18/2/2565

Autobot ทุ่มสุดใจสู้จากศูนย์สู่ร้อยล้าน

content1

ถึงจะทำงานคลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยี กลไก ไฟฟ้า และซอฟต์แวร์ที่ล้ำสมัย แต่ ธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัทโรบอท เมคเกอร์ จำกัด กลับขับเคลื่อนเทคคอมพานีแห่งนี้ด้วยหัวใจ ฉะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรจึงเน้นที่ความใส่ใจ เข้าใจ และฟังเสียงของลูกค้าเป็นสำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ไทยอย่าง Autobot จะสร้างยอดขายเป็น Top 3 ในตลาด และเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมาจนถึงทุกวันนี้

content2

กล้าเสี่ยง กล้าทุ่มสุดใจ

  • กล้าต่อรองเพื่อต่อเติมฝัน
  • สมัยมากๆ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เป็นสินค้าที่ใช่ในการบุกเบิกตลาดเวลานั้น ธรรมสรที่วันนั้นยังเป็นมนุษย์เงินเดือนก็ลองเจรจาต่อรองกับทางโรงงานผู้ผลิตในต่างประเทศ พร้อมกับแสดงความตั้งใจจริงด้วยการเขียนอีเมลความยาว 1 หน้าไปหา กระทั่งโรงงานยอมใจอ่อนขายสินค้าล็อตแรกให้ 20 ตัว แทนที่จะต้องลงทุนสูงถึง 1,000 ตัว

  • อินกับสินค้าที่ขาย
  • ธรรมสรไม่เพียงเป็นผู้นำเข้าหุ่นยนต์ดูดฝุ่น แต่ยังเป็นผู้ใช้งานตัวจริงและอินกับสินค้ามาก อย่างรุ่นที่นำเข้ามานอกจากดูดฝุ่นยังเช็ดแห้งได้แต่เขารู้ดีว่าตัวเขาและผู้บริโภคคนไทยอยากจะได้ถูเปียกเพราะสะอาดมากกว่า จึงมองหากระดาษถูพื้นแบบเปียกมาเป็นของแถมให้กับลูกค้า จากตอนแรกที่ไปเปิดบูทสินค้าอยู่ใต้คอนโดมิเนียมแล้วขายไม่ออกจนเกือบจะล้มเลิก แต่ความเข้าใจในตัวสินค้าบวกกับความพยายามที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า ทำให้ Autobot ได้ไปต่อในเฟสถัดไป

content3

เรียนรู้ พัฒนาจากข้อผิดพลาด

  • ดิจิทัลทรานสฟอร์ม = ทางรอด
  • ปีที่ 2 ของการลาออกมาเปิดบริษัท ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง Autobot เติบโตมี 40 สาขาทั่วประเทศ ยอดขาย 30 ล้านบาท ฟังดูเหมือนจะดี แต่ที่จริงหน้าบ้านวุ่น หลังบ้านเละ และแทบไม่มีกำไร เพราะคนทำไม่เป็นธุรกิจ การตัดสินใจออกไปเติมความรู้ ทำให้ธรรมสรกลับมาจัดระบบให้ธุรกิจใหม่ในปีที่ 4-5 โดยไล่ปิดสาขาที่ไม่มีกำไร แก้ไขปัญหาโอเปอเรชัน ทรานสฟอร์มองค์กรเป็นดิจิทัล ทุกอย่างทำงานเชื่อมต่อกันด้วยระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญต้องวัดผลได้แบบเรียลไทม์ การปรับตัวก่อนกาลทำให้สามารถรองรับออร์เดอร์ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่เติบโตสุดๆ ในช่วงโควิด-19 ระบาด ปัจจุบันธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 8 ใช้คนน้อยมาก แต่ยอดขายพุ่ง 200-300 ล้านบาท โดยมาจากออนไลน์ 90% ออฟไลน์ 10%

  • วิจัยพัฒนา = ความแตกต่าง
  • ในสนามธุรกิจเทคคอมพานีที่มีการแข่งขันสูง ต้องรู้เขา รู้เรา และมีการวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งขัน หัวใจสำคัญที่สร้างความแตกต่างให้ Autobot คือ ทีมวิจัยและพัฒนาที่ออกแบบโมเดลหรือฟีเจอร์การใช้งานตามที่ต้องการ ก่อนจะส่งให้โรงงานในต่างประเทศเป็นผู้ผลิตตามสั่ง บนพื้นฐานที่ว่า Autobot คือแบรนด์เทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย และปรับให้เข้ากับคนไทยมากที่สุด เช่น มีระบบแจ้งเตือนเสียงภาษาไทย เป็นต้น

content4

เสียงจากลูกค้าชัดเจนที่สุด

  • ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล
  • ข้อมูลลูกค้า คือ ขุมทรัพย์ของธุรกิจ ปัจจุบันธรรมสรขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven Company) ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลทำวิจัยตลาดแบบเรียลไทม์ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการใช้งานจริงของลูกค้า วันนี้แบรนด์ Autobot จึงไม่ได้มีแค่หุ่นยนต์ดูดฝุ่น ทว่ามีการเพิ่มสินค้าในกลุ่ม AIoT สำหรับใช้งานภายในบ้านอย่างหลากหลาย เช่น เครื่องดูดฝุ่น Digital Door Lock เครื่องฟอกอากาศ ฯลฯ ที่ควบคุมง่ายผ่านแอปฯ เดียว และเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในปีนี้ได้เตรียมเปิดตัวหุ่นยนต์ขัดห้องน้ำที่พัฒนาขึ้นเองเป็นเจ้าแรกในโลก รวมทั้งหุ่นยนต์ทำอาหาร ซึ่งล้วนได้จากการฟังเสียงของลูกค้าทั้งสิ้น

  • รักษาลูกค้าเพื่อความยั่งยืน
  • ว่ากันว่ายากกว่าการได้มา คือ การรักษาไว้ ธรรมสรจึงใส่ใจในบริการหลังการขายมาก โดยมองจากมุมของตนเองที่เคยเป็นลูกค้ามาก่อนนอกจากจะพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ เทคคอมพานีแห่งนี้ยังโดดเด่นด้วยหัวใจบริการ มีทีมเซอร์วิสที่พร้อมตอบสนอง Customer Journey ของผู้บริโภคชาวไทยอย่างถึงแก่น เพราะสินค้าอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ใช่แค่มองระยะสั้น ลูกค้าซื้อครั้งเดียวจบ แต่ในจังหวะที่ลูกค้าต้องการเปลี่ยนหรือซื้อเครื่องใหม่ แบรนด์ Autobot ต้องอยู่ในใจลูกค้าระยะยาว เพื่อนำธุรกิจสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืน

    โดยธรรมสรตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสร้างยอดขายให้ได้ 500 ล้านบาท ก่อนนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอีก 2 ปีข้างหน้า เชื่อว่าใครที่ทำธุรกิจโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้ว ย่อมมีชัยชนะไปกว่าครึ่ง

content5