19 มีนาคม 2564 4 นาที

หลายคนในช่วงที่ Work From Home คงเคยใช้บริการสั่งอาหารมาส่งถึงที่บ้านกันบ้าง และจะบ่นกับตัวเองว่า ทำไมน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แถมยังไม่ค่อยอยากไปออกกำลังกาย นอกบ้าน เนื่องจากค่าฝุ่น PM 2.5 ที่สูงขึ้นอีก

การดูแลสุขภาพทำได้น้อยลงในยุคนี้ จากสถิติ 5 โรคร้ายของคนไทย คือ

  1. โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นอันดับ 1 ติดต่อกัน 5 ปีซ้อน
  2. โรคหลอดเลือดหัวใจ มาจากพฤติกรรมการกินอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย
  3. โรคปอดเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่
  4. โรคความดันโลหิตสูง
  5. โรคเบาหวาน

การทำประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรงอาจจะเป็นทางออกสำหรับการปกป้องสุขภาพ แล้วประกันเหล่านี้จะช่วยอะไรได้บ้าง เรามาดูกัน

เตรียมพร้อมกับค่ารักษา

เริ่มได้จากการเตรียมพร้อมกับค่ารักษาด้วยประกันสุขภาพ เป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ผ่านการชำระเบี้ยประกัน ซึ่งลักษณะคุ้มครองครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง

  1. มีการรักษาตัวแบบผู้ป่วยนอก (OPD) จะเหมาะกับการรักษาแบบไม่นอนโรงพยาบาลสามารถพบแพทย์และรับยากลับบ้านได้
  2. เข้ารักษาตัวแบบผู้ป่วยใน (IPD) จะเหมาะกับการรักษาที่ต้องนอนโรงพยาบาลไม่ต่ำกว่า 6 ชม. รวมการรักษาทั้งค่าห้อง ค่าบริการพยาบาล ค่าแพทย์ ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ
  3. ชดเชยรายได้ เป็นการคุ้มครองรายได้ระหว่างที่รักษาตัวในโรงพยาบาล
  4. โรคร้ายแรง เป็นการรักษากลุ่มโรคร้ายที่มักต้องใช้เวลาการรักษาต่อเนื่องยาวนาน และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ

การเบิกเคลมจะเลือกได้ 2 แบบ คือ แบบเหมาจ่ายกับแบบแยกค่าใช้จ่าย 2 แบบนี้ต่างกันยังไง ทำความเข้าใจง่ายๆ

แบบเหมาจ่ายคือ จะเบิกค่าใช้จ่าย ค่ารักษา ค่าหมอ ค่ายา ค่าห้อง ค่าอะไรก็ได้ เบิกได้หมด แต่ห้ามเกินวงเงินที่มี แบบนี้มักสะดวกตอนใช้ แต่เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายอาจจะสูงกว่าแบบแยกค่าใช้จ่าย

ส่วนแบบแยกค่าใช้จ่าย จะมีการกำหนดจำนวนเงินที่สามารถใช้ได้ในแต่ละรายการ เช่น ค่าห้อง เบิกได้คืนละ 2,000 บาท ค่าอาหาร เบิกได้วันละ 500 บาท เป็นต้น ข้อดีของแบบนี้ คือ ค่าเบี้ย จะถูกกว่า แต่ก็ต้องมาลุ้นจะเบิกค่ารักษาได้ทั้งหมดหรือเปล่า

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล นอนพักรักษาตัวไป 2 คืน จะมีค่าห้อง ค่าบริการพยาบาล ค่าแพทย์ ในใบแจ้งค่าใช้จ่าย


ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย จะทำงานง่ายมาก คือ ยอดรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ต้องไม่เกินจำนวนเงินตามวงเงินที่กำหนด ถ้าเกินต้องออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเอง

ในขณะที่ประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายจะกำหนดหมวดค่าใช้จ่าย มาให้ว่า ค่าห้อง ได้คืนละ 2,000 บาท ถ้าไปพักรักษาตัวที่มีค่าห้องสูงกว่า 2,000 บาท ก็จะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล ค่าแพทย์ แต่ละหมวดค่าใช้จ่าย มีกำหนดสูงสุดไว้ที่เท่าไหร่

เสริมอีกชั้น สำหรับโรคร้ายแรง

แบบเหมาจ่าย คือ จะเบิกค่าใช้จ่าย ค่ารักษา ค่าหมอ ค่ายา ค่าห้อง ค่าอะไรก็ได้ เบิกได้หมด แต่ห้ามเกินวงเงินที่มี แบบนี้มักสะดวกตอนใช้ แต่เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายอาจจะสูงกว่า แบบแยกค่าใช้จ่าย

นอกจากประกันสุขภาพ ที่ใช้ระหว่างรักษาตัวแล้ว ซึ่งบางแบบประกันสุขภาพจะคุ้มครองค่ารักษา โรคร้ายแรงด้วย เช่น การรักษา Targeted therapy สำหรับโรคมะเร็ง หรือสามารถเลือกซื้อ เฉพาะประกันโรคร้ายแรงแยกได้ มาถึงตรงนี้

หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า ควรจะเลือกซื้อเพิ่มเติมประกันโรคร้ายแรงดีไหม การเลือกซื้อ ประกันในวันที่ยังไม่เป็นโรค มีโอกาสได้รับประกันสูงกว่า ในวันที่เป็นโรคแล้ว อาจจะพิจารณา จากโรคร้ายที่มาตามพันธุกรรม เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ถ้าใครในครอบครัวเคยมีประวัติเป็น แสดงว่า มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามพันธุกรรมด้วย การทำประกันเตรียมไว้ก่อน ย่อมดีกว่า และจะเลือกประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม อย่างไร อย่าดูที่เบี้ยประกันถูกอย่างเดียว ต้องดูว่า คุ้มครอง จ่าย จบ เมื่อไร โดยส่วนใหญ่จะกำหนดการจ่ายคืนสินไหม 2 ช่วง คือ ช่วงตรวจพบ-ตรวจเจอ แล้วจ่าย เพื่อนำไปรักษาตัว กับ ช่วงเป็นโรคในระยะท้ายๆ แล้วจ่าย ซึ่งทั้ง 2 ช่วง เบี้ย และการนำเงินสินไหมไปใช้ทำอะไร จะตอบโจทย์ไม่เหมือนกัน

จะเห็นว่า การป้องกันเรื่องสุขภาพ ดีที่สุด ควรเริ่มจากพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย สม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำทุกปี แต่ก็ไม่การันตี 100% ว่าห้ามป่วย จะให้ดี

การมีประกันสุขภาพ รวมไปถึง ประกันโรคร้ายแรง จะถือเป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล มีติดไว้อุ่นใจแน่นอน

โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล

บทความโดย ทีม K-Expert ที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย

แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำรวจว่าคุณ
เป็นนักลงทุนแบบไหน
คลิก

ให้เราแนะนำตัวเลือกการลงทุนที่เหมาะกับคุณ

ดูเพิ่มเติม