เรียกได้ว่าทวีปเอเชียในตอนนี้กำลังเป็นทวีปที่มี่ความเนื้อหอมสำหรับบรรดานักลงทุนเป็นอย่างมาก ทั้งจากการที่เป็นทวีปที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดในโลก และเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียนี้มีการเติบโต และ พัฒนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาของธุรกิจเทคโนโลยี นวัตกรรม และ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องการอีคอมเมิร์ซ ประกอบกับช่วง COVID-19 เหล่าบรรดาเทคโนโลยี และ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Application ในโทรศัพท์มือถือ อย่าง Social Media อาทิ Facebook และ LINE, ช่องทางการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ อีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba, Baidu และ ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Shopee ตลอดจนอุปกรณ์อิเลิกทรอนิกส์ต่าง ๆ จากแบรนด์ชั้นนำอย่าง Samsung ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมให้ตอบสนองต่อความต้องการ และ สร้างความสะดวกสบายให้กับเรามากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าเกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้ภูมิภาคเอเชีย จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมภูมิภาคนี้กำลังเป็นที่น่าจับตามอง และ เป็นโอกาสที่บรรดานักลงทุนต่างให้ความสนใจ
อย่างไรก็ตามการที่เทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาไปมากขึ้น ผลักดันวิถีชีวิตของเราให้อยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น อันตรายที่มากจากบุคคลที่เรียกว่าแฮกเกอร์ก็ยิ่งใกล้ตัวเข้ามาค่ะ ดังนั้นในวันนี้ Life and Wealth จะมาพาทุกท่านเข้าใจกับภัยใกล้ตัวในโลกของการออนไลน์ เพื่อเพิ่มความรอบคอบ และ สร้างความปลอดภัยในการใช้งานกันค่ะ
มิจฉาชีพที่แฝงตัวอยู่ช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดียใกล้ตัว
วิธีการที่มิจฉาชีพออนไลน์ หรือ แฮกเกอร์ ได้ข้อมูลของเรานั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- Facebook Phishing คือ กาสร้างหน้า Log in Facebook ปลอมขึ้นมาจากนั้นส่งมาให้ผู้ใช้งานทำการกรอกข้อมูลผ่านทาง Email
- Keylogger คือ การตรวจจับข้อมูลของ User Name และ Password ผ่านการใข้งานคีย์บอร์ด ซึ่งโดนส่วนมากจะมาจากการเข้า Link แปลกปลอม หรือ โหลดโปรแกรมที่ไม่น่าเชื่อถือ
- Stealer คือ การขโมยข้อมูลจากการเลือกจดจำ Password ในการใช้งานบนเว็บไซต์ที่น่าสงสัย
LINE แอปพลิเคชั่นติดมือ ช่องว่างที่คุณอาจมองข้ามไป
ทุกวันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชั่น LINE ในการติดต่อสื่อสารแทนการโทรศัพท์หากัน ซึ่งเป็นการยากที่จะยืนยันตัวตนได้ว่า บุคคลที่เราสนทนาด้วยเป็นตัวจริงหรือไม่
เพราะมักเกิดการ “สวมรอย” เนื่องจากชื่อ และ ภาพของผู้ใช้งานสามารถที่จะตั้งชื่อให้เหมือนกันได้นั่นเอง โดยส่วนมากจะเป็นการสวมรอยเพื่อขอ “ยืมเงิน” หรือจะเป็น “การโดนแฮก” ที่มักจะเกิดจากการตั้งรหัสผ่านที่ง่ายเกินไป และ การคลิก Link แปลกปลอม ทั้ง Link ที่ให้กรอกข้อมูล หรือ Link ที่มีการติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ต่าง ๆ
สำหรับวิธีการป้องกันนั้นก็จะมีตั้งแต่
- การตั้งรหัสผ่าน (Password) ที่ควรมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ประกอบด้วย ตัวอักษรพิมพ์เล็ก-ใหญ่ รวมไปถึงตัวเลขและอักขระพิเศษ เพื่อให้ยากต่อการคาดเดา
- ระมัดระวังเรื่องของการ Download หรือ กด Link ที่น่าสงสัย
- สอบถามคู่สนทนาด้วยคำถามเฉพาะเจาะจง หรือ โทรศัพท์ถามเมื่อการสนทนานั้นผิดสังเกตไปจากปกติ
- การตั้งค่าการ Log-in บนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรตั้งให้ Auto Log-in เพราะ จะทำให้เสี่ยงต่อการถูกดัก Password
นอกจากนี้ วิธีการตั้ง Password นี้ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Email, เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือ Facebook ที่หลาย ๆ ท่านใช้งานอยู่เป็นประจำ

FACEBOOK ช่องทางทำเงินของมิจฉาชีพออนไลน์
ภัยจาก Facebook มักจะมาใบรูปแบบคล้าย LINE คือ “สวมรอย” และ “การโดนแฮก” แต่อีก 2 อันตรายที่มักพบเจอบ่อยๆ และมองข้ามไม่ได้เลย คือ
- เหล่าบรรดา Quiz ทายนิสัย หรือ เกมส์แต่งรูปต่างๆ ที่หลาย ๆ ท่านชอบเล่นกัน โปรแกรมเหล่านี้อาจมีการแอบเก็บข้อมูลของคุณเอาไว้ผ่านการกดอนุญาตเก็บข้อมูล
- โพสต์ที่เชิญชวนให้คุณกดลิงก์ และ กลายเป็นไวรัส Spam ที่จะเข้าไปโพสต์สเตตัสเองเพื่อล่อให้บุคคลอื่นมากดลิงก์ต่อ ๆ ไป
เทคนิคการหลีกเลี่ยงภัยร้ายต่างๆ ได้แก่
- เปิดการแจ้งเตือนเมื่อมีใครเข้าสู่บัญชีของคุณ
- เพิ่มการยืนยันตัวตนอีก 1 ขั้นตอน ผ่านการตั้งค่าบัญชีใน Facebook
- ตรวจสอบแอพฯ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงบัญชี Facebook ของคุณ
- ไม่รับ add บุคคลที่ไม่รู้จัก
ONLINE SHOPPING
ช่องทางที่ผู้คนทั่วโลกนิยมใช้เป็นช่องทางในการซื้อสินค้า เนื่องจากความสะดวกสบายที่สามารถเลือกสรรสินค้าตามต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งความนิยมอย่างมากนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้กับเหล่ามิจฉาชีพ เช่น การซื้อขายสินค้าปลอม หรือ รับคำสั่งซื้อและค่าสินค้าแล้ว แต่ไม่ส่งสินค้า เป็นต้น
เช็คลิสต์สำหรับการป้องกันมิจฉาชีพจากการซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ คือ
- ช็อปผ่านแอปพลิเคชันที่น่าเชื่อถือเท่านั้น และ ควรมีนโยบายในการคืนเงินหรือคืนสินค้า
- ซื้อจากร้านค้า หรือ ผู้ขายที่น่าเชื่อถือ เช่น มีสัญญลักษณ์ร้านค้าแนะนำ หรือ ร้านค้า Official
- ราคาของสินค้า ไม่ควรถูกเกินกว่าราคาตลาดมากจนเกินไป
- ความคิดเห็นของผู้ซื้อสินค้า
- อย่าสั่งซื้อสินค้าในช่วงที่อินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์ที่เราใช้งานอยู่มีปัญหา เช่น เครื่องทำงานช้า สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ค่อยดี เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการสั่งซื้อ และ จ่ายเงินได้
- เก็บหลักฐานการสั่งซื้อไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง แต่หากไม่แน่ใจว่าใบคำสั่งซื้อจะมีข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ ให้ถ่ายรูปหน้าจอที่เห็นรายละเอียดสินค้าและยอดเงินที่เราจ่ายเก็บไว้ด้วย

DIGITAL BANKING
แน่นอนว่าเมื่อมีการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ย่อมต้องมีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินเข้ามาด้วยอย่างแน่นอน และ Digital Banking คือ อีกหนึ่งช่องทางความสะดวกสบายทางการเงินที่มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นอยากเห็นได้ชัดเลยทีเดียว ซึ่งถ้าไม่ระวังความปลอดภัย อาจทำให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้รับข้อมูลส่วนตัวของเรา และ นำไปทำธุรกรรมออนไลน์อย่างซื้อสินค้า หรือ โอนเงินได้ ฉะนั้นแล้วความรอบคอบในการใช้โลกอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการปกป้องข้อมูลของเรา ไม่ให้กระจายออกไปค่ะ
วิธีป้องกันภัยที่ควรทำเป็นนิสัย คือ
- เปลี่ยนรหัสผ่านทุก 6 เดือน
- ตั้งค่าเป็นการสแกนนิ้วหรือใบหน้า เพื่อยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรม
- หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมระหว่างใช้ wifi สาธารณะ
- Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์อยู่เสมอ
- กรณีจ่ายด้วยบัตรเครดิต เมื่อได้รับใบแจ้งยอดบัตรเครดิตมา ควรรีบตรวจสอบว่าตรงกับยอดที่เราใช้จ่ายไปหรือไม่ หากไม่ตรง สามารถติดต่อผ่านคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารผู้ออกบัตรได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สังเกตได้ว่า ชีวิตวิถีใหม่ของผู้คนใช้เวลาอยู่กับดิจิทัลมากขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เติบโตขึ้นตาม และรู้หรือไม่ว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดธุรกิจกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในภูมิภาคเอเชียของเรานี่เอง ไม่ว่าจะเป็น TSMC, Alibaba และ Samsung เป็นต้น อีกทั้งยังมีกลุ่มธุรกิจอื่นๆ อาทิ ประกัน การเงิน และสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตได้ในระยะยาว นอกจากนี้ เมื่อประกอบกับปัจจัยอื่นๆ อย่าง จำนวนประชากรมากที่สุดในโลก เศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สิ่งเหล่านี้ทำให้เอเชียเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่น่าสนใจ และมีกองทุนเข้าไปลงทุนอยู่อย่างมากมาย ซึ่งในวันนี้มี 1 กองทุนที่อยากแนะนำ นั่นคือ K-ASIAX ค่ะ
กองทุนแนะนําที่เกี่ยวข้อง
| อ่านรายละเอียดกองทุน
| ซื้อกองทุนง่าย ๆ บนมือถือ
|
K-ASIAX
| 
|
|
K-ASIAX เป็นกองทุน Index Fund น้องใหม่จากกสิกรไทย มีนโยบายการลงทุนในหุ้นจากบริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย ตามดัชนี MSCI All Country Asia ex Japan กระจายการลงทุนในหลายกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเทคโนโลยี การเงิน และสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ
- TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทจากไต้หวัน เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก เชี่ยวชาญด้านการผลิตชิปเซต จนได้ชื่อว่าเป็น “ธุรกิจผลิตสมองของ Apple”
- Tencent หรือ Tencent Holdings บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน เจ้าของ Application ชื่อดังอย่าง WeChat, JOOX, Shopee, RoV และ JD.com
- Alibaba ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อันดับ 1 ของจีน รวมถึงแอปที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง Lazada อีกทั้งยังมีธุรกิจ Cloud Service ธุรกิจ Fintech ที่คุ้นหูกันในชื่อ Alipay และธุรกิจค้าปลีกแบบหน้าร้านในรูปแบบของ Smart Supermarket
- Samsung Electronics บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระดับโลกจากเกาหลีใต้ ครอบคลุมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ตลอดจนเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่รองจาก TSMC
- AIA GROUP กลุ่มบริษัทประกันชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิค
กองทุน K-ASIAX เหมาะกับทั้งผู้ลงทุนหน้าใหม่ และผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนอยู่แล้ว เนื่องจาก กองทุนมีนโยบายการลงทุนที่ไม่ซับซ้อน จับจังหวะทำกำไรได้ง่าย โดยอิงตามเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชีย อีกทั้งยังมีค่าธรรมเนียมต่ำ เริ่มต้นลงทุนเพียง 500 บาท ก็สามารถกวาดหุ้นใหญ่ทั่วทั้งเอเชียมาครองได้
