19 มีนาคม 2564 4 นาที

ช่วงนี้ Theme ลงทุนหุ้น Technology หรือเรียกสั้นๆว่า หุ้น Tech ได้รับความนิยมมากขึ้น จากวิถีชีวิตแบบ New Normal ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพา Technology ในการดำรงชีวิตมากขึ้นและทำไมต้องเป็นหุ้นต่างประเทศ

เหตุผลนึง คือ ขนาดของหุ้นกลุ่ม Technology เทียบกับขนาดของตลาดหุ้นทั้งหมดในต่างประเทศมีสัดส่วนสูงกว่าในไทยไม่ว่าจะเป็น หุ้น Tech ในสหรัฐฯ หรือในจีน และอีกเหตุผลคือราคาหุ้นกลุ่ม Tech ต่างมีผลประกอบการโดดเด่นกว่าตลาด (Outperform) เช่น ดัชนีหุ้น Tech ในสหรัฐฯ อย่างดัชนี Nasdaq แค่ช่วงต้นปีก็ทำสถิติ New High ทะลุ 14,000 จุด ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อหุ้น Tech ได้ประโยชน์จากวิถีแบบ New Normal จึงไม่แปลกที่ตลาดต่างประเทศจะมีผลตอบแทน(ย้อนหลัง)ดี และคนสนใจลงทุนมากขึ้น

ทางเลือกในการลงทุนในต่างประเทศ

ทางเลือกในการลงทุนในต่างประเทศ มี 2 ทางเลือกใหญ่ๆ คือ

  1. ลงทุนเอง (เปิดบัญชีเทรดหุ้นแบบ Offshore) เราลงทุนหุ้นต่างประเทศรายตัวได้ แต่ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นหลักแสนเงื่อนไขแล้วแต่บริษัทหลักทรัพย์ และ
  2. ลงทุนผ่านกองทุนรวมให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยจัดการ แบ่งเป็นลงทุนผ่าน Feeder Fund คือ กองทุนนำเงินของเราไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศหลัก

เพียง 1 กองทุน กับ ลงทุนผ่าน Fund of Funds คือกองทุนนำเงินของเราไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากกว่า 1 กองทุน เริ่มต้นง่ายๆเช่นเดียวกับการเปิดบัญชีกองทุนรวมทั่วไปซึ่งกองทุนรวมต่างประเทศมีให้เลือกมากมาย แล้วจะมีวิธีเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศอย่างไร ลองตอบคำถาม 4 ข้อนี้ดูก่อน

1. เลือก Theme การลงทุนอะไร

ส่วนใหญ่จะมี Theme การลงทุนเป็น 2 แบบ คือ

  1. Theme ตามประเทศที่จะลงทุน เช่น กลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย Asia Opportunity ที่มีโอกาสเติบโตได้สูงกว่าประเทศทวีปอื่น, กลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่เติบโตสูง ซึ่งจะเรียกว่ากลุ่มประเทศ Emerging Market
  2. Theme ตามกลุ่มหุ้นที่จะลงทุน เช่น Sector หุ้น Technology (ซึ่งมีทั้งในสหรัฐฯ และจีน), Sector หุ้นกลุ่ม Healthcare ที่เน้นการดูแลสุขภาพ ยา โรงพยาบาล โดยมีกำลังซื้อจากผู้สูงอายุที่จะมีมากขึ้นในอนาคตอย่างน้อยที่สุด การเลือก Theme การลงทุนจะช่วยกำหนดประเทศ หรือกลุ่มหุ้นที่จะลงทุนได้

2. กองทุนหลักคือกองทุนอะไร

เลือกลงทุนประเทศเดียวกัน หรือหุ้นกลุ่มเดียวกันอาจได้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน เพราะสัดส่วนจากการลงทุนในกองทุนหลักต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุน K-CHINA และกองทุน K-CCTV (ทั้ง 2 กองทุน ไม่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Tech) ซึ่งลงทุนในประเทศจีนเหมือนกัน

แต่จะได้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน เนื่องจากลงทุนในกองทุนหลักแตกต่างกัน โดย K-CHINA ลงทุนในกองทุนหลัก JPMorgan Funds – China Fund, Class JPM China I (acc) – USD เน้นลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่ (A-Share) และในฮ่องกง (H-Share) ในขณะที่ K-CCTV ลงทุนแบบ Fund of Funds กระจายลงทุนใน 2 กองทุนต่างประเทศ คือ กองทุน UBS (Lux) Investment SICAV – China A Opportunity (USD)​ และกองทุน Schroder International Selection Fund – China A, Class A Accumulation USD​​ ซึ่งเน้นลงทุน ในจีนแผ่นดินใหญ่ (A-Share) ส่งผลให้ผลตอบแทนของกองทุน K-CHINA และ K-CCTV มีผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน


ถึงแม้จะลงทุนในประเทศจีนเหมือน
กัน จะเห็นว่า กองทุนหลัก จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่บอกที่มาของผลตอบแทนได้

3. กองทุนหลักลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง

Brand ระดับโลกบางตัว เช่น Tesla บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ Moderna บริษัทหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีน Covid 19 จะเป็นบริษัทที่กองทุนหลักอย่าง Baillie Gifford Positive Change Fund กองทุนหลักของกองทุน K-CHANGE ลงทุนอยู่ เราขอดูได้ที่สัดส่วนบริษัทที่กองทุนหลักถือครองอยู่ (Top 10 Holders ของกองทุน) ได้ที่ Fund Fact Sheet จะเลือกลงทุนกองทุนต่างประเทศ อาจจะเริ่มจากบริษัทที่เราอยากลงทุนก็ได้ แล้วไปดูสัดส่วนบริษัทที่กองทุนหลักถือครอง ถ้าบริษัทเหล่านั้นผลประกอบการดีจะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีได้

4. นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบใด

การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมีอยู่ 3 ระดับ คือ ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด (Fully Hedge) เหมาะในช่วงที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นระดับกลางๆ คือ ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน (Partial Hedge) และไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้เลย (Unhedge) นอกจาก 3 ระดับ จะมีให้สิทธิผู้จัดการกองทุนพิจารณาว่า จะ Hedge ค่าเงินมากหรือน้อยเพียงใดก็ได้หรือใช้ดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

เพื่อลดความกังวลในความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะดีกว่าวันนี้ ใครตอบคำถาม 4 ข้อนี้ได้จะช่วยให้เลือกกองทุนต่างประเทศในดวงใจได้ เมื่อสนใจอยากจะซื้อกองทุนต่างประเทศในแบบ New Normal ทำได้เลยผ่าน App อย่าง Finvest กับ 16 บลจ.ชั้นนำที่จะช่วยให้เริ่มต้นลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายๆ

สำหรับมือใหม่แนะนำให้เริ่มจากป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินไว้ทั้งหมดเพื่อมุ่งเน้นไปที่ผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว

ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความโดย ทีม K-Expert ที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย
แชร์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สำรวจว่าคุณ
เป็นนักลงทุนแบบไหน
คลิก

ให้เราแนะนำตัวเลือกการลงทุนที่เหมาะกับคุณ

ดูเพิ่มเติม