K WEALTH / บทความ / Wealth Management / มั่นใจได้อย่างไร ว่าแผนหลังเกษียณ ดีพอแล้ว
19 เมษายน 2565
4 นาที

มั่นใจได้อย่างไร ว่าแผนหลังเกษียณ ดีพอแล้ว


​​“

• ปี 2564 คนไทย มีอัตราการเกิดน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี มีโอกาสที่วัยแรงงานจะลดลง และกระทบต่อรายได้ภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต


• การดูแลค่าใช้จ่ายสุขภาพของภาครัฐ ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพึ่งพาตนเอง ทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและเงินใช้หลังเกษียณ


• รวยก่อนแก่ สร้างได้ด้วย การเตรียมค่ารักษาพยาบาลด้วยประกันสุขภาพ และเตรียมเงินใช้หลังเกษียณ หากเสียภาษีบุคคลธรรมดา แนะนำออมกองทุน/ประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน SSF RMF ประกันชีวิต ประกันบำนาญ หากไม่เสียภาษี ก็ออมในรูปแบบทั่วไป ให้เหมาะกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้


• การเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งความคุ้มครองในโรคที่ยังไม่เป็น ดีกว่า รอให้เป็นแล้วไม่คุ้มครอง และเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ระยะเวลาการออมมากพอที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้ จะมีผลกับเป้าหมายมากกว่า จำนวนเงินต้น หรือผลตอบแทนจากการลงทุน



ในช่วงต้นปี 65 ที่ผ่านมา มีข้อมูลอัตราการเกิด (อยู่ที่ 544,570 คน) น้อยกว่าอัตราการเสียชีวิต (อยู่ที่ 563,650 คน) ในปี 64 เป็นครั้งแรกของไทย ทำให้ข้อมูลเรื่องนี้ถูกส่งต่อในโลกโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สะท้อนความสำคัญของข้อมูลนี้ คือ วันนี้ในฐานะวัยทำงาน และเสียภาษีให้รัฐไปพัฒนาประเทศ ส่วนหนึ่งคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลจากภาครัฐในวันที่หยุดทำงาน (เกษียณ) ในเมื่อสัดส่วนวัยทำงานลดลงเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ การหวังพึ่งภาครัฐดูแลจะเป็นไปได้ยากขึ้น ถ้าจะหันมาเตรียมดูแลตัวเองเรื่องเงินกันตั้งแต่วันนี้ จะเตรียมตัวอย่างไรกันบ้าง


ผลกระทบจากอัตราเกิดน้อยกว่าอัตราเสียชีวิตในปี 64​​​​​ ​ ​

1.วัยแรงงานมีโอกาสปรับตัวลดลงเมื่อเทียบผู้สูงวัย ​

จะเห็นได้จากคาดการณ์ของ www.healthdata.org/t​hailand​ ​คาดการณ์ว่า ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) ประชากรไทยรวม จะลดลงเหลือ 34.7 ล้านคน (ลดลงประมาณ 50% นับจากประชากรรวมในปี 2559 ที่มีประชากรไทยรวม 70.6 ล้านคน) ในขณะที่ผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น (ตามรูป)​


2. คาดการณ์ว่า ผู้สูงอายุ จะต้องพึ่งพารายได้จากตนเองมากขึ้น ​

เห็นได้จาก ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2557 พบว่า ผู้สูงอายุมีรายได้หลักจากบุตรหลาน คิดเป็น 36.7% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่รายได้หลักจากภาครัฐ เช่น เบี้ยยังชีพ หรือเงินบำเหน็จบำนาญ คิดเป็น 19.7% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เมื่อดูจากข้อมูลสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ในปี 2565* อยู่ที่ 18.3% ทำให้งบประมาณของภาครัฐเพื่อดูแลผู้สูงอายุ สูงขึ้นไปด้วย และแหล่งที่มาของงบประมาณ ก็คือ ภาษีที่จัดเก็บจากวัยแรงงาน นั่นเอง หากคุณต้องการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากตนเองมากขึ้น ​


3. คาดการณ์งบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพ สูงขึ้นเท่าตัว (กว่า 100%) ในปี พ.ศ. 2597 (ค.ศ. 2050) ​

ข้อมูลจาก www.healthdata.org/thailand ได้คาดการณ์ว่า ปี 2597 (2050) ค่ารักษาพยาบาลจะเติบโตจาก 292 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 595 เหรียญสหรัฐฯ (สูงขึ้นกว่า 1 เท่าตัว) และมี ภาครัฐ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นหลัก คิดเป็น 77% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งก็มาจากการเก็บภาษีจากวัยแรงงานเช่นกัน​


อยากรวยก่อนแก่ สร้างได้อย่างไร ​ ​

พามาดูตัวอย่างญี่ปุ่น** ที่มีประชากรผู้สูงอายุสูงที่สุดในโลก (ประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด) จะมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการจ้างงาน เงินเดือนเริ่มต้น 17,000 บาท, ประกันดูแลสุขภาพระยะยาว, สร้างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, ได้บำนาญเริ่มต้นที่ 15,841 ถึง 42,239 บาท


​กลับมาดูในไทย ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุราว 18.3% ของประชากรทั้งหมด จะมีมาตรการในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น ประกันดูแลสุขภาพระยะยาว ในรูปแบบบัตรทอง (สปสช.) ประกันสังคม บำเหน็จ/บำนาญจากประกันสังคม (ให้สิทธิเลือกระหว่างดูแลสุขภาพกับรายได้หลังเกษียณ) เริ่มต้น 3,000 บาทต่อเดือน (ตามระยะเวลาสมทบและอัตราเงินเดือนที่ส่งสมทบ 60 เดือนสุดท้าย) แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าอยากรวย​ก่อนแก่ สร้างได้ด้วย


1.ประเมินค่ารักษาพยาบาล เพื่อบริหารค่าดูแลสุขภาพหลังหยุดทำงานตามคุณภาพการรักษาพยาบาล โดยเริ่มความสามารถในการชำระเบี้ย และความครอบคลุมในการรักษาพยาบาล เช่น 

     ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่มีวงเงินสูง เหมาะสำหรับผู้ที่เน้นความคุ้มครองครอบคลุม เช่น ประกันสุขภาพ Elite Health ที่มีวงเงินคุ้มครองเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล วงเงินค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี(ให้เลือกได้ 4 แผน)

     ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย วงเงินปานกลาง และเลือกได้ว่าจะคุ้มครองตั้งแต่บาทแรก หรือ คุ้มครองส่วนเกิน เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ ที่มีสวัสดิการของนายจ้างอยู่แล้ว เช่น ประกันสุขภาพ Delight Health เป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายตามจริง ไม่เกิน 5ล้านบาทต่อครั้ง ต่อการรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี) ต้องการคุ้มครองส่วนเกิน 30,000 บาท หรือ 100,000 บาท 

     ​การทำประกันสุขภาพ​ ทำในวันที่ยังแข็งแรง ได้รับความคุ้มครองโรคภัยที่เกิดขึ้น ดีกว่า ไปทำในวันที่มีโรคประจำตัวแล้ว อยากทำก็จะมีทั้งเพิ่มเบี้ยประกัน ไม่คุ้มครองโรคที่เคยเป็นมาก่อน หรือไม่รับประกันเลยก็ได้ ​

​​

2. ประเมินเงินใช้หลังเกษียณ การพึ่งพาสวัสดิการของรัฐเป็นทางเลือกแรก หากมีทางเลือกที่เก็บได้ด้วยตัวเองจะกำหนดชีวิตหลังเกษียณได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการใช้เงินหลังเกษียณ เดือนละ 20,000 บาท จะอยู่ใช้เงินไปอีก 25 ปี หลังเกษียณ ดังนั้น จะต้องเตรียมเงิน 6.0 ล้านบาท (20,000*25*12) (ไม่รวมเงินเฟ้อ) แบ่งเป็นทางเลือก 2 รูปแบบ

     2.1 รูปแบบใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือ ผู้ประกอบการที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แนะนำให้เริ่มต้นออมในผลิตภัณฑ์การออมการลงทุนที่นำค่าซื้อไปลดหย่อนภาษีได้ เช่น กองทุน SSF, RMF ประกันชีวิต ประกันแบบบำนาญ เพื่อเป็นทั้งการออมและประหยัดภาษีไปพร้อมๆกัน ยกตัวอย่างเช่น เริ่มต้นออมตอนอายุ 40 ปี และจะเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี (มีเวลาออม 20 ปี) ในขณะที่มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท (เฉลี่ย 83,333.33 บาทต่อเดือน) เสียภาษี 15% หากออมใน SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (30% ของรายได้) 300,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี คุณจะมีเงินออมอย่างน้อย 6,000,000 บาทแล้ว แต่จะมีตัวช่วยชดเชยเงินเฟ้ออีกจาก เงินคืนภาษีที่ได้แต่ละปีอีก (เฉพาะปีแรก ได้คืนจากการออม 45,000 บาท จาก 15%*300,000 บาท) ถ้านำเงินคืนภาษีมาลงทุนต่อ จะมีโอกาสได้เงินเพิ่มขึ้นอีก 

     2.2 รูปแบบออมทั่วๆไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี จะออมในรูปแบบ เงินฝาก กองทุนรวม หุ้นโดยตรง ให้มีสัดส่วนเหมาะกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ก็จะมีโอกาสถึงเป้าหมายได้เช่นกัน 


อย่างไรก็ตาม อยากรวยก่อนแก่ สร้างแผนการเงินได้ สิ่งสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่ เงินเก็บหรือเงินต้นที่จะลงทุน, ผลตอบแทน หากแต่อยู่ที่ระยะเวลาในการเก็บออมเงินมากกว่า เพราะระยะเวลาในการเก็บเงินที่ไม่เท่ากัน จะมีผลทำให้บรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ ดังนั้น เริ่มต้นแต่วันนี้ อาจจะไม่ต้องใช้เงินต้นมาก แค่ใช้ความมีวินัย ก็มีโอกาสพิชิตเป้าหมายใหญ่ได้


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน” 


ขอบคุณข้อมูลจาก : 

https://www.healthdata.org/thailand​

สำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2557, 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ​ เงินทองต้องวางแผน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (www.set.or.th

*กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวง พม. ข้อมูล ณ มกราคม 2565 ​

**https://thematter.co/social/social-welfare-in-other-country/134828​


      
         
        
         

        


บทความโดย K WEALTH GURU สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ