/th/promotion/pages/debenture-sjwd1-67.aspx

วันนี้ - 18 ก.ย. 2567

หุ้นกู้ของบริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2567 คาดว่าจะเสนอขายวันที่ 16-18 กันยายน 2567 นี้

ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

จุดเด่น

  • SJWD เป็นบริษัทที่เกิดจาการรวมกิจการระหว่าง JWD InfoLogistics (JWD) และ SCG Logistic Management (SCGL) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ SCC โดยหลังรวมกิจการแล้ว SCC ถือหุ้นใน SJWD คิดเป็นสัดส่วน 42.90%*
  • SJWD เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ บริษัทดำเนินธุรกิจให้บริการทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรภายในภูมิภาคอาเซียน โดย SJWD เป็นบริษัทหลักของกลุ่ม SCC ในการให้บริการขนส่ง ให้กับบริษัทในกลุ่ม SCC และลูกค้าภายนอก โดยได้รับการสนับสนุนจาก SCC ในด้านการเงินและด้านการดำเนินงาน
  • การออกหุ้นกู้ครั้งนี้เป็นการออกหุ้นกู้ครั้งแรกหลังรวมกิจการ แต่ก่อนรวมกิจการ JWD เคยออกหุ้นกู้มาแล้วทั้งหมด 8 ชุด ตั้งแต่ปี 2559** และมีประวัติชำระหนี้ที่ดีมาโดยตลอด
    * ข้อมูลจาก https://investor.jwd-group.com/th/home ณ วันที่ 14 มีนาคม 2566
    ** ข้อมูลจาก https://www.ibond.thaibma.or.th ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2566

วัตถุประสงค์ของการออกหุ้นกู้

เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้หรือหนี้จากการออกตราสารหนี้ ให้แก่ที่ปรึกษาทางการเงินหรือตัวกลางในการเสนอขายหลักทรัพย์ ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 และ/หรือ ชำระคืนหนี้อื่น ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 และ/หรือ ชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ (roll-over) ภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 และ/หรือ ซื้อทรัพย์สิน ลงทุน หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2568

คำเตือนและความเสี่ยงที่สำคัญ

  • ความเสี่ยงจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม บริษัทประกอบธุรกิจให้บริการด้านโลจิสติกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการในลักษณะใกล้เคียงหรือเหมือนกับบริษัท ดังนั้น หากมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นหรือมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา อาจทำให้มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตามบริษัท ได้มีการยกระดับความสามารถของการให้บริการต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตัวเองเพื่อให้บริษัท สามารถปรับปรุงและนำเสนอบริการให้กับลูกค้าได้ตามต้องการ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองงานแก่ลูกค้า
  • ความเสี่ยงจากเสถียรภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และลดต้นทุนของกลุ่มบริษัท โดยระบบดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการรับสินค้า จนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ดังนั้น หากระบบดังกล่าวมีความผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เกิดการติดไวรัสในระบบทำให้ข้อมูลสูญหาย อย่างไรก็ดี บริษัทได้จัดให้มีระบบสำรองข้อมูลที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูล รวมทั้งยังได้ จัดจ้างบริษัทย่อยของบริษัท ในการพัฒนา ซ่อมแซม และบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มบริษัทให้มีเสถียรภาพ ทำให้บริษัทสามารถแก้ไขระบบในกรณีที่ระบบเกิดความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว
  • ความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันธุรกิจคลังสินค้ามีความเสี่ยงในด้านการขาดแคลนแรงงาน และการปรับตัวของค่าแรงที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินธุรกิจ บริษัทจึงได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการคลังสินค้า และการขนส่งของกลุ่มบริษัท ซึ่งช่วยลดการพึ่งพิงทรัพยากรบุคคลของกลุ่มบริษัท นอกจากนั้น หากต้นทุนค่าแรงของบริษัท โดยรวมมีการปรับเพิ่มสูงขึ้น บริษัทจะใช้นโยบายควบคุมต้นทุนในส่วนอื่น
  • ความเสี่ยงจากการที่ตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน และผู้ออกตราสารหนี้อาจก่อหลักประกันหรือภาระผูกพันต่างๆ เพิ่มเติมจากที่ได้ให้ไว้ก่อนวันออกตราสารหนี้ตามโครงการ
  • ความเสี่ยงจากการที่ลูกค้าต้องการขายก่อนครบกำหนด ให้ติดต่อธนาคารพาณิชย์/บริษัทหลักทรัพย์เพื่อให้หาผู้ซื้อให้ (ธนาคาร/บล.อาจมิได้รับซื้อไว้เอง) แต่ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยมีสภาพคล่องต่ำ ซึ่งทำให้ขายไม่ได้ในทันที และ/หรือ อาจไม่ได้ราคาเท่ากับที่ซื้อมาหรือไม่ได้ราคาที่ต้องการโดยขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยและความต้องการของตลาดในขณะนั้น หรืออาจจะไม่สามารถหาผู้ซื้อได้เลยก็ได้ กรณีขายได้กำไร กำไรที่ได้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 ตามหลักเกณฑ์กรมสรรพากร
“BBB+”  

อันดับความน่าเชื่อถือของ
หุ้นกู้และบริษัท “BBB+”

แนวโน้มเครดิต “Stable”  

แนวโน้มเครดิต
“Stable”

ระดับความเสี่ยง 5  

จากความเสี่ยง 8 ระดับ เทียบกับ
หุ้นกู้อื่นๆ โดยทั่วไปที่ระดับความเสี่ยง
อยู่ระหว่าง 1-5

จัดอันดับความน่าเชื่อถือ
โดย บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2567
จองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท
การจัดสรรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้
เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป

ช่องทางการจองซื้อ

เปิดจองซื้อผ่านเว็บไซด์ K-My Invest เปิดจองซื้อผ่านเว็บไซด์ K-My Invest  

หมายเหตุ

การจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2567 ถึงเวลา15.30 น. ของวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 หรือตามดุลยพินิจของธนาคารฯ

การจองซื้อผ่านเว็บไซด์ K-My Invest

สามารถจ่ายด้วย K PLUS โดยชำระได้ 30 ล้านบาทต่อวัน (ไม่กินวงเงิน Bill Payment) หากต้องการจองซื้อมากกว่านี้ สามารถมาทำรายการในวันต่อไปในช่วงการจองซื้อ

เงื่อนไขการจองซื้อ

จะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยที่มีสัญชาติไทย และได้ลงทะเบียนฺพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL 2.3 แล้ว เช่น การลงทะเบียน NDID, การเปิดบัญชี K-eSaving, การสมัคร Line BK, และการทำแบบประเมิน CRR โดยมีข้อตกลง เงื่อนไข และข้อกำหนดซึ่งเป็นไปตามดุลยพินิจของ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย

สอบถามเพิ่มเติมที่

K-contact Center:
tel 02-8888888 กด 869

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

69-PP-PRICING : https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=634319

69-PP-BASE : https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=506072

คำเตือน

ทำความเข้าใจในลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ

การมีผลใช้บังคับของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนดังกล่าว และมิได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่เสนอขายนั้น

คำถามที่พบบ่อย

ใครซื้อหุ้นกู้นี้ได้บ้าง

เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป และผู้ลงทุนสถาบัน ยกเว้นบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้เยาว์ (ผู้เยาว์ คือ คนที่อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ในวันจองซื้อ)

ผู้เยาว์ ซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ได้หรือไม่

ไม่ได้ บุคคลที่จะจองซื้อต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่จะทำรายการจองซื้อ

ชาวต่างชาติซื้อหุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ได้หรือไม่

ได้ ให้แนบสำเนาใบต่างด้าวหรือสำเนาหนังสือเดินทางแทนบัตรประชาชนเวลามาจองซื้อ (และต้องมี Tax ID มิฉะนั้นอาจมีปัญหาตอนต้องการ claim ภาษีที่ถูกหักจากดอกเบี้ยไว้)

จองซื้อหุ้นกู้ผ่าน ช่องทางออนไลน์ K-My Invest และ ชำระเงินผ่าน K PLUS มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
  • จะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยที่มีสัญชาติไทย และที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 80 ปีบริบูรณ์
  • ได้ลงทะเบียนพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL 2.3 แล้ว เช่น การลงทะเบียน NDID, การเปิดบัญชี K-eSaving, การสมัคร Line BK, และการทำแบบประเมิน CRR
  • การจ่ายชำระผ่าน KPLUS ทำรายการได้สูงสุด 30 ล้านบาทต่อวัน (รวมธุรกรรมจองซื้ออื่นๆ ที่ผ่าน K-My Invest (ถ้ามี) แต่ไม่นับรวมวงเงิน Bill Payment) และต้องชำระเงินผ่าน KPLUS ภายใน 10 นาที หลังยืนยันรายการจองซื้อ มิเช่นนั้นรายการจะยกเลิกอัตโนมัติ
  • รับดอกเบี้ยเข้าบัญชี KBank ที่ผูกกับ K PLUS เท่านั้น
  • ผู้จองซื้อหุ้นกู้จะได้รับหลักฐานยืนยันการจองซื้อทันทีหลังจากทำรายการเสร็จสิ้น
ไม่ได้เป็นลูกค้าของ KBank ถ้าจองซื้อหุ้นกู้ผ่านช่องทางออนไลน์ K-My Invest ต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ยังไม่ใช่ลูกค้า KBank สามารถเป็นลูกค้า KBank ได้โดยการเปิดบัญชี e-saving ที่ https://kbank.co/2AdhTHz และไปยืนยันตัวตนที่ตู้ ATM หรือ ตัวแทนธนาคาร โดยไม่ต้องไปสาขา (เช่น ถ้าเปิดบัญชีช่วง 20:00 ของวันที่ 1 ถึง 6:00 ของวันที่ 2 จะใช้ได้หลัง 6:00 ของวันที่ 2)

กรณีจองซื้อผ่านสาขาสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการจองซื้อแทนได้ หรือไม่

ผู้จองซื้อสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการจองซื้อแทนได้ เฉพาะกรณีเป็นลูกค้า KBank ที่เคยทำ KYC/CDD และ suitability test (กับ KBank และอายุไม่เกิน 2 ปี) โดยต้องมีเอกสารมอบอำนาจอย่างถูกต้อง โดยผู้จองซื้อจะต้องแนบเอกสารประกอบการจองซื้อเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รับมอบอำนาจยื่นต่อตัวแทนจำหน่ายหุ้นดังต่อไปนี้

  1. หนังสือมอบอำนาจฉบับจริง ที่ลงนามถูกต้องครบถ้วนพร้อมปิดอากรแสตมป์ 30 บาท
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ (แล้วแต่กรณี) ของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง โดยลายมือชื่อนั้นจะต้องตรงกับลายมือชื่อที่ลงนามในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจองซื้อทุกฉบับ
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง
เมื่อจองซื้อหุ้นกู้เรียบร้อยแล้วแสดงว่าได้เลยหรือไม่ หรือต้องรอจัดสรรอีกหรือไม่

รายการจองซื้อจะสำเร็จเมื่อผู้จองซื้อหุ้นกู้ทำการจองและชำระเงินค่าจองซื้อครั้งเดียวเต็มจำนวนที่จองซื้อ

  • หากจองซื้อผ่านระบบออนไลน์ K-My invest การจองซื้อสำเร็จจะได้ SMS/Email ยืนยันจากระบบ
  • หากจองซื้อผ่านสาขา สามารถตรวจสอบได้จากสาขาที่ท่านจองซื้อไว้
วิธีเลือกรับหลักทรัพย์ของหุ้นกู้ TRUE สามารถเลือกรับหลักทรัพย์ได้กี่แบบ

สามารถเลือกรับหลักทรัพย์ได้ 2 วิธี คือ 1. รับเป็นใบ 2. รับเข้าหลักทรัพย์ของลูกค้า เท่านั้น

จะได้หุ้นกู้เมื่อใด
  1. รับเป็นใบหุ้นกู้ : นายทะเบียนจะจัดส่งใบหุ้นกู้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ภายใน 15 วันทำการนับตั้งแต่ปิดการเสนอขายหุ้นกู้
  2. รับเข้าบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้า : นายทะเบียนจะฝากหุ้นกู้ให้ภายใน 7 วันทำการนับตั้งแต่ปิดการเสนอขายหุ้นกู้

กรณียังไม่ได้รับใบหุ้นกู้ หรือต้องการสอบถามสถานะการจัดส่งใบหุ้นกู้ ให้ติดต่อสอบถามที่นายทะเบียน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เบอร์ติดต่อ 02-296-5999

หุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ จ่ายดอกเบี้ยทุกกี่เดือน และจ่ายดอกเบี้ยครั้งแรกเมื่อไหร่

ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน ในวันที่ 19 มีนาคม วันที่ 19 มิถุนายน วันที่ 19 กันยายน และวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี ตลอดอายุหุ้นกู้ โดยจะชำระดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และจะทำการชำระดอกเบี้ยงวดสุดท้ายในวันครบกำหนดไถ่ถอนของหุ้นกู้

วันครบกำหนดที่จะได้รับเงินต้นคืนของหุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้ คือเมื่อใด
อายุหุ้นกู้ 3 ปี
วันครบกำหนด19 กันยายน 2570
touch
หุ้นกู้ที่เสนอขายครั้งนี้มีความเสี่ยงอยู่ที่
ระดับใด
อายุหุ้นกู้ 3 ปี
ระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้5

ทั้งนี้หุ้นกู้ทั่วไปโดยปกติระดับความเสี่ยงจะอยู่ที่ 1 - 5 จากความเสี่ยงทั้งหมด 8 ระดับ

touch
สามารถขายหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดได้หรือไม่

สามารถทำได้ โดยติดต่อธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้ลองหาผู้ซื้อให้ได้ (ธนาคาร/บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ อาจไม่ได้รับซื้อไว้เอง) อย่างไรก็ตาม ตลาดอาจไม่มีสภาพคล่อง ซึ่งทำให้ขายไม่ได้ในทันที และอาจไม่ได้ราคาเท่ากับที่ซื้อมาหรือไม่ได้ราคาที่ต้องการ

เมื่อครบกำหนดแล้วอยากถือต่อ สามารถขอต่ออายุได้หรือไม่

ไม่ได้ แต่ KBank สามารถแนะนำโอกาสการลงทุนอื่นให้ได้

ใครคือนายทะเบียนของหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เบอร์ติดต่อ 02-296-5999