Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​​​​​​

        สังคมไทย มีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ส่งต่อความสวยงาม ความละเอียดอ่อน และ ความประณีต ออกมาในรูปแบบของศิลปะ ประเพณี รวมไปถึง ภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยก่อน เช่นเดียวกับ ความรู้ทางด้านสมุนไพร ที่คนสมัยก่อนได้นำมาใช้เพื่อเป็นยาบำรง และ รักษาอาการเจ็บป่วยของร่างกาย ปัจจุบัน สมุนไพรได้พัฒนา ต่อยอด หรือ สกัด มาผสมในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้หลากหลาย และ เป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะตัวเลือกหนึ่งของการดูแลสุขภาพ วันนี้บทความ K SME INSPIRED ได้หยิบยกบทวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่เขียนเรื่องราวของโอกาสการทำธุรกิจเกี่ยวกับสมุนไพรมาให้ได้อ่านกัน กับ “สมุนไพร โอกาสทำเงินให้ธุรกิจ SME” ค่ะ

        ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 18,200 ล้านบาท และ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้วันนี้ตลาดสมุนไพรกลายเป็นดาวเด่นในแวดวงธุรกิจสุขภาพและความงาม เนื่องจากถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าในธุรกิจนี้ และ ยังสามารถต่อยอดพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นได้อย่างหลากหลาย ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ยังเน้นผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศเป็นหลัก โดยผู้ผลิตที่สำคัญ คือ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน 

        ทั้งนี้ ธุรกิจสมุนไพรของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากเทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่นิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยมองว่าปลอดภัย และ มาจากธรรมชาติ ประกอบกับการส่งเสริมจากภาครัฐผ่านแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรปี 2560 - 2564 ที่กำหนดสมุนไพร Product Champion 4 ชนิด คือ ขมิ้นชัน ใบบัวบก ไพล กระชายดำ รวมถึงการส่งเสริมให้โรงพยาบาล และ สถานพยาบาลใช้สมุนไพรทดแทนการนำเข้ายาแผนปัจจุบันมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจด้านการแพทย์และความงาม มีความต้องการสินค้าสมุนไพรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารเสริม และ เวชสำอาง



ทางด้านตลาดส่งออก สินค้าสมุนไพรของไทยก็มีแนวโน้มเติบโตดี โดยสินค้าที่มีการบริโภคสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ได้แก่
 
  • สารสกัดเข้มข้นจากสมุนไพร เพื่อใช้ในการผลิตยาแผนโบราณ / แผนปัจจุบัน เครื่องสำอาง และ อาหารเสริม
  • สมุนไพรออร์แกนิคแปรรูป เช่น พวกผงสกัด น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
  • เครื่องดื่มสมุนไพร Functional Drink เพื่อสุขภาพและความงาม สำหรับวัยทำงาน - ผู้สูงอายุ


        แม้ว่าโอกาสทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะมีอยู่มาก แต่ความท้าทายของผู้ประกอบการที่สำคัญ คือ ความน่าเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย นอกจากนี้ การติดตามเทรนด์การบริโภคของตลาด การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงการสื่อความกับผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ และ บริโภคสมุนไพรอย่างถูกวิธี ปลอดภัย และ เห็นผล ก็น่าจะช่วยยกระดับธุรกิจสมุนไพรของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้อีกทางหนึ่ง

สามารถอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ ที่นี่​


กลับ