SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท

SME และธุรกิจ SME คืออะไร มีกี่ประเภท ไปทำความเข้าใจกัน

หลายคนเคยได้ยินคำว่า ธุรกิจ SME อยู่บ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าธุรกิจ SME ที่มักมีการพูดถึงอยู่นั้นมีมูลค่ามหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจเลยทีเดียว ในบทความนี้ K BIZ จาก ธนาคารกสิกรไทย จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจ SME มากขึ้น รวมถึงความน่าสนใจของธุรกิจ SME ที่ควรทำความเข้าใจ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) คืออะไร

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) คืออะไร

ธุรกิจ SME (Small and Medium Enterprises) หรือเรียกว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นธุรกิจที่มีรายได้ สินทรัพย์และพนักงานจำนวนน้อย ดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการ sme คือ ผู้ที่มีความเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับกลุ่มธุรกิจใด ใช้เงินลงทุนต่ำ ซึ่งหลักๆ เป็นเงินทุนของเจ้าของธุรกิจเองหรือเงินทุนจากการกู้ยืมสินเชื่อจากธนาคาร จุดเด่นของธุรกิจ SME คือการดำเนินธุรกิจในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ มีทั้งธุรกิจการผลิต การค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอาหาร การเกษตรหรือโรงแรมขนาดเล็ก เป็นต้น ธุรกิจ SME จึงถือเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย

ประเภทของธุรกิจ SME

ประเภทของธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME มีกี่ประเภท? การแบ่งตามประเภทของกิจการ และการแบ่งตามขนาดของวิสาหกิจ ซึ่งในปัจจุบันนั้น สสว. ได้กำหนดขนาดของวิสาหกิจเป็น 3 ขนาด (MSME) คือ วิสาหกิจรายย่อย (Micro) วิสาหกิจขนาดย่อม (Small) และวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ธุรกิจ SME มี 3 ประเภท ได้แก่จึงถือเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจในประเทศไทย

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เป็นธุรกิจที่ดำเนินการในการผลิตทั้งในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการทำเหมืองแร่ต่างๆ ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้

  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 100-500 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 50-200 คน
K BIZ ทำธุรกิจต่างประเทศไม่สะดุด โอนจ่ายเองได้ปลายทางได้รับเงินเต็มจำนวน

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้า

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการค้า ครอบคลุมธุรกิจด้านการค้าปลีก การค้าส่ง กิจการการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้

  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30-100 คน

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

กิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการ ครอบคลุมธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านอาหาร การศึกษา การประกันภัย สุขภาพ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งธุรกิจขนาดย่อยไปจนถึงขนาดกลาง จะมีเกณฑ์การแบ่ง ดังนี้

  • วิสาหกิจรายย่อย ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
  • วิสาหกิจขนาดย่อม ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
  • วิสาหกิจขนาดกลาง ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50-300 ล้านบาทต่อปี และการจ้างงานไม่เกิน 30-100 คน
บทบาทของธุรกิจ SME ในระบบเศรษฐกิจคืออะไร

บทบาทของธุรกิจ SME ในระบบเศรษฐกิจคืออะไร

ธุรกิจ SME เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ธุรกิจ SME มีบทบาทต่อการเติบโตและยังเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วย เพราะเป็นธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อย ที่ทำให้เกิดการกระจายรายได้ ลดการผูกขาดของกลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งบทบาทสำคัญของธุรกิจ SME นั้น K BIZ ได้สรุปมาแล้ว ดังนี้

  • ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน ธุรกิจ SME มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง มีจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 3 ล้านราย จึงจะเห็นได้ว่าจะเกิดการจ้างงานจำนวนมากตามการเติบโตของธุรกิจ SME
  • เป็นธุรกิจที่ผลิตสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) ที่เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจเล็กและอุตสาหกรรมใหญ่ เพราะบางธุรกิจดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตที่รับวัตถุดิบจากภาคการเกษตรมาผลิต และส่งต่อไปยังอุตสาหกรรมใหญ่ เป็นต้น
  • ธุรกิจ SME ช่วยเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบภายในประเทศ เพราะจะใช้ทรัพยากรภายในในการผลิตและการค้าเป็นหลัก
  • ธุรกิจ SME ทำให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่จำนวนมาก เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก ความเสี่ยงน้อย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจ และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งทางด้านการเป็นผู้ประกอบการ และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพต่างๆ อีกด้วย
  • ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เพราะธุรกิจ SME สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย

ธุรกิจ SME ที่มีความน่าสนใจ และส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจนั้น มีหลายธุรกิจ โดยธุรกิจที่มาแรงและได้รับความนิยม เช่น

  • ธุรกิจออนไลน์ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายมหาศาลในแพลตฟอร์มต่างๆ
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นเทรนด์ใหม่ของผู้คนที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากขึ้น
  • ธุรกิจร้านกาแฟยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพราะมีความหลากหลายมาก
  • ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จำหน่ายแบบเดลิเวอรี่ที่เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากขึ้น
  • ธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษาทั้งการสอนออนไลน์ไปจนถึงการขาย คอร์สเรียนในเรื่องเฉพาะเจาะจง
ข้อได้เปรียบของธุรกิจ SME เปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่

ข้อได้เปรียบของธุรกิจ SME เปรียบเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่

ธุรกิจ SME แม้จะเป็นธุรกิจเล็ก แต่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจระดับประเทศได้ โดยมีมูลค่าถึง 1,542,710 ล้านบาท คิดเป็น 35.6 % ของ GDP รวม เลยทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มของวิสาหกิจรายย่อย ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าธุรกิจ SME เป็นธุรกิจสำหรับคนทั่วไปที่มีเงินทุนน้อยถึงปานกลาง แต่กลับส่งผลต่อมูลค่าเศรษฐกิจประเทศมหาศาล เพราะว่าธุรกิจ SME นั้น มีข้อได้เปรียบหลายประการเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีอะไรบ้าง วันนี้ K BIZ ขอนำเสนอดังนี้เลย

  • ธุรกิจ SME สามารถบริหารจัดการได้ง่าย

    เนื่องจาก ธุรกิจ SME ใช้เงินลงทุนไม่สูง เป็นข้อที่ทำให้การเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้ง่าย มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนธุรกิจใหญ่ แถมยังปรับตัว ปรับเปลี่ยนแผนได้ง่ายรวดเร็วกว่า ด้วยความที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถบริหารจัดการได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงบประมาณ กำลังคน การจัดการความคล่องตัวของธุรกิจ และการบริหารจัดการสต็อคสินค้าด้วย

  • ธุรกิจ SME เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย

    เพราะธุรกิจขนาดเล็กสามารถใกล้ชิดกับลูกค้าได้มาก ทำให้เป็นข้อได้เปรียบหนึ่งเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME จะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง มีการสื่อสารมีที่ประสิทธิภาพและตรงประเด็น สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้อย่างดี ทำให้ลูกค้ามีการบอกต่อ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพว่าการโฆษณา เพราะลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์แล้วนั่นเอง

  • ธุรกิจ SME ดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าทำงาน

    ปัจจุบันแนวโน้มของคนรุ่นใหม่จะนิยมเลือกทำงานในองค์กรขนาดเล็กมากขึ้น เพราะว่ามีความเป็นอิสระ คล่องตัว และยืดหยุ่นมากกว่าองค์กรใหญ่ๆ โดยเฉพาะเรื่องของกฎระเบียบกฎเกณฑ์ที่คนรุ่นใหม่เห็นว่าไม่มีความจำเป็น ดังนั้น การเลือกทำงานในองค์กรขนาดเล็ก นอกจากจะสบายใจกว่าแล้ว ยังมีความท้าทายและสนุกมากกว่าองค์ขนาดใหญ่ ทำให้คนคุณภาพจำนวนหนึ่งเลือกทำงานกับธุรกิจ SME มากกว่า

แนวทางจัดการความเสี่ยงที่ควรรู้ไว้ก่อนทำธุรกิจ SME

แนวทางจัดการความเสี่ยงที่ควรรู้ไว้ก่อนทำธุรกิจ SME

ถึงแม้ว่าการทำธุรกิจ SME จะมีข้อดีและข้อได้เปรียบหลายประการ แต่ว่าการทำธุรกิจนั้นก็ย่อมมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ดังนั้น K BIZ จึงขอรวบรวมและสรุปถึงแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจทำธุรกิจ SME ที่สำคัญๆ ได้แก่

  • การเริ่มต้นธุรกิจให้พอดี

    ผู้ประกอบการควรต้องพิจารณาเรื่องของทรัพยากรที่มีอยู่สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ ที่ควรจะใช้อย่างคุ้มค่า ในช่วงเริ่มต้นอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มด้วยขนาดใหญ่เกินกว่าทรัพยากรที่มีจะรองรับได้ แต่ควรเน้นให้มีความสมดุล รวมไปถึงการจ้างผู้เชี่ยวชาญแม้ว่าจะมีค่าแรงสูงในระยะแรกอาจจะมีความจำเป็นมากกว่าพนักงานที่ยังไม่มีทักษะ

  • การสร้างฐานธุรกิจด้วยแผนการเงิน

    การวางแผนการเงินจะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมรายรับรายจ่ายได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินและปริมาณเงินสดที่หมุนเวียนของธุรกิจได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก

  • การบริการหลังการขาย

    การขายสินค้าไม่ได้จบลงที่การซื้อขายเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการควรคิดถึงการบริการหลังการขายด้วย เพราะการมีบริการหลังการขายที่ดีจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้ามีความผูกพันกับแบรนด์ ส่งผลให้กลับมาซื้อซ้ำ หรือมีการบอกต่อ

  • การมองหาพาร์ทเนอร์

    ผู้ประกอบการควรพิจารณาและเริ่มมองหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต สามารถช่วยกันส่งเสริมภาพลักษณ์และส่งเสริมการขายของแต่ละธุรกิจได้

  • การเรียนรู้เทคโนโลยี

    การเรียนรู้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนของการดำเนินกิจการได้มากทีเดียว นอกจากนั้นเทคโนโลยียังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการขายด้วย

จะเห็นได้ว่าธุรกิจ SME นั้นมีความน่าสนใจมาก เพราะธุรกิจ SME เป็นธุรกิจขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลาง ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญคอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจ SME มีความอิสระ ยืดหยุ่น และยังเป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของท้องถิ่นไทยด้วย

แม้ว่าจะมีความน่าสนใจหลายประการตามที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ก็มีสิ่งที่พึงระวังด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการหลังบ้านของธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการต้องมีความรอบคอบในการตรวจสอบ ซึ่ง K BIZ จากธนาคารกสิกรไทย ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ผู้ประกอบการมองหา K BIZ เป็น Online Banking Platform สำหรับบริการโอนเงินออนไลน์ ที่ทุกธุรกิจต้องมี เรียกได้ว่า K BIZ เป็นบริการที่ “ครบเครื่องเรื่องโอนจ่ายออนไลน์ สะดวกสบายทุกธุรกิจ” ครอบคลุมบริการด้านการเงิน สามารถกำหนดผู้ใช้งานได้หลายคน ผู้ใช้งานได้หลายคน เพิ่มความคล่องตัวรองรับอุปกรณ์หลากหลาย ที่มีความปลอดภัย 2 เท่า สามารถทำการโอนเงินแบบกลุ่ม การจัดการเช็ค การโอนเงินต่างประเทศ รายการเดินบัญชี และสลิปยืนยันการทำรายการ ซึ่งผู้ประกอบการที่มีตัวช่วยที่ดีในด้านการบริหารจัดการทางการเงินแบบนี้ ก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสบายใจจ หายห่วง ด้วย K BIZ จากธนาคารกสิกรไทย

สนใจบทความที่เกี่ยวข้อง

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top