หากใครกำลังมองหาทางเลือกเก็บออมไปพร้อมกับลดหย่อนภาษี ในทางเลือกที่เงินต้นรู้สึกปลอดภัย อยากมั่นใจว่าเมื่อครบกำหนดเงินต้นจะยังอยู่ครบ บทความนี้ K WEALTH มีทางเลือกดีๆ แบบโดนใจคนสายเซฟ อย่างแน่นอน
I: รู้จักทางเลือกเสี่ยงต่ำ แบบช่วย Safe เงินต้น
1) ประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เป็นทางเลือกลดหย่อนภาษีที่เสี่ยงต่ำที่สุด เพราะมีสัญญาจ่ายเงินคืน ทั้งจำนวนเงินและเวลาที่แน่นอน อย่าง “ประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3 ซื้อได้เองบน KPLUS” ที่หากเลือกจ่ายเบี้ยปีละ 10,000 บาท สัญญาจ่ายเบี้ย 3 ปี รวมเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 30,000 บาท จะได้เงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มต้นที่ 10,000 บาท พร้อมกับได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ในจำนวนที่แน่นอน ได้แก่
• เงินคืนปีละ 3% ของเงินเอาประกันเริ่มต้น (10,000 บาท) หรือปีละ 300 บาท ตั้งแต่สิ้นปีที่ 1 ถึงสิ้นปีที่ 10 รวมเป็น 30% ของเงินเอาประกันเริ่มต้น หรือ 3,000 บาท
• เงินก้อนครบสัญญา 309% ของเงินเอาประกันเริ่มต้น หรือ 30,900 บาท
• รวมผลประโยชน์ตลอดสัญญา 33,900 บาท (หรือ 339%ของเงินเอาประกันเริ่มต้น) หรือผลประโยชน์สุทธิหลังหักเบี้ยประกันรวมที่จ่ายไป อยู่ที่ 3,900 บาท
หากเลือกจ่ายเบี้ยมากขึ้น เช่น ปีละ 100,000 บาท จะได้ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญาสูงขึ้นเป็น 339,000 บาท คิดเป็นผลประโยชน์สุทธิหลังหักเบี้ยประกันรวมที่จ่ายไป อยู่ที่ 39,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงหรือผันผวนตามสภาวะเศรษฐกิจ ทิศทางดอกเบี้ย หรือตลาดหุ้น ฯลฯ ที่สำคัญซื้อได้ง่ายและทันทีบนแอป K PLUS โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ ซึ่งหากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 67 สามารถซื้อได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. เวลา 23.30 น. (ต่างจากกองทุนที่ต้องซื้อภายในเวลาทำการกองทุนของวันที่ 30 ธ.ค. 67)
2) กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น K-SF-SSF และ KSFRMF
กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น มีจุดเด่นตรงที่ความผันผวนของราคาต่ำ และราคามีแนวโน้วค่อยๆ ปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ณ 4 พ.ย. 67 ของกองทุน K-SF-SSF และ KSFRMF อยู่ที่ 2.22%ต่อปี และ 2.68%ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือน ณ ปัจจุบันที่ 1.60%ต่อปี (ประกาศดอกเบี้ย 6 พ.ย. 67)
หากพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนของกองทุน K-SF-SSF นับตั้งแต่ 21 ก.พ. 65 (วันที่กองทุนจัดตั้งครบ 3 เดือน) และผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ของกองทุน KSFRMF นับตั้งแต่ 4 ม.ค. 60 จนถึงปัจจุบัน ณ 4 พ.ย. 67 พบว่าไม่มีวันใดเลยที่ผลการดำเนินงานย้อนหลังดังกล่าวขาดทุน สะท้อนให้เห็นว่าที่ผ่านมาหากถือกองทุนดังกล่าวได้ตั้งแต่ 3-12 เดือนขึ้นไป นักลงทุนจะไม่เห็นผลการขาดทุนเลย ดังนั้นด้วยผลตอบแทนย้อนหลังที่เติบโตมั่นคงค่อยเป็นค่อยไปแบบนี้ จึงเหมาะกับการลงทุนระยะยาวอย่างกองทุน SSF ที่ต้องถือลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี และกองทุน RMF ที่ต้องถือและลงทุนจนถึงอายุ 55 ปี (และไม่น้อยกว่า 5 ปี) เมื่อถึงเวลาครบกำหนด เชื่อได้ว่าจะสามารถขายคืนได้โดยอาจไม่เห็นผลขาดทุนเลย
3) กองทุนตราสารหนี้ภาครัฐ K-ESGSI-ThaiESG และ KGBRMF
ตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจหรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ฯลฯ ถือเป็นตราสารหนี้ที่อันดับความน่าเชื่อถือสูงสุด และน่าเชื่อถือกว่าบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ทุกบริษัทภายในประเทศด้วย เนื่องจากเป็นตราสารหนี้ที่ไม่มีความเสี่ยงที่ผู้ออกซึ่งเป็นภาครัฐจะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้น ดังนั้นกองทุน K-ESGSI-ThaiESG และ KGBRMF ที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ภาครัฐ จึงถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูล ณ 30 ก.ย. 67 K-ESGSI-ThaiESG มีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 84.65% และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 21.94% ส่วน KGBRMF มีการลงทุนในพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 44.79% และพันธบัตรรัฐบาล 31.49% โดยระดับความเสี่ยงของกองทุนทั้งสองอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งเสี่ยงต่ำกว่ากองทุนตราสารหนี้ทั่วไปที่มีความเสี่ยงอยู่ระดับ 4 (ความเสี่ยงสูงสุดคือระดับ 8)
โดย ณ 4 พ.ย. 67 ผลการดำเนินงานย้อนหลังนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน K-ESGSI-ThaiESG อยู่ที่ 3.10% (จัดตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 67) และผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ของกองทุน KGBRMF อยู่ที่ 4.09%ต่อปี ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือน ณ ปัจจุบันที่ 1.60%ต่อปี (ประกาศดอกเบี้ย 6 พ.ย. 67)
II: เริ่มต้น ทางเลือกไหนดี
ทุกทางเลือกการลดหย่อนภาษี ล้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทั้งหมด หากเป็นคนที่ทำงานประจำ มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัสทั้งปีเกิน 1.22 ล้านบาท และมีเงินเก็บเพียงพอในการออมหรือลงทุนระยะยาวเพื่อลดหย่อนภาษีก็สามารถลงทุนทุกทางเลือกให้เต็มสิทธิเพื่อลดภาษีลงให้มากที่สุดได้ เช่น กองทุน K-ESGSI-ThaiESG จำนวน 3 แสนบาท กองทุน KGBRMF/KSFRMF จำนวน 3 แสนบาท กองทุน K-SF-SSF จำนวน 2 แสนบาท และประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3 เบี้ย 1 แสนบาท (สมมติไม่มีการใช้สิทธิลดหย่อนอื่นก่อนหน้านี้) แต่หากจำเป็นต้องเลือกใช้สิทธิแค่บางทางเลือก K WEALTH มีคำแนะนำในการเลือกใช้สิทธิ ดังนี้
• คนที่เคยลงทุนกองทุน RMF มาก่อน: แนะนำลงทุนกองทุน RMF อย่าง KGBRMF/KSFRMF ให้เต็มสิทธิเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะใช้สิทธิทางเลือกอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินสะสมเพียงพอไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ
• คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป: แนะนำลงทุนกองทุน RMF อย่าง KGBRMF/KSFRMF เป็นลำดับแรก เนื่องจากเมื่อลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ (และครบ 5 ปีเต็ม) ในปีถัดไปสามารถขายคืนกองทุน RMF ได้ทั้งหมดที่เคยซื้อมา แม้มีบางส่วนที่เพิ่งลงทุนไปก็ตาม
• คนที่อายุไม่ถึง 50 ปี: แนะนำกองทุน ThaiESG อย่าง K-ESGSI-ThaiESG เนื่องจากเงินที่ลงทุนไป ถือครองเพียง 5 ปีเต็มเท่านั้น สั้นกว่าการลงทุนกองทุน SSF หรือการออมเงินผ่านประกันชีวิต
• คนที่มีเป้าหมายต้องการใช้เงินในจำนวนที่ชัดเจน: เช่น ในอีก 10-11 ปีข้างหน้า หรือต้องการรับผลตอบแทนที่แน่นอนตามสัญญา ก็สามารถใช้สิทธิในประกันชีวิต อย่างประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3 ได้
• คนที่ต้องการเริ่มต้นลงทุน: หรือยังอยู่ในระหว่างศึกษาการลงทุนกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุน K-SF-SSF ได้ โดยหลังจากที่ลงทุนไปแล้ว ในวันใดที่มั่นใจกับการลงทุน สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก SSF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ ไปเป็น SSF ที่เป็นกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสมในภายหลัง ก่อนครบเงื่อนไขถือครองได้ อีกทั้งหากมีการลงทุนกองทุน RMF หรือ ThaiESG เต็มสิทธิแล้ว ก็ยังสามารถใช้สิทธิกองทุน SSF และประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีก
III: สิ่งต้องรู้ ของทางเลือกเซฟๆ
• รายได้ต่างกัน แม้ใช้สิทธิเท่ากัน แต่เซฟภาษีได้ไม่เท่ากัน เช่น ลงทุนกองทุน RMF/ThaiESG/SSF หรือจ่ายเบี้ยประกันปีละ 10,000 บาท สำหรับคนเงินเดือน 30,000 บาท จะเซฟภาษีได้ 500 บาท ในขณะที่คนเงินเดือนสูงขึ้น เช่น 50,000 บาท 70,000 บาท และ 100,000 บาท จะเซฟภาษีได้ 1,000 บาท 1,500 บาท และ 2,500 บาท ตามลำดับ ขึ้นกับฐานภาษีแต่ละคน
• ทางเลือกเซฟ ผลตอบแทนมักไม่สูงมาก แต่หากแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงขึ้น แบบพอร์ตโดยรวมไม่เสี่ยงขาดทุน ก็ถือเป็นการทดลองสิ่งใหม่ๆ เผื่อเจอทางเลือกที่ถูกใจ แถมได้ผลตอบแทนมากกว่าที่เคย อย่างเช่น
o แบ่งเงินลงทุนในกองทุน SSF: แบ่งลงทุนกองทุน K-GINCOME-SSF ในสัดส่วน 11% ซึ่งเป็นกองทุนผสมที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น และ K-SF-SSF อีก 89% ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน K-GINCOME-SSF กองทุนนี้เคยขาดทุนสูงสุด 17.65% (ณ 30 ก.ย. 67) การแบ่งเงินไปลงทุน 11% ในภาพรวมเงินลงทุน SSF จะขาดทุนเพียง 1.98% โดยผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ที่ 2.25%ต่อปี (ณ 30 ต.ค. 67) ของกองทุน K-SF-SSF ที่ลงทุน 89% จะมาชดเชยผลขาดทุนดังกล่าวได้ อีกทั้ง K-GINCOME-SSF ก็ยังคงมีโอกาสให้ผลตอบแทน เช่น ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ณ 30 ต.ค. 67 ของกองทุน K-GINCOME-SSF อยู่ที่ 14.68%ต่อปี หรือคิดเป็นผลตอบแทน 1.69%ต่อปี ของเงินลงทุนรวมในกองทุน SSF
o แบ่งเงินลงทุนในกองทุน RMF: แบ่งลงทุนกองทุน KWPBALRMF ในสัดส่วน 50% ที่เป็นกองทุนผสมที่ลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก และ KSFRMF อีก 50% ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน KWPBALRMF กองทุนนี้เคยขาดทุนสูงสุด 2.67% (ณ 30 ก.ย. 67) ซึ่งการแบ่งเงินไปลงทุน 50% ในภาพรวมเงินลงทุน RMF จะขาดทุนเพียง 1.34% โดยผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี ที่ 2.68%ต่อปี (ณ 4 พ.ย. 67) ของกองทุน KSFRMF ที่ลงทุน 50% จะมาชดเชยผลขาดทุนดังกล่าวได้ อีกทั้ง KWPBALRMF ก็ยังคงมีโอกาสให้ผลตอบแทน เช่น ผลการดำเนินงานย้อนหลังนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ณ 4 พ.ย. 67 ของกองทุน KWPBALRMF (จัดตั้ง 21 พ.ย. 66) อยู่ที่ 6.02%ต่อปี หรือคิดเป็นผลตอบแทน 3.01%ต่อปี ของเงินลงทุนรวมในกองทุน RMF
ทางเลือกลดหย่อนภาษีแบบ Safe เงินต้น ไม่เพียงช่วยประหยัดภาษี แต่ยังมอบความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือกองทุนตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ วันนี้คุณสามารถเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของคุณได้ทันทีบนแอป K PLUS
หมายเหตุ:
• ระดับความเสี่ยงกองทุน o K-SF-SSF, KSFRMF ความเสี่ยงระดับ 3
o KGBRMF, K-ESGSI-ThaiESG” ความเสี่ยงระดับ 4
o K-GINCOME-SSF, KWPBALRMF ความเสี่ยงระดับ 5
• นโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
o KSFRMF, KGBRMF: ไม่มีการลงทุนต่างประเทศ
o K-ESGSI-ThaiESG, K-SF-SSF: ป้องกันความเสี่ยง 100% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
o K-GINCOME-SSF: ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน
o KWPBALRMF: ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
• ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการรับเงินค่าขายคืน T+5 หมายถึง จะได้รับเงินค่าขายคืน 5 วันทำการถัดจากวันที่ทำรายการ (T+5) เช่น ขายคืนวันจันทร์ จะได้รับเงินค่าขายคืนวันจันทร์ของสัปดาห์ถัดไป (กรณีไม่มีวันหยุดอื่น นอกจากเสาร์-อาทิตย์))
o K-SF-SSF, KSFRMF: T+1
o K-ESGSI-ThaiESG, KGBRMF: T+2
o K-GINCOME-SSF: T+4
o KWPBALRMF: T+5
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”, “ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”