K WEALTH / บทความ / Market Update / จับทิศทางเศรษฐกิจโลก เจาะโอกาสการลงทุนปี 2566
06 มกราคม 2566
4 นาที

จับทิศทางเศรษฐกิจโลก เจาะโอกาสการลงทุนปี 2566


​​


"


• เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2566 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะไม่เติบโต ส่วนจีนมีแนวโน้มจะเปิดประเทศในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2566 สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ยังได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว

 

• ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางตัวเลขเงินเฟ้อ ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ความคืบหน้าการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ของจีน และการเลือกตั้งของไทย


• แนะนำซื้อสะสมกองทุน K-STAR ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ทยอยสะสมกองทุนหุ้นจีน (กองทุน K-CHINA, K-CCTV, K-CHX) กองทุน K-CLIMATE, K-HIT และ K-GHEALTH รวมถึงกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในกลุ่ม Uncorrelated อย่าง Hedge Fund และสินทรัพย์นอกตลาด


"​


ปี 2565 ที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นอีกปีแห่งความท้าทายของนักลงทุนเพราะต้องเผชิญกับความผันผวนของทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ก็ตาม แล้วมุมมองการลงทุนปี 2566 จะเป็นอย่างไร จะดีกว่าปี 2565 หรือไม่ สินทรัพย์ไหนน่าลงทุนหรือทยอยสะสมบ้าง ติดตามได้จากบทความนี้  


มุมมองการลงทุนปี 2566 


เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2566 โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะไม่เติบโต ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 จากเดิมที่ระดับ 2.9% มาอยู่ที่ระดับ 2.7% ถือเป็นการเติบโตที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2565 เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตพลังงานในยุโรป นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรปและอังกฤษ ยังส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในปี 2566 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้กลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 มาอยู่ที่ระดับ 5% หรืออาจสูงกว่านั้น และมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงตลอดปี 2566 

ฝั่งเอเชีย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่า จีนและไทยจะเป็นเพียง 2 ประเทศในเอเชียเท่านั้นที่มีการเติบโตของ GDP ในปี 2566 สูงขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา 

สำหรับจีน แนวโน้มที่จีนจะเปิดประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 มีมากขึ้น หลังจากที่จีนเริ่มผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโควิด-19 แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีนหลังจากนี้ต่อไป โดยล่าสุดจีนได้ยกเลิกมาตรการกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เหลือเพียงตรวจเชื้อแบบ PCR ก่อนออกเดินทางจากประเทศต้นทาง 48 ชั่วโมง ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2566 เป็นต้นมา ทำให้มีโอกาสที่จีนจะเปิดประเทศเร็วกว่าไตรมาส 2 ของปี 2566    

ส่วนเศรษฐกิจไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 3.2 ท่ามกลางความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ยังได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 จำนวน 22 ล้านคน ขณะที่ภาคการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในการประชุมปี 2566 อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25%

หากมองในมุมของตลาดการเงิน พบว่า 

- ตลาดหุ้น ยังเป็นตลาดที่มีความผันผวนเนื่องจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มชะลอตัว จากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ที่ชะลอลง  

- ตลาดตราสารหนี้ จะเห็นว่าราคาตราสารหนี้เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวและรอบ อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้จุดสูงสุดแล้ว ทำให้ธนาคารกลางต่างๆ อาจลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาตราสารหนี้นั่นเอง


ปัจจัยที่ต้องติดตาม  


ปัจจัยที่ต้องติดตามในปี 2566 ได้แก่

- ทิศทางตัวเลขเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงหรือไม่ โดยกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 2% ส่วนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของจีนอยู่ที่ระดับ 3% และของไทยอยู่ที่ระดับ 1-3% รวมถึงติดตามราคาน้ำมันซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ 

- ทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป จีน ไทย ในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ 

- การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป  

- ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จีน-สหรัฐฯ หรือจีน-ไต้หวัน รวมถึงโอกาสที่รัสเซียจะถูกกดดันจากกลุ่มประเทศ G7 ในการควบคุมเพดานราคาน้ำมันรัสเซียและการตอบโต้ของรัสเซีย

- ความคืบหน้าการเปิดประเทศอย่างสมบูรณ์ของจีน ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด

- การเลือกตั้งทั่วไปของไทย ซึ่งคาดว่าจะถูกจัดขึ้นในเดือนพ.ค. 2566 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระในวันที่ 23 มีนาคม 2566 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ

โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภค และการใช้จ่ายของประชาชน รวมถึงส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุน ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้     


คำแนะนำการลงทุน 


สำหรับการลงทุนในปี 2566 มีคำแนะนำดังนี้

ตราสารทุน


กองทุนรวม


- ซื้อสะสมกองทุนหุ้นไทยอย่างกองทุน K-STAR ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 

- ทยอยสะสมกองทุนหุ้นจีน ได้แก่ กองทุน K-CHINA, K-CCTV, K-CHX ซึ่งคาดว่าจีนจะเปิดประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566

- ทยอยสะสมกองทุน K-CLIMATE หุ้นโลกที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา Climate Change, K-HIT หุ้นโลกที่ได้ประโยชน์จาก Megatrends และ K-GHEALTH หุ้นสุขภาพทั่วโลก  

- รอดูจังหวะเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นสหรัฐฯ ได้แก่ กองทุน K-USXNDQ, K-US500X, K-USA ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal Rate) ของสหรัฐฯ จะอยู่ที่ระดับ 5.1% ภายในปี 2566 

- รอดูจังหวะเข้าลงทุนกองทุน K-CHANGE หุ้นโลกที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เมื่อแรงกดดันในหุ้นกลุ่ม Growth ลดน้อยลง
  
- ชะลอการลงทุนในยุโรป โดย Bloomberg คาดการณ์ว่า ปี 2566 ยุโรปมีโอกาสเกิด Recession 80-90%

หุ้น    


- กลุ่มหุ้นแนะนำ ทางบล.กสิกรไทย แนะนำหุ้นกลุ่มป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ กลุ่มป้องกันความเสี่ยงจากวัฎจักร NPL ในประเทศ กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากสภาวะเศรษฐกิจแบบ K-shaped และกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการเปิดประเทศ

นอกจากนี้ ควรกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในกลุ่ม Uncorrelated อย่าง Hedge Fund ซึ่งสามารถป้องกันความผันผวนของการขึ้นดอกเบี้ยหรือเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาดอย่าง Private Asset, Private Equity, Private Real Estate, Private Credit, Structured Note เพราะสามารถทำกำไรได้ในช่วงตลาดขาลง  

ตลาดตราสารหนี้ 


- แนะนำลงทุนตราสารหนี้ไทยมากกว่าตราสารหนี้ต่างประเทศ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ย่อตัวลงมาตามทิศทางของสหรัฐฯ จากการคาดการณ์ว่า FED จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนความเสี่ยงด้าน Credit Risk ของตลาดตราสารหนี้ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ และปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ไทยได้สะท้อนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.0-2.5% ไปแล้ว ทำให้ภาพรวมตลาดตราสารหนี้อยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้

- รอดูจังหวะเข้าสะสมกองทุนตราสารหนี้ ได้แก่ กองทุน K-CBOND เน้นหุ้นกู้ไทย และ K-GB ตราสารหนี้ทั่วโลก เน้นตราสารคุณภาพสูง 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :     
บลจ.กสิกรไทย, บล.กสิกรไทย, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, KBank Private Banking 



บทความโดย K WEALTH TRAINER สุวิมล ยิ่งเจริญรุ่งโรจน์ CFP®

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

กลยุทธ์ลงทุนส่งท้ายปี รับมือตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ทั่วโลกผันผวน
เทรนด์ลงทุนอย่างยั่งยืน มาแรงทั่วโลก เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง
เจาะลึกลงทุนธุรกิจ Health Care ทางรอดสู้เศรษฐกิจถดถอย
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!