Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​

  • ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society: มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเกิน 7% ของประชากรทั้งหมด) ตั้งแต่ปี 2548 และกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ (Aged Society: มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเกิน 14% ของประชากรทั้งหมด) ในปี 2565 หลังจากนั้น ในปี 2575 ไทยถูกคาดการณ์ว่าจะขยับเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์อย่างเต็มที่ (Super-Aged Society:มีประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด) 
  • สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องช่วยหนุนการขยายตัวในตลาดสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุ โดยในปัจจุบัน เม็ดเงินหมุนเวียนในตลาดสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุน่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 9 แสนล้านบาทต่อปี หรือราว 1 ใน 3 ของมูลค่าจีดีพีทั้งประเทศ 
  • แม้มูลค่าตลาดสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ก็เต็มไปด้วยความท้าทาย เนื่องจากผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่กว่า 95% ของประชากรสูงอายุทั้งหมดมีรายได้ไม่สูงมากนัก (เฉลี่ยต่ำกว่า 300,000 บาทต่อปี) และพึ่งพาลูกหลานเป็นแหล่งรายได้หลัก 
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่สูงนั้น สินค้าและบริการยังจำเป็นต้องมีราคาไม่แพงนัก แต่หากเลือกเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ก็จะเผชิญการแข่งขันที่เข้มข้น ซึ่งผู้ประกอบการจำต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความคุ้มค่า ความแตกต่าง และ คุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล และที่สำคัญ คือ ช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจะต้องออกแบบให้เข้าถึงง่ายและสะดวกต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ

Article by : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กลับ