จ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไร จ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไร

จ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไร ?

ในฐานะผู้ขอสินเชื่อ เมื่อได้ใช้วงเงินสินเชื่อไปสักระยะ หากมีการจัดการหนี้ไม่ได้ อาจประสบปัญหา “หมุนเงินไม่ทัน” หรือบางคนเรียกว่า “ชักหน้าไม่ถึงหลัง” จนในที่สุดทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ สำหรับสัญญาณที่จะบอกให้รู้ว่าเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวแล้วมีอะไรบ้าง

หากจ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไรดี
  • เงินก้อนหรือเงินกู้ และสินเชื่อเงินด่วน (Xpress Loan) เริ่มผ่อนชำระไม่ได้ หรือต้องผ่อนชำระหลายๆ ครั้ง จนครบตามเงื่อนไขในแต่ละงวด
  • เงินกู้หมุนเวียนหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี (O / D) ใช้เต็มวงเงินจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยอย่างเดียว ส่วนบัตรเครดิต หรือบัตรเงินด่วน (Xpress Cash) ใช้เต็มวงเงิน และจ่ายขั้นต่ำอย่างเดียวมาโดยตลอดเช่นกัน
  • กดเงินจากบัตรเครดิต เพื่อนำมาจ่ายหนี้สินอื่นๆ หรือจ่ายหนี้บัตรเครดิตใบอื่นๆ สำหรับบัตรเครดิตถูกออกแบบเพื่อใช้รูดซื้อสินค้าหรือบริการ หากนำมาใช้กดเงินสดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการกดเงิน ซึ่งต่างจากบัตรเงินด่วน (Xpress Cash) ที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว
  • ยืมเงินจนเป็นอาชีพ ยืมทั้งคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทและไม่สนิท ทำให้ติดหนี้คนไปทั่ว จนกลายเป็นสร้างความเดือดร้อนให้คนที่ถูกยืมด้วย
  • สุดท้ายต้องหันไปกู้เงินนอกระบบ และมีความเสี่ยงจากการถูกตามหนี้โหด และ / หรือถูกประจาน จนทำให้ต้องเข้าสู่วงจรอุบาทว์เต็มตัว จนกลายเป็นหนี้ไม่จบสิ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม : หากคิดว่าเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหว เช่น มีภาระผ่อนหนี้เกิน 50% ของรายได้ เช่น รายได้ 20,000 บาท มีภาระผ่อนเกิน 10,000 บาท ควรหยุดสร้างหนี้เพิ่ม หรืองดใช้บัตรเครดิต / บัตรเงินด่วน จนกว่าจะควบคุมรายจ่ายไม่เกินรายรับ ยกเว้น ถ้าการกู้เพิ่มนั้น จะช่วยให้เพิ่มรายรับ และไปต่อได้

หากจ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไรดี

หลายๆ คนเมื่อเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวแล้วมักจะเกิดความรู้สึกว่ามืดแปดด้าน หันไปทางไหนก็เจอแต่ทางตัน บางคนต้องหันไปขอใช้บริการกูรูตามสังคมออนไลน์ต่างๆ ซึ่งก็จะมีคำแนะนำที่ดี คือทำให้หาทางออกได้ แต่หลายๆ ครั้งก็จะมีคำแนะนำที่ทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ไปกว่าเดิม เพราะสถานการณ์ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ดังนั้น หากจ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไรดี วันนี้จะขอพาผู้กู้ที่จ่ายหนี้ไม่ไหวไปหาทางออกร่วมกัน ดังนี้

หากจ่ายหนี้ไม่ไหวควรทำอย่างไรดี
  • เตรียมข้อมูลรายรับ-รายจ่าย ทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของผู้กู้และครอบครัว เพื่อจะได้นำมาวางแผนได้อย่างถูกต้อง ที่ผ่านมา พบว่า ผู้กู้หลายรายปกปิดข้อมูล เช่น ข้อมูลหนี้สิน หรือทรัพย์สิน เป็นต้น ทำให้การวางแผนผิดพลาด ไม่สามารถแก้ไขหนี้ได้ตามที่ตกลงกันไว้
    • เปิดใจเข้ามาคุยกับธนาคารที่เป็นหนี้ โดยเล่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ห้ามปกปิดข้อมูล เพื่อที่จะได้หาทางออกร่วมกัน เช่น
    • รีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมดเป็นเงินกู้ก้อนเดียว เพื่อจะได้ผ่อนชำระจากเงินกู้หลายๆก้อน ให้เป็นเงินก้อนเดียว และจะได้ผ่อนชำระทางเดียว จะช่วยลดภาระการผ่อนหนี้ลงได้มาก หรือแปลงหนี้บัตรเครดิต หรือเงินกู้หมุนเวียน เป็นเงินกู้ แล้วผ่อนชำระเป็นรายงวดแทน หรือ
    • ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ขอปรับลดเงื่อนไขการผ่อน หรือขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยอย่างเดียวช่วงเวลาหนึ่ง เป็นต้น เพื่อจะได้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่เงินขาดมือหรือช็อตเงิน
    • ปรับลดค่าใช้จ่ายหรือหารายได้เพิ่ม เพื่อให้มีกระแสเงินเข้ามาหมุนเวียนในกิจการ หรือเพื่อนำมาใช้จ่ายในครอบครัว เช่น
    • ปรับลดภาระค่าใช้จ่ายบางอย่างลงมา แต่อาจจะมีผลกระทบกับไลฟ์สไตล์บ้าง เช่น ปรับลดโปรโมขั่นมือถือหรืออินเตอร์เน็ต หรือปรับเปลี่ยนสไตล์การดื่มกาแฟ หรือปรับลดการทานข้าวนอกบ้าน เป็นต้น หลายๆ คนที่รู้จักจะใช้วิธีการพกข้าวมาทานที่ทำงานแทน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก
    • เพิ่มรายได้โดยการขายของที่ไม่ได้ใช้แล้ว พวกของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้า, รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น หรือพวกเครื่องมือ เครื่องใช้บางประเภท
    • เพิ่มรายได้โดยขายทรัพย์สินหรือของสะสมบางอย่างออกไป เช่น ที่ดิน, บ้าน, ตึกแถว, คอนโด, รถยนต์, รถมอเตอร์ไซด์, นาฬิกา และพระเครื่อง เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้อาจจะดูว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ทำยากที่สุด เพราะหลายๆ คนมักจะทำใจไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นกับว่าจะตัดสินใจอย่างไร จะยอมแบกหนี้ต่อไป หรือยอมขายของที่รักออกมา เพื่อจะได้ลดภาระหนี้ลง

ข้อควรรู้ : การที่ขอกู้เงินได้ แสดงว่าคนกู้มีเครดิตที่ดี เมื่อได้รับเงินกู้แล้ว ก็ต้องผ่อนชำระให้ตรงตามเงื่อนไข เป็นการรักษาเครดิตที่ดีเอาไว้แบบง่ายๆ หากในอนาคตจำเป็นต้องใช้เงินสามารถกู้ใหม่ได้

หากคิดว่าจ่ายหนี้ไม่ไหว ขอให้รีบมาติดต่อกับธนาคารที่เป็นหนี้ โดยรวบรวมข้อมูลรายรับ-รายจ่าย ทรัพย์สินและหนี้สินให้ครบถ้วน และเปิดใจคุยกับธนาคาร เพื่อจะได้วางแผนแก้ไขหนี้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมที่สุด สำหรับช่องทางการติดต่อบมจ.ธนาคารกสิกรไทย สามารถสอบถามได้ที่ LINE @kbanklive หรือ K-Contact Center 02-8888888 กด 8 กด 1 กด 4 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อผ่านสาขาของธนาคารที่สะดวกได้เช่นกัน หากมีหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันกับหลายสถาบันการเงิน สามารถใช้บริการของคลีนิคแก้หนี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.debtclinicbysam.com/

สนใจบทความที่ช่วยให้คุณรู้จริงเรื่องกู้

คลิกเลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

back to top