K WEALTH / บทความ / Wealth Management / สรุปเศรษฐกิจต้นปี พร้อมชี้เป้าลงทุนไตรมาสถัดไป
26 เมษายน 2565
4 นาที

สรุปเศรษฐกิจต้นปี พร้อมชี้เป้าลงทุนไตรมาสถัดไป


          

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“ ​

● อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง จากการขาดแคลนวัตถุดิบจากการควบคุมโควิด FED ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง และกดดันการเติบโตเศรษฐกิจโลก 

● ตราสารหนี้ ทางเลือกของนักลงทุนเสี่ยงต่ำ แนะนำให้เน้นลงทุนในหุ้นกู้เอกชนในประเทศ เนื่องจากความเสี่ยงจากการผิดนัดลดลง เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่จะได้รับ สำหรับกองทุนแนะนำ คือ K-CBOND 

● หุ้น ทางเลือกของนักลงทุนเสี่ยงสูง สำหรับหุ้นรายตัว แนะนำหุ้นกลุ่มที่ปลอดภัย* (กลุ่มการแพทย์ กลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม REITs) สำหรับกองทุนหุ้นไทย แนะนำ K-STAR กองทุนหุ้นต่างประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม) แนะนำ K-CHINA K-JP K-VIETNAM 

● กองทุนผสม ทางเลือกของนักลงทุนสาย(เสี่ยง)กลาง แนะนำกองทุน K-GINCOME ที่เน้นลงทุนตราสารหนี้และตราสารทุนทั่วโลก เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ

​​“


         ในช่วงต้นปี 65 ที่ผ่านมา มีความผันผวนของตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น หรือ ตลาดตราสารหนี้ ทำให้การลงทุนในปี 65 เป็นปีที่ท้าทาย และ “อัตราเงินเฟ้อ” เป็นปัจจัยที่ช่วยกำหนดทิศทางการลงทุนกันอย่างไรได้บ้าง ลองทบทวนพอร์ตการลงทุนกัน

สรุปสถานการณ์การลงทุนในไตรมาส 1 ปี 65​​​​​          ​
         · ร่องรอยจากการควบคุมสถานการณ์โควิดของแต่ละประเทศ จากการกักตัว หรือมาตรการปิดสถานที่ ทำให้การขนส่งสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำได้ไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าเป็นระยะๆ และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น เป็นที่มาของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นด้วย 
          · FED ดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะเห็นได้จากการส่งสัญญาณ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลต่อหุ้นกลุ่มเติบโตสูง (Growth) ถูกเทขายจำนวนมาก จากความกังวลว่าต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราการเติบโตในอนาคตอาจชะลอตัวได้ 
          · ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อ ตั้งแต่รัสเซียบุกเข้าโจมตียูเครนในช่วงเดือน ก.พ. ทำให้ประเทศฝั่งตะวันตกตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรวมถึงการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และดันให้อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากสถานการณ์ยืดเยื้อ จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก เป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นโลกโดยรวม ​



ทิศทางการลงทุนจะเป็นอย่างไร          ​
         ตลาดการเงินจะยังมีความผันผวน ปัจจัยหลักที่ต้องติดตามคือ ประเด็นอัตราเงินเฟ้อ ที่มีที่มาหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะการขาดแคลนวัตถุดิบจากการควบคุมโควิด FED ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และสถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-ยูเครน จะส่งต่อราคาพลังงาน และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก 
          โดยหุ้นจะยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนบวกแต่จะไม่ได้เติบโตแบบร้อนแรงอย่างปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นต่างๆทั้งการเงินและการคลังได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

คำแนะนำการลงทุนสำหรับ ไตรมาสที่ 2​​​​​          ​
         สำหรับนักลงทุนความเสี่ยงต่ำ ขอแนะนำให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ โดย บลจ.กสิกรไทย มีมุมมองบวกต่อตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศ จากอัตราการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มลดลงจากผลของเศรษฐกิจที่ค่อยๆกลับมาฟื้นตัว หากเป็นกองทุน ขอแนะนำ K-CBOND 

          สำหรับนักลงทุนความเสี่ยงสูง ขอแนะนำให้น้ำหนักการลงทุน หุ้น อย่างไรก็ตามสงครามรัสเซียกับยูเครน และการที่ FED อาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด จะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นยังมีความผันผวนสูง แต่ตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปมากแล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังเติบโต และหุ้นจะฟื้นตัวได้ตามปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างไปในแต่ละภูมิภาค เช่น หุ้นกลุ่มที่ปลอดภัย* (กลุ่มการแพทย์ กลุ่มโรงไฟฟ้า และกลุ่ม REITs) ราคาที่ปรับตัวลงมาค่อนข้างเยอะในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นระดับที่น่าทยอยสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว หากเป็นกองทุนหุ้นไทย ขอแนะนำ K-STAR แผนการเปิดประเทศมีพัฒนาการที่ดี และผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนมีค่อนข้างจำกัด 

          หากเป็นกองทุนหุ้นต่างประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม) ขอแนะนำ 

          กองทุนหุ้นจีน K-CHINA, K-CCTV, K-CHX ปัจจัยลบเริ่มเบาลง การล็อกดาวน์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น รัฐบาลมีท่าทีที่พร้อมจะเข้ามาสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตั้งเป้าเติบโต 5.5% ในปีนี้ และราคาหุ้นปรับตัวลงมาเยอะจนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก น่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ดีได้เมื่อรัฐบาลส่งสัญญาณพร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชัดเจน 

          กองทุนหุ้นญี่ปุ่น K-JP ทิศทางนโยบายการเงินยังคงผ่อนคลาย และระดับราคาหุ้นต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ 

          กองทุนหุ้นเวียดนาม K-VIETNAM การเติบโตโดดเด่นทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น 

          นอกจากนี้ยังมีการลงทุนหุ้นเป็น Theme รักษ์โลก อย่างกองทุน K-CHANGE และ K-CLIMATE จากบลจ.กสิกรไทย ธีม การลงทุนรักษ์โลกได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจที่นำแนวคิด ESG มาปรับใช้จะมีความสามารถในการแข่งขัน และมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว 

          สำหรับนักลงทุนสายกลาง โดยไม่ต้องการจัดสัดส่วนเอง แนะนำกองทุนผสม อย่างเช่น K-GINCOME เน้นลงทุนตราสารหนี้และหุ้นทั่วโลกที่สร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ ในทุกสภาวะตลาด กระจายในกว่า 3,000 สินทรัพย์ช่วยลดความผันผวนและความเสี่ยงจากการกระจุกตัว 

          สำหรับใครที่จะลงทุนในช่วงไตรมาสที่สอง และต้องการตัวช่วยในวางแผนการลงทุนให้เหมาะกับตัวเอง แนะนำบริการ Wealth Plus ตัวช่วยวางแผนการลงทุน โดยพิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ระยะเวลา และเป้าหมาย เพื่อให้การลงทุนมีเป้าหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาในการติดตามสถานการณ์การลงทุน และต้องการลงทุนตามเป้าหมายในระยะยาว 

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 
KS Daily View วันที่ 12 เม.ย. 65 
KBank Private Banking : 5 แนวทางปรับพอร์ตลงทุนในช่วงวิกฤตซ้อนวิกฤต 
บลจ.กสิกรไทย ​



บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ