K WEALTH / บทความ / Market Update / จังหวะลงทุน ช่วงเงินเยนร่วงหนัก
06 พฤษภาคม 2565
4 นาที

จังหวะลงทุน ช่วงเงินเยนร่วงหนัก


● เงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่า เนื่องจากนโยบายทางการเงินที่แตกต่างกันระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น (ฝั่งสหรัฐฯดำเนินนโยบายตึงตัว ในขณะที่ญี่ปุ่น ดำเนินนโยบายผ่อนคลาย)


● ล่าสุด 28 เม.ย. 65 จากผลการประชุม BOJ ยังคงมติดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลาย ส่งผลให้เงินเยนยังคงอ่อนค่าไปอีกสักระ


● สำหรับผู้ที่มีแผนไปท่องเที่ยว/ซื้อของที่ญี่ปุ่น แนะนำให้ทยอยแลกเงินเยนเก็บไว้ หรือ ผู้ที่อยากลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น ที่มีราคา (P/E ต่ำกว่าหุ้นโลก) แนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-JP



ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินในประเทศแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงไทย โดยเฉพาะเงินเยน ที่เปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในเอเชีย มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง อะไรเป็นสาเหตุ และใครได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากเงินเยนที่อ่อนค่า บทความนี้จะช่วยอธิบายให้



เกิดอะไรขึ้นกับสถานการณ์เงินเยน

เงินเยน มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมาแตะที่ระดับ 130 เยนต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ถือเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปี มาจากสาเหตุ ดังนี้


1.นโยบายควบคุม Yield Curve ของ BOJ

ญี่ปุ่นใช้นโยบาย Yield Curve Control แปลง่ายๆ คือ ต้องการให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น คงที่เมื่อ Bond Yield ของญี่ปุ่นกำลังจะปรับตัวขึ้น BOJ จะตั้งโต๊ะรับซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล ไม่จำกัดจำนวน ในอัตรา 0.25% ต่อปี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ทำให้เพิ่มปริมาณเงินเยนในระบบ แน่นอนว่าเงินในระบบเพิ่มขึ้น ย่อมต้องการหาผลตอบแทนที่สูงกว่า ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ


2.การดำเนินนโยบายทางการเงินที่แตกต่างกัน ระหว่าง ธนาคารกลางสหรัฐฯ และ ธนาคารกลางญี่ปุ่น

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีนโยบายเน้นควบคุมเงินเฟ้อ ด้วยการใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ทำให้เงินในระบบน้อยลง ในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีนโยบายเน้นควบคุม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่น 10 ปี (Bond Yield) เมื่อภาวะราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้น ย่อมกดดันให้อัตราผลตอบแทนฯสูงขึ้นเพื่อชดเชยเงินเฟ้อ ดังนั้น BOJ จะต้องตั้งโต๊ะรับซื้อคืนพันธบัตรฯ จากนโยบายการเงินที่แตกต่างกัน (Monetary Policy Divergence) ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปีของสหรัฐกับญี่ปุ่น ห่างกันมากขึ้น



เงินเยนอ่อนค่า ยังอยู่อีกนานไหม

จากการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ยังคงมติในนโยบาย Yield Curve Control จะทำให้เงินเยนอ่อนตัว หากอ่อนค่าลงก็จะมีการแทรกแซงเป็นระยะๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 เม.ย. BOJ มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินเยนเทียบกับดอลลาร์ฯอ่อนลงไปแล้วราวๆ 11.46%* นับจากต้นปี (ข้อมูล ณ 28 เม.ย. 65) ในขณะที่นโยบายทางการเงินของ FED ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะดำเนินนโยบายแบบตึงตัว และขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที 2.5-2.75% (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.5%) หากญี่ปุ่นยังคงนโยบายผ่อนคลายแบบนี้ไป ก็จะส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯไปอีกสักระยะ


ผลกระทบต่อผู้บริโภค/บุคคลทั่วไป

     1)ได้ประโยชน์ในฐานะนักท่องเที่ยว/ผู้ซื้อสินค้าในญี่ปุ่นในราคาที่ถูกลง


ผลกระทบต่อธุรกิจ/อุตสาหกรรม

     1) บริษัทไทยที่นำเข้าสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรจากญี่ปุ่น จะได้ประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่า 

     2) ธุรกิจท่องเที่ยวในญี่ปุ่น จะได้รับประโยชน์เมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศ 

     3) ญี่ปุ่นจะมีต้นทุนด้านพลังงานที่จะสูงขึ้นจากค่าเงิน และจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ



คำแนะนำในการจัดการเงิน


1) ทยอยแลกเงินเยน

สำหรับผู้ที่มีแผนจะเดินทางไปญี่ปุ่น จะแลกเงินเยนเก็บไว้ หรือ แลกเก็บไว้ใน Wallet อย่าง App YouTrip ที่จะช้อปออนไลน์หรือรอเปิดประเทศก็พร้อมรูดใช้


2) ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่มีความน่าสนใจด้านราคา

(P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหุ้นโลกเล็กน้อย) และค่าเงินเยนที่อ่อนจะทำให้แลกได้เงินเยนเพื่อลงทุนได้มากขึ้น แนะนำ K-JP


3) นอกจากความน่าสนใจในหุ้นญี่ปุ่น

ถ้าอยากได้ประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงก็ควรเลือกกองทุนที่มีนโยบายไม่ป้องกันอัตราแลกเปลี่ยน (Unhedge) 


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”



บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ