ROE หรือ Return on Equity ตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนมืออาชีพใช้ประเมินการทำกำไรของบริษัท เจาะลึกทุกแง่มุมของ ROE ตั้งแต่ ความหมาย การวิเคราะห์ เพื่อใช้ ROE ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ แบบนักลงทุนมืออาชีพ

ROE คืออะไร? เข้าใจอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น

ROE หรือ Return on Equity ตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนมืออาชีพใช้ประเมินการทำกำไรของบริษัท เจาะลึกทุกแง่มุมของ ROE ตั้งแต่ ความหมาย การวิเคราะห์ เพื่อใช้ ROE ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจ แบบนักลงทุนมืออาชีพ

กดฟัง
หยุด
  • ROE ยิ่งสูง ยิ่งดี แสดงว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี มีโอกาสจ่ายปันผล หรือ ราคาหุ้นมีโอกาสขยับขึ้น
  • การเลือกหุ้นคุณภาพดี ควรประเมินจากหลายมิติ เช่น ความสามารถในการทำกำไร การบริหารสินทรัพย์ รวมถึงมองเห็นโอกาสการเติบโตในอนาคตของธุรกิจฯ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หุ้นที่เลือกสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราในระยะยาว

หากจะเลือกซื้อหุ้นดีๆสักตัว นักลงทุนควรคุ้นเคยหรือรู้จักบริษัทนั้นๆ เช่น ธุรกิจทำอะไร ลักษณะธุรกิจเป็นอย่างไร ใครคือผู้ถือหุ้นใหญ่ มีธรรมาภิบาลหรือไม่ ฯ และที่สำคัญคือ ควรดูงบการเงินอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาว่าบริษัทนั้นมีแนวโน้มเติบโตได้จริง ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินที่นักลงทุนสาย VI นิยมใช้ในการวิเคราะห์บริษัทเพื่อคัดเลือกหุ้น มักพิจารณาจาก ROE (Return on Equity) ที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท


ทำไม ROE ถึงสำคัญต่อการเลือกหุ้นพื้นฐาน?

นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ธุรกิจทำอะไร ผู้ถือหุ้นเป็นใคร และดูงบการเงินประกอบ โดยเฉพาะค่า ROE (Return on Equity) ซึ่งเป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ยิ่ง ROE สูง แสดงถึงโอกาสสร้างกำไรและจ่ายปันผลได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรระวังว่า ROE สูงอาจเกิดจากการมีหนี้มาก จึงต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น


ROE คืออะไร?

ROE คือ อัตราส่วนที่ใช้วัดว่า “บริษัทสร้างกำไรจากเงินของผู้ถือหุ้นได้ดีแค่ไหน” คำนวณจาก

ROE = (กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) × 100


ยิ่ง ROE สูง แปลว่า บริษัทมีศักยภาพในการทำกำไรสูง มีโอกาสจ่ายปันผล หรือราคาหุ้นอาจขยับขึ้นในอนาคต


ROE สูงก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป

บางครั้ง ROE อาจสูงเพราะบริษัทมี “หนี้เยอะ” หรือ “ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย” ซึ่งเป็นจุดที่เพิ่มความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ เพราะฉะนั้น เวลาดู ROE อย่าดูแค่ปีเดียว แต่ควรดูย้อนหลัง 5 ปี และเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วย


ตัวอย่างการใช้ ROE มาวิเคราะห์การลงทุน

เรามักจะใช้ ROE เปรียบเทียบคัดเลือกหุ้นที่ชื่นชอบในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพราะแต่ละอุตสาหกรรมมีการดำเนินธุรกิจ การระดมทุนที่แตกต่างกัน ซึ่งการเปรียบเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันจะทำให้เราเห็นภาพรวมของความสามารถในการทำกำไรของบริษัทนั้น ๆ เช่น



จากตัวอย่างหุ้นกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลข้างต้น จะเห็นว่าบริษัทที่มีประวัติการเติบโตของ ROE ต่อเนื่องอย่าง หุ้นรพ. ABC และ หุ้นรพ. XYZ ที่ผ่านมาสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นเติบโต นอกจากความสามารถในการทำกำไรแล้วยังมีองค์ประกอบอื่น เช่น แนวโน้มรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การลงทุนขยายธุรกิจ หรือแม้แต่ระดับราคาหุ้นในปัจจุบัน ยังเป็นส่วนประกอบที่ทำให้ราคาหุ้นเติบโตได้เช่นกัน เราจึงควรพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมด้วยเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ครบถ้วนและแม่นยำขึ้น


ทำไม ROE อย่างเดียวไม่พอ

แม้ ROE สูงจะดูดี แต่ต้องระวังว่า

  • บางบริษัทมี ROE สูงเพราะ “ส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำ” หรือ “มีหนี้สินสูง”
  • ROE ที่พุ่งในระยะสั้นอาจเกิดจาก “เหตุการณ์พิเศษ” เช่น ขายทรัพย์สิน

ดังนั้น ควรพิจารณาควบคู่กับอัตราส่วนอื่น เช่น D/E Ratio, ROA, P/E เป็นต้น



อัตราส่วนทางการเงินที่ควรใช้ร่วมกับ ROE เช่น

  1. D/E Ratio (อัตราส่วนหนี้ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น)
    • สูตร D/E Ratio = หนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้น มีหน่วยเป็น “เท่า”
    • ยิ่งน้อย ยิ่งดี แสดงว่ามีหนี้สินน้อย
    • ธุรกิจธนาคาร สินเชื่อปล่อยเงินกู้ มักมีหนี้สินสูง ตามการให้บริการทางธุรกิจ จึงไม่ควรใช้ D/E Ratio พิจารณา
  2. P/E Ratio (อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ)
    • สูตร P/E Ratio = ราคาตลาดต่อหุ้น/กำไรต่อหุ้น มีหน่วยเป็น “เท่า”
    • ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงว่าราคาหุ้นมีราคาถูก
    • ควรพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหุ้น แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจด้วยเพื่อให้ได้หุ้นดี ราคาถูก
  3. ROA หรือ Return on Asset (อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม)
    • สูตร ROA = (กำไรสุทธิของกิจการ / สินทรัพย์รวม) × 100 หน่วยเป็น “เปอร์เซ็นต์”
    • ยิ่งสูง ยิ่งดี แสดงว่าบริษัทนำสินทรัพย์ที่มีไปใช้ประโยชน์ได้มาก
    • กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มักมี ROA สูงกว่ากลุ่มธุรกิจอื่น เพราะลงทุนในสินทรัพย์เพื่อสร้างกำไรให้ธุรกิจ
  4. NPM หรือ Net Profit Margin (อัตรากำไรสุทธิ)
    • สูตร NPM = (กำไรสุทธิ/รายได้รวม) × 100 หน่วยเป็น “เปอร์เซ็นต์”
    • ยิ่งสูง ยิ่งดี และควรเติบโต แสดงถึงความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่าย
  5. Dividend Yield (อัตราการจ่ายเงินปันผล)
    • สูตร Dividend Yield = (เงินปันผล/ราคาตลาดต่อหุ้น) × 100 หน่วยเป็น “เปอร์เซ็นต์”
    • ยิ่งมาก ยิ่งดี (ควรจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 4%ต่อปี เปรียบเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยของตราสารหนี้)
    • ธุรกิจที่ต้องใช้เงินหมุนเวียนลงทุนสูง เช่น กลุ่มโรงพยาบาล ขนส่ง ก่อสร้าง ไม่ควรใช้ Dividend Yield มาพิจารณา

สรุปแล้วการจะเลือกหุ้นคุณภาพดี ควรประเมินจากหลายมิติ เช่น ความสามารถในการสร้างกำไร การบริหารค่าใช้จ่าย บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงมองเห็นโอกาสการเติบโตในอนาคตของธุรกิจ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หุ้นที่เลือกสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเราในระยะยาว


ข้อมูลธุรกิจและงบการเงินบริษัทหาได้จากไหน

ศึกษาข้อมูลธุรกิจและงบการเงินของบริษัทที่สนใจได้จากเวปไซต์ตลาดหลักทรัพย์

ตัวอย่างข้อมูลงบการเงินจากเวปไซต์ตลาดหลักทรัพย์

  • งบการเงินย้อนหลัง

  • 20 อันดับ Top ROE ข้อมูล ณ 6 ม.ค. 68

*อ้างอิงจากข้อมูลจริงในตลาดหลักทรัพย์ฯ ณ วันที่ 6 ม.ค. 68 ใช้เพื่อประกอบคำอธิบาย


เมื่อเราใช้ข้อมูลทางการเงินคัดเลือกหุ้นคุณภาพดีได้แล้ว ควรพิจารณาความเสี่ยงหรือปัจจัยที่กระทบในธุรกิจหรือตัวบริษัทนั้นด้วย ซึ่งควรติดตามข้อมูลให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอเพื่อดูแนวโน้มของบริษัทว่ายังดีอยู่หรือไม่ ถ้าเราเข้าใจหุ้น เราก็จะลงทุนได้อย่างมั่นใจ


สำหรับลูกค้าธนาคารกสิกรไทยที่สนใจเริ่มลงทุนในหุ้นรายตัว สามารถเปิดบัญชีลงทุนหุ้นกับ บล.กสิกรไทย ด้วยตนเองได้ง่ายและสะดวกผ่าน K PLUS อนุมัติไว พร้อมรับข้อมูลบทวิเคราะห์และเครื่องมือการลงทุน รวมถึงไม่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการเทรด


สนใจคลิก https://www.kasikornsecurities.com/th/open-account/kplus * โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก บล.กสิกรไทย (KSecurities)





คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ผู้เขียน

K WEALTHกานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT

Back to top