K WEALTH /
บทความ /
Market Update / ประเด็นร้อน : เศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัว GDP ไตรมาส 1/66 ต่ำกว่าคาด
28 เมษายน 2566
2 นาที
ประเด็นร้อน : เศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัว GDP ไตรมาส 1/66 ต่ำกว่าคาด
"
• กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯเปิดเผย GDP ไตรมาส 1/66 (ประมาณการครั้งที่ 1) ขยายตัวเพียง 1.1% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 2.0%
• นักลงทุนยังคาดว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในวันที่ 2-3 พ.ค. นี้
• ผลของการที่ดอกเบี้ยขึ้นสะสมมาสูงราว 5% จะยังกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียน
"
อัปเดตข่าว/สถานการณ์
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผย GDP ไตรมาส 1/66 (ประมาณการครั้งที่ 1) ขยายตัวเพียง 1.1% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.0% เนื่องจากภาคธุรกิจปรับลดการลงทุนในการสต็อกสินค้า ซึ่งบดบังตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว
ตัวเลข GDP ดังกล่าวสอดคล้องกับคาดการณ์ GDPNow ในแบบจำลองของ Fed สาขาแอตแลนตาที่ระบุว่าจะขยายตัว 1.1% ทั้งนี้ ในปี 2565 เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 1.6% ในไตรมาส 1 และ 0.6% ในไตรมาส 2 ทำให้เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค ก่อนที่จะการขยายตัว 3.2% และ 2.6% ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี แม้ GDP จะออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ แต่นักลงทุนยังคงมองว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในวันที่ 2-3 พ.ค. นี้ โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักประมาณ 84% ที่ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% และให้น้ำหนักเพียง 16% ที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.75-5.00%
มุมมองการลงทุน
• ระยะสั้นนักลงทุนให้น้ำหนักกับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่กำลังทยอยออกมา ล่าสุดหุ้นบิ๊กเทคฯอย่าง Meta Platforms รายงานผลประกอบการแข็งแกรง ช่วยหนุนราคาหุ้นบริษัทอื่นๆในกลุ่มเทคด้วย ทั้งนี้ มีบริษัทที่ประกาศออกมาแล้วเพียง 18% ของบริษัทในดัชนี S&P 500 ทั้งหมด โดยบริษัทที่รายงานออกมารวมๆแล้วมีกำไรดีกว่าคาดที่ 5.8% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่ 8.4%
• การดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ช่วงถัดไปจะมีความยากลำบากมากขึ้นในการรักษาสมดุลระหว่างเป้าหมายเงินเฟ้อ และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ผลของการขึ้นดอกเบี้ยสะสมมาถึง 5% ณ ปัจจุบัน เริ่มส่งผลต่อต้นทุนของทุกภาคส่วน ในระยะถัดไปจึงอาจเห็นการปรับลดประมาณการกำไรลงได้อีก และคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ในปีนี้จะทรงตัวจากปีก่อนหน้า
คำแนะนำการลงทุน
• สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นทั่วโลก แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนรวมผสม ผ่านกองทุน K-PLAN2 และ K-PLAN3 ที่มีสัดส่วนการลงทุนสินทรัพย์ในประเทศเป็นหลัก
• ผู้ที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ แนะนำพิจารณาลงทุนกองทุนหุ้นไทย เช่น K-STAR เพื่อรับอานิสงส์จากการที่จีนเปิดประเทศ ซึ่งช่วยหนุนการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในไทย
• ผู้ถือกองทุนตราสารหนี้ แนะนำถือลงทุนตามระยะเวลาที่แนะนำเพื่อโอกาสรับผลตอบแทนและลดความเสี่ยงที่จะขาดทุน เช่น กองทุน K-CBOND-A และ K-PLAN1 แนะนำถือลงทุน 1 ปีขึ้นไป และกองทุน K-FIXED และ K-FIXEDPLUS แนะนำถือลงทุน 1.5 ปีขึ้นไป
• สำหรับผู้ที่ยังกังวลกับความผันผวนของตลาดหุ้น แนะนำพักเงินในกองทุน K-SF ซึ่งเหมาะกับการพักเงิน 3 เดือนขึ้นไป เพื่อรอจังหวะเข้าลงทุนอีกครั้ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
ธนาคารแห่งประเทศไทย
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”
บทความโดย K WEALTH TRAINER