Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​        ในที่สุดเราก็เดินหน้าฝ่ามรสุม COVID-19 จนมาถึงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ดูเหมือนว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาจะหนักหนาสาหัสสำหรับคนทำธุรกิจไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้ช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีแบบนี้ ดูจะเป็นแสงแห่งความหวังของผู้ประกอบการที่พยายามจะเรียกยอดขายกลับคืนมาบ้าง แม้จะไม่เท่าเดิมก็ยอม นั่นคงเป็นเพราะช่วงปลายปีในสายตาคนทั่วไป คือ High Season ของการจับจ่ายใช้สอย และ การเดินทางท่องเที่ยวมาโดยตลอด จึงนับเป็นโอกาสทองของธุรกิจ
แต่มาในปีนี้ คำว่า High Season ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการยังมีอยู่ของเจ้าไวรัสตัวร้าย อาจทำให้บรรยากาศต่างไปจากเดิม จนนำมาสู่คำถามที่หลายคนอยากรู้ นั่นก็คือ เทศกาลขายดียังมีอยู่จริงไหม?

“High Season ที่คุ้นเคย ปีนี้ไม่มีอยู่จริง” 
        ทิ้งภาพจำลองของ High Season แบบเดิม ๆ ที่เห็นกันจนชินตา ไม่ว่าจะเป็นความคึกคักของผู้คน การออกเดินทางเพื่อหาความสุขในช่วงที่ได้หยุดพักผ่อน และ การแพร่สะพัดของเม็ดเงินมหาศาล นั่นเป็นเพราะการอุบัติขึ้นของ COVID-19 ที่ได้เข้ามาส่งผลให้ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็ตาม ต่างมีพฤติกรรมร่วมกันอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ “มีการคิด และ ไตร่ตรองมากขึ้นในการใช้เงิน ในตอนนี้เขาไม่ได้กลัวที่จะติด COVID-19 แต่กลัวเรื่องของเศรษฐกิจ กลัวไม่มีงานทำ กลัวว่าจะผ่อนสินค้าต่อไม่ได้ ฯลฯ เรียกว่าทุกคนมีวิธีการใช้เงินที่คิดเยอะขึ้น ทำอะไรจะไตร่ตรองมากขึ้น จากที่เมื่อก่อนอาจจะไม่เคยสนใจเลย” 
แม้ High Season ของปีนี้จะไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เคยเห็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะขายไม่ได้ เพียงแต่ ก่อนที่จะหยิบแบงก์สักใบ หรือ ใช้จ่ายอะไรสักอย่างของผู้บริโภค เขาต้องอาศับการคิดที่รอบคอบมากขึ้น ดังนั้น “ความคุ้มค่า” จึงกลายเป็นตัวตั้งที่ผุดขึ้นในใจทุกครั้งของการควักกระเป๋าจ่ายของผู้บริโภค

“ความคุ้มค่า ไม่ได้แปลว่าจะต้องถูกเสมอไป แต่เป็นเรื่องของความคุ้มค่าที่จะได้รับจากตัวสินค้า หรือ จากแบรนด์ ขณะเดียวกัน ในเวลาแบบนี้ผู้บริโภคยังต้องการความน่าเชื่อถือ และ ไว้วางใจจากแบรนด์ที่จะเลือกใช้มากขึ้นด้วย ยิ่งทำให้เรื่องของ Branding มีความสำคัญอย่างมาก แบรนด์ของเราคืออะไร แบรนด์เรามีหน้าที่ หรือ จะเข้าไปช่วยผู้บริโภคได้อย่างไร สิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราทำจะตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องชัดเจนมาก ๆ สำหรับยุคนี้ ดังนั้นไม่ว่าเป็น High Season หรือไม่ ความคุ้มค่า และ การสร้าง Branding ให้แข็งแรง เป็นเรื่องที่ต้องทำ และ ต้องใส่ใจอยู่เสมอ

แนะทางออก เมื่อลูกค้าคิดหนัก จ่ายน้อยลง
เมื่อถามถึงทางออกอื่น ๆ สำหรับผู้ประกอบการ เมื่อพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคช่วงปลายปีที่อาจจะไม่คึกคักเท่าเดิม จะพบว่ากลยุทธ์หนึ่งที่มักจะถูกหยิบนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ นั่นคือ การทำโปรโมชัน อาจเรียกว่าเป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้ควบคู่กันไป ซึ่งการทำโปรโมชันเฉพาะช่วงเวลาสามารถช่วยสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้บริโภคได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูด้วยว่า สินค้าของแบรนด์เหมาะสมที่จะทำโปรโมชันอย่างไร หรือ ทำได้ไหม และ สามารถทำได้ทันกับช่วงเวลานี้หรือไม่ รวมถึงสิ่งที่ควรระวัง คือ การแข่งขันด้านราคา แม้ผู้บริโภคอาจจะรู้สึกดี แต่อาจจะเป็นการเจ็บตัวของผู้ประกอบการได้
นอกจากนี้ แบรนด์ยังควรมองหา Innovation ใหม่ ๆ ที่เข้ามาต่อยอด และ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างความรู้สึกปลอดภัย และ ปลอดเชื่อให้กับผู้บริโภคเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากขึ้น เช่น เรื่องของ Contactless อย่างการใช้เสียงสั่งซื้อ หรือ การชำระเงินผ่าน Prompt Pay ผ่านการแสกน QR CODE เพื่อลดการสัมผัส รวมถึงการใช้เรื่องของดิจิทัล และ Data เข้ามาช่วยวิเคราะห์ดูข้อมูลว่าตลาดเป็นอย่างไร ผู้บริโภคของเราใช้ชีวิตอย่างไร เขาอยู่บนช่องทางไหน เส้นทางการเดินทางของเขาเป็นอย่างไร และ เราจะไปเจอเขาได้ที่ไหน เป็นต้น เพราะสุดท้ายแล้ว การเข้าใจผู้บริโภค คือ สิ่งสำคัญที่สุด ผู้ประกอบการต้องรู้ว่า เขามีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร และ สินค้าของเราสามารถที่จะเข้าไปตอบโจทย์เขาได้อย่างไรนั่นเอง
แม้ว่า High Season ที่เคยวาดฝันอาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ในปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะลองเปลี่ยน Mindset มองในมุมกลับกันว่า “ไม่ต้องไปหวังพึ่งคำว่า High Season แต่ลองคิดใหม่ตีกรอบให้ตัวเองใหม่ว่า ทุกวันเป็น High Season ได้ พรุ่งนี้หรือเดือนหน้าก็เป็นได้ อยู่ที่ว่าเราจะไปทำให้มันเป็น High Season ของเราได้อย่างไร”

​รู้หรือไม่? High Season แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
Fixed Moment คือ ช่วงเวลา หรือ เทศกาลต่าง ๆ ที่สร้างบรรยากาศให้ผู้คนมีพฤติกรรมที่อยากจะจับจ่ายใช้สอย หรือ ว่าออกเดินทาง เช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ปิดเทอม เปิดเทอม เป็นต้น

Fluid Moment คือ โมเมนต์ที่สามารถทำให้เป็น High Season ขึ้นมาได้ เช่น การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ ลีก หรือ อีเวนต์ที่นาน ๆ จะเกิดขึ้น อย่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เหล่านี้เรียกว่าเป็นเทศกาลที่ทำให้พฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนแปลง และ มีสีสันขึ้นมา


กลับ