K WEALTH / บทความ / Product Review / วิธีแบ่งเงินลงทุน กองทุนหุ้น-กองทุนผสม โอกาสเพิ่มผลตอบแทน แบบคนไม่ชอบเสี่ยง
14 พฤศจิกายน 2565
2 นาที

วิธีแบ่งเงินลงทุน กองทุนหุ้น-กองทุนผสม โอกาสเพิ่มผลตอบแทน แบบคนไม่ชอบเสี่ยง


​​


"


• สร้างผลตอบแทนเท่ากับการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ได้ ด้วยการลงทุนในกองทุนหุ้นเพียง 6%-10% หรือกองทุนผสม 10%-50% ของเงินลงทุนเดิม


• กองทุน K-CHX ค่าธรรมเนียมต่ำ ง่ายต่อการติดตามความเคลื่อนไหว และเน้นลงทุนหุ้นจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นช่วงที่ราคาหุ้นถูกกว่าตลาดหุ้นอื่น


• กองทุน K-GINCOME-A(A) กองทุนผสม ที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก มีโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยงและความผันผวนต่ำกว่ากองทุนหุ้น เหมาะกับการลงทุนระยะยาวโดยไม่ต้องเสียเวลาติดตามสถานการณ์ลงทุนบ่อยนัก


"


กองทุนตราสารหนี้แบบเดิมๆ หากดูผลตอบแทนตามปีปฏิทินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 พบว่าอยู่ที่ 1.01%-3.30%ต่อปีเท่านั้น (อ้างอิงกองทุน K-CBOND-A) เช่น การลงทุน 1 ล้านบาท ตอนต้นปี พอเวลาผ่านไปจนถึงสิ้นปีจะได้กำไรประมาณ 10,100 – 33,000 บาท เป็นต้น


I: รู้หรือไม่ ใช้เงินแค่ 10% ก็ได้กำไรเท่ากับที่เคยลงทุน


ทางเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง มักสามารถคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น กองทุน K-CHX ที่เป็นกองทุนหุ้นจีน​ หากดูผลตอบแทนตามปีปฏิทินในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 - 2564) พบว่ามีอยู่ 3 ปี ทื่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกอยู่ที่ 21.37%-35.02% ซึ่งสูงกว่าที่ได้รับจาก K-CBOND-A แต่บางปีกองทุน K-CHX ก็มีผลการดำเนินงานที่ติดลบได้ เช่น ปี 2561 และ 2564 ที่ผลตอบแทนตามปีปฏิทินติดลบอยู่ที่ -23.48% และ -10.85% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามหากผู้ลงทุนเชื่อว่า การลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป ในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น K-CHX จะให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่สูงกว่ากองทุนความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เช่น K-CBOND-A การแบ่งเงินไปลงทุนใน K-CHX ประมาณ 6%-10% ตอนต้นปี 2560 2562 และ 2563 ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่ากับเงิน 100% ที่ลงทุนในกองทุน K-CBOND-A ในช่วงเวลาเดียวกัน รายละเอียดตามตารางด้านล่าง
 
 
ตารางเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนกองทุน K CHX เทียบ K CBOND A

กองทุน K-CHX ดีอย่างไร


กองทุน K-CHX (กองทุนเปิดเค ดัชนีหุ้นจีน) เป็นกองทุนหุ้นจีน ความเสี่ยงระดับ 6 (สูงสุดระดับ 8) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก ที่ลงทุนในหุ้นจีน A-shares เพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี FTSE China A50 ซึ่งจากผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีปฏิทิน พบว่าส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนตราสารหนี้และกองทุนผสมทั่วไป

ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ ภาพรวมเศรษฐกิจของจีนถือว่าดูดีขึ้นกว่าเมื่อช่วงกลางปี 65 ที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นประเทศที่ไม่มีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อเหมือนประเทศอื่นๆ ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายการเงินจึงยังเป็นแบบผ่อนคลาย ส่งผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้งราคาหุ้นของจีน ยังถือว่าต่ำกว่าตลาดหุ้นอื่นอยู่มาก แม้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอยู่บ้าง เช่น นโยบาย Zero-COVID ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังอ่อนแอ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ รวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มกฏระเบียบต่างๆ เป็นต้น

กองทุน K-CHX เป็นกองทุนดัชนี ทำให้ง่ายต่อการติดตามเพื่อปรับเปลี่ยนเงินลงทุน เนื่องจากราคากองทุนมักเปลี่ยนแปลงตามดัชนี ซึ่งเกิดจากปัจจัยโดยรวมที่กระทบกับประเทศจีนซึ่งง่ายต่อการค้นหาข้อมูล อีกทั้งหากเปรียบเทียบกับกองทุนหุ้นจีนส่วนใหญ่ของ KAsset พบว่า K-CHX มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่า เช่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนอยู่ที่ 0.7574%ต่อปี* (K-CHINA-A(A) เก็บ 1.1803% และ K-CCTV เก็บ 1.3657%) ส่วนค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุน ปัจจุบันเก็บเฉพาะตอนรับซื้อคืน ที่ 0.15% และการซื้อขายหลักทรัพย์ขาเข้า ที่ 0.10% ของมูลค่าซื้อขายตามลำดับ* (K-CHINA-A(A) และ K-CCTV เก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมการขาย 1.50%) 

กองทุน K-CHX เหมาะกับการลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนทั่วไป โดยควรมีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เคยมีผลขาดทุนสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ -38.89%* แต่หากเป็นการแบ่งเงินมาลงทุนบางส่วน เช่น 6%-10%ของเงินทุนที่มี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับกองทุนตราสารหนี้เดิมที่ถืออยู่ ผลขาดทุนสูงสุดที่ว่าจะคิดเป็น -2.33% (-38.89% ของเงินลงทุนเพียง 6%) ถึง -3.89% เทียบกับเงินทั้งหมด 


II: จัดสรรเงินลงทุนหลัก ด้วยกองทุนผสม


อีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุน คือ กองทุนผสม เช่น K-GINCOME-A(A) ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่ากองทุน K-CHX โดยหากดูผลตอบแทนตามปีปฏิทินที่ได้รับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 – 2564) พบว่ามีอยู่ 4 ปี ที่มีผลตอบแทนเป็นบวก โดยใน 3 ปีล่าสุด มีผลตอบแทนตามปีปฏิทินอยู่ที่ 2.65%-10.63% ซึ่งสูงกว่าที่ได้รับจาก K-CBOND-A โดยมีบางปีที่กองทุน K-GINCOME-A(A) มีผลการดำเนินงานต่ำกว่ากองทุน K-CBOND-A เช่น ปี 2560 และ 2561 มีผลตอบแทนตามปีปฏิทินอยู่ที่ 0.67% และ -6.72% ตามลำดับ

หากเปรียบเทียบการลงทุน K-GINCOME-A(A) กับการลงทุน K-CBOND-A ตอนต้นปี 2562-2564 พบว่ากำไรที่ได้รับตอนสิ้นปีจากการลงทุน K-GINCOME-A(A) ด้วยเงินลงทุนเพียง 10%-50% ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้เท่ากับเงิน 100% ที่ลงทุนในกองทุน K-CBOND-A ในช่วงเวลาเดียวกัน รายละเอียดตามตารางด้านล่าง

ตารางเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนกองทุน K GINCOME AA เทียบ K CBOND A
 

กองทุน K-GINCOME-A(A) ดีอย่างไร


กองทุน K-GINCOME-A(A) (กองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม–A ชนิดสะสมมูลค่า) เป็นกองทุนผสม ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก ที่มีการลงทุนหลากหลายทั่วโลก ทั้งในตราสารหนี้ ตราสารทุน และ REITs

K-GINCOME-A(A) เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 5 (สูงสุดระดับ 8) ที่ผ่านมามีความผันผวนของผลตอบแทนต่ำกว่า K-CHX เห็นได้จากผลตอบแทนตามปีปฏิทินช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 - 2564) กองทุน K-CHX มีผลตอบแทนติดลบ 2 ปี โดยปีที่ติดลบมากที่สุดอยู่ที่ -23.48% ส่วนกองทุน K-GINCOME-A(A) มีผลตอบแทนติดลบเพียง 1 ปี โดยติดลบอยู่ที่ -6.72% และกองทุนนี้เคยมีผลขาดทุนสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ -22.58%* (K-CHX อยู่ที่ -38.89%*) และใช้เวลาไม่ถึง 9 เดือน* ที่มูลค่ากองทุนกลับมากำไรหรือเท่าเดิม นับจากวันที่ขาดทุนสูงสุดนั้น

กองทุน K-GINCOME-A(A) เหมาะกับการลงทุนระยะยาว 5 ปีขึ้นไป เพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนตราสารหนี้ โดยสามารถเน้นเป็นเงินลงทุนหลักของเงินลงทุนทั้งหมดที่มี เนื่องจากเป็นกองทุนที่ลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลายทั่วโลก ช่วยลดความผันผวนจากสินทรัพย์บางประเภทหรือบางภูมิภาค จึงไม่จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ลงทุนบ่อยนัก


กองทุน K-CHX และ K-GINCOME-A(A) นอกจากมีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่ากองทุนตราสารหนี้แล้ว ยังลงทุนเพิ่มและขายคืนได้ทุกวันทำการ โดยเมื่อขายคืนจะได้รับเงินภายใน 3 และ 4 วันทำการถัดจากวันที่ขายคืนตามลำดับ ทำให้มีความคล่องตัวนำเงินออกมาใช้จ่ายได้หากจำเป็น อีกทั้งยังสามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนต่างๆ ภายใต้ บลจ. เดียวกัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อยู่เสมอ


* ข้อมูล ณ 30 ก.ย. 65 จากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH TRAINER ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
ลงทุนแต่ละครั้ง ต้องดู IRR ตัวชี้วัดอัตราผลตอบแทน
5 ทางเลือกบริหารเงินทุนสำรองของธุรกิจให้งอกเงย
เจาะลึก "K-SF" กองทุนความเสี่ยงต่ำ ที่น่าสนใจช่วงดอกเบี้ยขึ้นแรง
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!