้ทันที ตัวอย่างเช่น เคยซื้อกองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล-C ชนิด LTF หรือ KDLTF-C(L)เมื่อปี 2560 ณ จุดที่แพงที่สุดที่ราคา NAV หน่วยละ 21.8908 บาท/หน่วย โดยซื้อ LTF เต็มสิทธิ์ 500,000 บาท ถือ LTF ครบ 7 ปีปฏิทิน โดยราคา NAV ของกองทุน LTF กองนี้ ณ วันที่ 21 ก.ค. 66 อยู่ที่ 15.7496บาท/หน่วย มูลค่าปัจจุบันเหลืออยู่ที่ประมาณ 359,731.02 บาท‬ ขาดทุนอยู่ 28.05% ถ้าเราย้ายเงินก้อนนี้ไปซื้อ SSF และ RMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งหมด เราจะสามารถประหยัดภาษีได้ 125,906 บาทหรือ คิดเป็น 35% ของเงินลงทุนใน SSF และRMF ตามเงื่อนไขที่กำหนด (กรณีผู้ซื้อมีรายได้ฐานภาษี 35%) โดยที่เราได้กำไรแบบไม่ต้องเสียอะไรเลย แค่ย้ายเงินและรับเงื่อนไข SSF RMF ได้เท่านั้น ซึ่งการที่เราลงทุนแล้วเหมือนได้กำไรทันที 35% แบบนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน


เงินลงทุนใน KDLTF-C(L) เมื่อ 7 ปี(ปฏิทิน)ที่แล้ว​
500,000 บาท
​ฐานภาษีเมื่อ 7 ปี(ปฏิทิน)ที่แล้ว
​35%
​LTF ทำให้ประหยัดภาษีได้​
​175,000 บาท
​มูลค่ากองทุน KDLTF-C(L) ที่ถือยู่ในปัจจุบัน
​359,731.02‬ บาท
​ขาดทุนอยู่
-28.05%​
​ปันผลที่ได้รับตลอดการถือ KDLTF-C(L)
​3.14 บาทต่อหน่วย​
​ผลขาดทุนรวมปันผลที่ได้รับ จะขาดทุน
​-13.70%
​ย้ายไปซื้อ SSF และ RMF ทั้งก้อนตามเงื่อนไข
359,731.02 บาท
​ฐานภาษีปัจจุบัน
​35%
​ประหยัดภาษีได้
​125,906 บาท​
​กำไรทันที
สูงสุด 35% ของเงินลงทุนก้อนใหม่
เคสนี้ รวมประหยัดภาษีทั้ง 2 รอบไปได้
300,906 บาท ( กำไร 60% ของเงินลงทุน5แสนบาท )


นอกจากนี้ หากใครที่ยังชอบกองทุนเดิมแล้วอยากถือต่อ หรือทำใจไม่ได้ที่จะขายทิ้ง ก็ใช้วิธีลงทุนกองทุนเดิมต่อได้ เช่นถือ KSET50LTF,KMSLTF อยู่ แล้วอยากได้สิทธิลดหย่อนภาษีใหม่ ก็มีกองทุนคู่แฝดให้ย้ายไปได้เช่น KS50RMF, KMSRMF ที่เหมือนย้ายเงินจากกระเป๋าซ้าย ไปกระเป๋าขวา นโยบายการลงทุนเหมือนเดิม แต่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเข้ามาเพิ่มเติม



กังวล LTF ติดลบอยู่ ไม่อยากย้าย


​หลายคนเลือกที่จะรอให้ตลาดหุ้นไทยบ้านเราปรับตัวขึ้นมาก่อน เพื่อดันให้กองทุน LTF ที่ถืออยู่ปรับขึ้นตาม ซึ่งจำนวนไม่น้อยก็รอมาตั้งแต่ปี 2565 หรือประมาณ 1 ปี 7 เดือนแล้ว กองทุน LTF ก็ยังไม่คืนทุนเสียที เสียทั้งเวลารอ เสียทั้งโอกาสที่จะนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างที่เล่าไปข้างต้น ดังนั้นเราจึงจะชวนทุกคนมาตรวจสอบกองทุนที่ถืออยู่ว่าจริงๆแล้วขาดทุนอย่างที่ตาเห็นหรือเปล่า


1. คำนวณปันผลเข้าไปแล้วหรือยัง หลายครั้งกองทุน LTF ที่เราถืออยู่ดูเหมือนติดลบเยอะ แต่จริงๆแล้วกองทุนเหล่านั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ราคา NAV ที่แสดงให้เราเห็น ยังไม่ได้รวมเงินปันผลที่ได้รับ ตั้งแต่เราถือกองทุนนี้เข้าไปเลย ซึ่งหากเราคำนวณเงินปันผลเข้าไป จากติดลบมาก ก็จะเป็นติดลบน้อย หรืออาจจะกำไรขึ้นมาก็ได้เช่นกัน


ตัวอย่างเช่น ซื้อกองทุน KDLTF ช่วงที่แพงที่สุดของปี 2560 ที่ราคาหน่วยละ 21.8909 บาทต่อหน่วย ถือมาครบ 7 ปีปฏิทิน โดยปัจจุบันราคา NAV อยู่ที่ 15.6038 ชัดเจนว่าขาดทุนแน่นอน แต่ราคา NAV ที่แสดงยังไม่รวมเงินปันผลที่เราได้รับตั้งแต่ถือกองทุนมาตลอด 7 ปีปฏิทิน ซึ่งหากดูข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ KAsset จะพบว่าเราได้รับปันผลมาแล้วทั้งสิ้น 3.14 บาทต่อหน่วย หากรวมเข้าไปในราคา NAV จะอยู่ที่ 18.8896บาทต่อหน่วย แม้ขาดทุนอยู่ 13.70% แต่ก็ขาดทุนน้อยกว่าเดิม


​มูลค่ากองทุน KDLTF-C(L) ที่ถือยู่ในปัจจุบัน
359,731.02‬ บาท
​ขาดทุนอยู่
​-28.05%
​ปันผลที่ได้รับตลอดการถือ KDLTF-C(L)
​3.14 บาทต่อหน่วย
ผลขาดทุนรวมปันผลที่ได้รับ จะขาดทุน
​-13.70%​

​2. คำนวณสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับเข้าไปแล้วหรือยัง ซึ่งเป็นเงินที่เราได้ใช้สิทธิ์ไปแล้วในอดีต เมื่อนำกองทุน LTF ไปลดหย่อนภาษี หากเราซื้อ KDLTF เต็มสิทธิ์ที่ 500,000 บาท ฐานภาษีของเรา 35% ก็ประหยัดภาษีไปได้แล้วตอนยื่น คิดเป็น 35% ของเงินก้อน LTF 500,000 บาท ปัจจุบันเราขาดทุน NAV อยู่ 14.37% หักลบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี กลายเป็นว่าเรากำไรอยู่ประมาณ 20% แล้ว


​เงินลงทุนใน KDLTF-C(L) เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
​500,000 บาท
​ฐานภาษีเมื่อ 7 ปีที่แล้ว
​35%
​LTF ทำให้ประหยัดภาษีได้
​175,000 บาท

ซึ่งหากเราลองตรวจสอบข้อมูลดูแล้วพบว่า จริงๆแล้วเรากำไรอยู่ หรือไม่ได้ขาดทุนหนัก ตามที่ตัวเลข NAV บังตา เชื่อว่าหลายคนก็จะตัดสินใจในการย้ายเงิน LTF ไปทำประโยชน์อื่นๆได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำไปซื้อกองทุน SSF RMF​ ก็อาจต้องศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เพราะ SSF ซื้อได้สูงสุดเพียง 200,000 บาท ส่วนที่เหลือต้องนำไปซื้อ RMF เพิ่มเติม แต่หากใครที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป การลงทุนใน RMF อย่างเดียว ไม่ลงทุนใน SSF เลย ก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะจะขายคืน RMF ตามเงื่อนไขได้เร็วกว่า การถือ SSF 10 ปีที่ต้องนับแบบ วันชนวัน​



ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงรอบนี้ เป็นโอกาสเข้าซื้อ


ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี จากระดับสูงสุด เกือบๆ 1,700 จุด และเคยปรับลงไปลึกถึงระดับ 1,460 จุด ต่ำสุดในรอบ 2 ปี จากปัจจัยทั้งเรื่องกำไรของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 4 ออกมาน่าผิดหวัง ความระมัดระวังในการปล่อย Margin Loan ของบริษัทหลักทรัพย์ การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง ความไม่แน่นอนทางการเมือง จนต่างชาติเทขายหุ้นเกือบแสนล้านบาท ซึ่งทาง KAsset มองว่าหากสุดท้ายสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าไทย ตามคาดการณ์รวมทั้งปี 28-30 ล้านคน ก็จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นในช่วงครึ่งปีหลังทันที โดย KAsset มองเป้า SET สิ้นปีไว้ที่ 1,650 ขณะที่ SET ปัจจุบันอยู่ที่ 1,500 กว่าจุด ดังนั้นจังหวะนี้ จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับการซื้อหุ้นไทยราคาถูก การรอซื้อ SSF RMF กองทุนหุ้นไทยช่วงปลายปีซึ่งมีโอกาสสูงมากที่จะปรับตัวขึ้นไปแล้ว อาจไม่ใช่จังหวะที่ดีสำหรับปีนี้ โดยกองทุนที่ทาง KAsset แนะนำได้แก่ K-STAR-SSF และ KSTARRMF หรือหากใครต้องการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยง ก็แนะนำ K-GINCOME-SSF และ KGINCOMERMF ​



อายุเยอะแล้วไม่อยากเสี่ยง


หลายคนอายุเยอะแล้ว ตัวเลขใกล้ๆ 50 ก็มีความรู้สึกว่าไม่อยากเสี่ยงแล้ว ขอแค่ได้เอาเงิน LTF ก้อนเดิมไปลดหย่อนภาษีได้ต่อก็เพียงพอ ดังนั้นทางเลือกการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ชนิด SSF หรือ RMF เช่น K-SF-SSFK-FIXEDPLUS-SSF KGBRMF KFIRMF KSFRMF ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยแนะนำให้พิจารณาเลือก SSF หรือ RMF จากระยะเวลาถือครองกองทุน หากระยะ 10 ที่ต้องถือ SSF เหมาะกับตัวเรามากกว่าให้เลือก SSF แต่ะหาก การต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปี และลงจนถึงอายุ 55 ปี เหมาะกับตัวเรามากกว่า ก็ให้เลือก RMF ได้


แต่หากหลายคนมีความเป็นห่วงเรื่องของสุขภาพตัวเอง และห่วงคนข้างหลังที่ต้องดูแล การทำประกันชีวิต และสุขภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำ LTF ครบกำหนดในปีที่ผ่านมา และปีถัดๆไป มาบริหารจัดการซื้อประกันให้กับตัวเอง แถมสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทกรณีประกันชีวิตและสุขภาพรวมกัน และ ประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ซึ่งการทำประกันได้เร็วเท่าไหร่ นอกจากจะสามารถลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังเป็นผลดีต่อผู้ทำประกันเองอีกด้วย


บทความโดย K WEALTH Trainer มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!