ทางเลือกลดหย่อนภาษี 2566
แบบไหนดี ที่ใช่ที่สุดสำหรับคุณ
ต้องการลดหย่อนภาษี แต่ยังไม่แน่ใจว่าซื้ออะไรได้บ้าง?
กองทุน SSF RMF หรือประกันชีวิตแบบไหนดีที่สุด?
ให้เราช่วยวางแผนลดหย่อนภาษีปี 2566 อย่างมั่นใจ
ให้เราแนะนำวิธีลดหย่อนภาษี
ที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ
เกร็ดความรู้ลดหย่อนภาษี
ค่าลดหย่อนภาษี ประหยัดภาษีได้ยังไง
ค่าลดหย่อนที่ช่วยประหยัดภาษีได้มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- สำรวจและเลือกแบบประกันสุขภาพ ที่วงเงินครอบคลุมค่าห้องของโรงพยาบาลที่มักใช้บริการ หรือเลือกแบบประกันที่ครอบคลุมห้องเดี่ยวมาตรฐาน
- เลือกแบบประกันสุขภาพที่วงเงินค่ารักษาโดยรวม เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งโรคทั่วไปและโรคร้ายแรง รวมถึงสามารถต่ออายุได้นานที่สุดถึงอายุ 99 ปี
- ประเมินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันของตน เพื่อเลือกแบบประกันที่ค่าเบี้ยอยู่ในระดับที่เหมาะสม และต้องคำนึงถึงค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่มักปรับเพิ่มขึ้นทุก 1 ปี หรือ 5 ปี ตามช่วงอายุที่มากขึ้น
ค่าลดหย่อนที่เกิดขึ้นแต่ละปี สามารถนำไปหักจากรายได้ทำให้เงินได้สุทธิลดลง ภาษีที่คำนวณได้จึงน้อยลงตาม เช่น คนที่มีเงินเดือนและโบนัสรวมกันทั้งปี 5 แสนบาท หากสมมติว่าไม่มีค่าลดหย่อนอื่น
- โดยปกติจะมี เงินได้สุทธิเท่ากับ 340,000 บาท (เงินได้ 500,000 – ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย 100,000 – ลดหย่อนส่วนตัว 60,000) ฐานภาษีอยู่ที่ 10% ภาษีรวม 11,500 บาท
- หากมีค่าลดหย่อนเพิ่ม 10,000 บาท (เช่น กองทุน SSF/RMF ประกันชีวิต) เงินได้สุทธิจะเท่ากับ 330,000 บาท ภาษีรวม 10,500 บาท ซึ่งประหยัดภาษีได้ 1,000 บาท หรือประมาณ 10%ของค่าลดหย่อนที่เพิ่มมา ตามฐานภาษี
แต่คนที่มีรายได้มากกว่านี้ เช่น เงินเดือนและโบนัสรวมกันทั้งปี 1 ล้านบาท ฐานภาษีจะอยู่ที่ 20% ภาษีรวม 83,000 บาท หากมีค่าลดหย่อนเพิ่ม 10,000 บาท ภาษีรวมจะอยู่ที่ 81,000 บาท ซึ่งประหยัดภาษีได้ 2,000 บาท หรือประมาณ 20%ของค่าลดหย่อนที่เพิ่มมา ตามฐานภาษี เป็นต้น
กองทุนอะไรบ้างที่ลดหย่อนภาษีได้?
- กองทุน SSF
- เหมาะกับคนอายุน้อยกว่า 45 ปี
- เงินที่ลงทุน ต้องถืออย่างน้อย 10 ปีเต็ม (วันชนวัน) ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง
- ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 200,000 บาท*
- บางกองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล ตอบโจทย์คนที่ต้องการเงินคืนระหว่างทาง
- กองทุน RMF
- เหมาะกับคนอายุมากกว่า 45 ปี หรือซื้อ SSF ครบแล้ว หรือ อยากสะสมเงินเพื่อใช้วัยเกษียณ
- ต้องลงทุนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม
- ลงทุนได้ไม่เกิน 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 500,000 บาท*
- ลักษณะทั่วไปของกองทุน SSF/RMF
- มีนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่หลากหลาย เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้นไทย/หุ้นต่างประเทศ
- สามารถสับเปลี่ยนกองทุน SSF ด้วยกัน หรือกองทุน RMF ด้วยกัน ระหว่างที่ยังไม่ครบเงื่อนไขการขายคืน
- * กองทุน SSF + กองทุน RMF + ประกันบำนาญ + กองทุนเกษียณอื่น (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. กอช. และ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน) ใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกินปีละ 500,000 บาท
ประกันอะไรบ้างที่ลดหย่อนภาษีได้?
- ประกันชีวิต ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 100,000 บาท* เช่น
- เพื่อออมเงิน ด้วยประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์
- เพื่อสร้างหลักประกันให้คนข้างหลัง ด้วยประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ
- ประกันบำนาญ ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี สูงสุดปีละ 200,000 บาท** เพื่อสร้างรายได้หลังเกษียณจากเงินคืน
- ประกันสุขภาพ กรณีซื้อให้ตนเอง ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 25,000 บาท* เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย เมื่อนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
- ประกันสุขภาพ กรณีซื้อให้บิดามารดา ใช้สิทธิได้ตามเบี้ยที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 15,000 บาท
- * ประกันชีวิต + ประกันสุขภาพ (ส่วนตัว) ใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท
- ** ประกันบำนาญ + กองทุน SSF + กองทุน RMF + กองทุนเกษียณอื่น (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข. กอช. และ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน) ใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกินปีละ 500,000 บาท
2/4
ลดหย่อนภาษี
มองหาตัวช่วยได้เงินคืนภาษี ด้วยการลงทุน
กองทุน SSF RMF ที่มีโอกาสได้ผลตอบแทน
ประกันชีวิต และ ประกันสุขภาพ