Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

​​​​​ ผ่านพ้นปี 2563 เข้าสู่ปี 2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่น่าจะฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดได้  แต่เส้นทางการฟื้นตัวยังมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญความท้าทายที่สำคัญถึง 2 เรื่องใหญ่ ๆ



การเข้าถึงวัคซีน และ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 2 ปัจจัยสำคัญความท้าทายที่ต้องเผชิญ


        แม้จะมีข่าวเชิงบวกในเรื่องของความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากหลายผู้ผลิตทั่วโลก แต่การที่ผู้คนส่วนใหญ่ของโลกจะได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง อาจจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังปี 2564 จากอุปสรรคทั้งการผลิต การขนส่ง การทดลองประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจากสาเหตุข้างต้นจะมีผลกระทบต่อการเปิดประเทศเพื่อการเดินทาง และ ยังกระทบกับภาคอุตสาหกรรมที่พึ่งตลาดต่างประเทศโดยตรงอีกด้วย
นอกเหนือจากเรื่องของวัคซีน อีก 1 ความท้าทายที่เกิดขึ้น คือ การที่เงินบาทยังมีท่าทีที่ผันผวน และมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ อันเป็นผลมาจากทิศทางอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ เพราะการดำเนินนโยบายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนี้จะสร้างผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของไทย อย่างไรก็ตามอาจเป็นผลดีในกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำเข้าสินค้ามาผลิตหรือจัดจำหน่าย เช่น ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องจักร


อุตสาหกรรมปี 64 การฟื้นตัวยังจำกัด และ ยังไม่ฟื้นกลับไปเท่าปี 62

        ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเบื้องต้นว่า เครื่องชี้วัด 8 อุตสาหกรรมมีการเติบโตที่เป็นบวก เมื่อเทียบกับปี 2563 แต่เป็นการเติบโตที่ค่อนข้างต่ำ และ ไม่ได้ทำให้ขนาดหรือรายได้กลับไปสู่ระดับก่อน COVID-19 ในปี 2562 (ยกเว้นอุตสาหกรรมอาหาร และ เครื่องดื่ม) ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายยังมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรง รายได้สุทธิไม่สม่ำเสมอ และ อาจไม่มากพอในการดำเนินกิจการ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ได้รับผลกระทบมีทั้งสิ้น 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ 
  1. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดต่างประเทศ
  2. อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย รถยนต์ อัญมณี และ เครื่องประดับ
  3. กลุ่มสินค้าไม่จำเป็น หรือ มูลค่าต่อชิ้นสูง
  4. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการผลิตจากวัตถุดิบในประเทศเพื่อส่งออก
  5. ท่องเที่ยว การขนส่ง
  6. เกษตรแปรรูป


8 ธุรกิจไทย ไปต่อได้ปี 64

มุมมองต่อทิศทางอุตสาหกรรมหลักของไทยปี 2564
​อาหาร และ เครื่องดื่ม
​การเติบโตชะลอลง จากกำลังซื้อ และ ธุรกิจที่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ยังมีการแข่งขันรุนแรง และ ทางเลือกของผู้บริโภคที่มีหลากหลายมากขึ้น
​อิเล็กทรอนิกส์ และ เครี่องใช้ไฟฟ้า
​ได้รับแรงสนับสนุนจากคำสั่งซื้อของ 2 ตลาดใหญ่ อย่าง สหรัฐฯ และ จีน แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจจะยังเป็นข้อจำกัดของการเติบโต
​ค้าปลีก
​การเติบโตยังจำกัดอยู่ในบางกลุ่ม โดยเฉพาะ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ในขณะที่ห้างสรรพสินค้ายังประสบกับสภาวะลำบากอย่างต่อเนื่อง
​ที่อยู่อาศัย
​แม้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลจะมียอดเป็นบวก แต่ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นปัจจัยลบให้ทำให้ภาพรวมยังคงต้องเผชิญความกดดันที่ต้องติดตาม
​โรงพยาบาลเอกชน
​ยังคงพยุงภาพรวมของตลาดได้ จากการให้บริการคนไข้ในประเทศในระบบประกัน อย่างไรก็ตามยังคงเผชิญความท้าทายของตลาดคนไข้ต่างประเทศ และ แรงฉุดซื้อของภาคครัวเรือนอยู่
​ขนส่ง
​เริ่มฟื้นตัวจากการกลับมาของการขนส่งทางบก และ ทางเรือ และ การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ช อย่างไรก็ตามการขนส่งทางอากาศ และ คลังสินค้ายังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวอยู่
​รถยนต์
​ยอดขายทั้งใน และ ต่างประเทศน่าจะฟื้นตัว ได้อย่างจำกัดจากปัจจัยอย่าง COVID-19 และ ด้านกำลังซื้อ โดยต้องติดตามมาตรการของภาครัฐ โดยเฉพาะ การสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถพลังงานไฟฟ้า
​โรงแรม และ ร้านอาหาร
​เมื่อการฟื้นตัวของการเดินทางระหว่างประเทศป็นไปอย่างจำกัด และ  ทำได้อย่างช้า ๆ มีผลให้ยังคงเผชิญความยากลำบากอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความชัดเจนของมาตรการช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะจงของภาครัฐ อาทิ กองทุน Warehouse ที่น่าจะช่วยประกองธุรกิจให้ผ่านไปได้

ที่มา : 
  • แนวโน้มและบทวิเคราะห์ทางธุรกิจ K SME ANALYSIS โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คลิก
  • Download บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม คลิก​


กลับ