ถอดใจ! หุ้นไทยไม่ไปไหน
ตัดสินใจอย่างไรกับกองทุนหุ้นไทยที่ถืออยู่
ตลาดหุ้นไทยในปีที่ผ่านมาภาพรวมอาจไม่ใช่ปีที่ดีนัก หากเทียบผลตอบแทนกับตลาดหุ้นทั่วโลกในปี 2566 ไทยนับว่าทำผลงานได้รั้ง 3 อันดับสุดท้าย ข้อมูลจาก Investing.com ได้รวบรวมความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสำคัญทั่วโลก (ณ วันที่ 25 ธ.ค. 66) สะท้อนว่าหุ้นไทยเป็น 1 ใน 3 ตลาดหุ้นหลักที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในปีที่แล้ว
โดยตลาดที่ร่วงลงแรงที่สุด คือ Hang Seng ของฮ่องกงอยู่ที่ -17.40% อันดับสอง คือ SZSE Component ตลาดเซินเจิ้นของจีนอยู่ที่ -15.97% และ อันดับที่สาม คือ ดัชนี SET ของไทยอยู่ที่ -15.57%
6 ปัจจัยฉุดรั้งตลาดหุ้นไทยในปี 66
4 ปัญหาภายในประเทศ ปัจจัยกระทบหุ้นไทย
-
เริ่มตั้งแต่ต้นปีมีการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ ALL และตามมาด้วยการแจ้งข่าวผิดนัดชำระฯ กว่า 5 บริษัท ทำให้ปี 66 มีหุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระฯ รวมกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ความเชื่อมั่นตลาดตราสารหนี้ลดลง นักลงทุนไม่กล้าลงทุนต่อเมื่อหุ้นกู้ที่ลงทุนครบกำหนด กระทบต่อราคาหุ้นในตลาด
-
การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีในเดือน พ.ค. ที่ยืดเยื้อ กว่าจะจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จก็ย่างเข้าไตรมาส 4 ตลาดเกิดความไม่มั่นใจในเสถียรภาพทางการเมือง
-
การไร้มาตรการกระตุ้นใหม่ภายในประเทศ ทำให้เกิดการขายอย่างหนักโดยนักลงทุนต่างชาติ
-
ตัวเลข GDP ที่ออกมาอ่อนแอกว่าคาดในไตรมาส 2/66 ไตรมาส 3/66 และไตรมาส 4/66 ทั้งปีโตเพียง 1.9%
-
การบริโภคภายในชะลออย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้บริโภคลดลงและเงินเฟ้อที่ติดลบติดต่อกันหลายเดือน ประกอบกับสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของ GDP ยิ่งทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายน้อยลงด้วย
-
ปัญหาเชิงโครงสร้างประชากรผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การผลักดันภาคการผลิตไม่สามารถเติบโตได้เหมือนในอดีต อีกทั้งยังไม่มีเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่เข้ามาช่วยทดแทนแรงงานที่ขาดไป
-
การส่งออกสินค้าขายดีสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน การส่งออกเติบโตต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตไม่สามารถพยุงเศรษฐกิจได้
-
การพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักมาในจังหวัดหลัก เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ กระบี่ ชลบุรี และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยไม่มีอะไรใหม่จึงเริ่มขาดเสน่ห์ในการดึงดูดชาวต่างชาติ แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะแตะเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 27 ล้านคน แต่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิดคิดเป็นเพียง 67% ของนักท่องเที่ยวที่กลับมา และ จำนวนค่าใช้จ่ายต่อรายค่อนข้างลดลง ภาครัฐต้องเร่งหามาตรการกระตุ้นเพิ่ม
2 ปัจจัยภายนอกฉุดทิศทางตลาดไทย
-
ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างสงครามอิสราเอล-ฮามาส กระทบบรรยากาศการลงทุนทั่วโลก
-
ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทย
ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้ตลาดทยอยปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลงสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังน่าเป็นห่วง ทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายสุทธิ 1.95 แสนล้านบาทในปี 2566
|
ความหวังพังทลาย
หุ้นไทยจ่อจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง
นับตั้งแต่ต้นปี – 19 เม.ย. 67 หุ้นไทยยังปรับตัวลงต่อกว่า 4% สวนทางตลาดหุ้นหลักส่วนใหญ่ที่ทำ New high หักปากกาเซียนที่นักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ว่าปีนี้หุ้นไทยจะกลับมาสดใสจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและมาตรการกระตุ้นทั้งนโยบายการคลัง-การเงิน ซึ่งปัจจัยหลัก คือ ปัญหาเดิมภายในประเทศ ที่ยังแก้ไขไม่ได้ ซึ่งทางรัฐบาลมีความพยายามในการประคับประคองเศรษฐกิจโดยใช้มาตรการการคลัง เช่น
-
มาตรการแก้ไขหนี้ทั้งระบบ
-
กระตุ้นการบริโภคการท่องเที่ยว เช่น Easy e-Receipt , วีซ่าฟรี
-
มาตรการกระตุ้นผ่านภาคอสังหาฯ โดยให้ประโยชน์ด้านภาษีและลดค่าธรรมเนียม เนื่องจากมีสต็อกทั้งบ้านและคอนโดฯ ค้างสูงสุดในรอบ 29 ปี แต่ด้วยหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การจะผ่านเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อนั้นทำได้ยากขึ้น
-
โครงการดิจิตอล วอลเลต วงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ล่าสุดผ่านอนุมัติจากกระทรวงการคลังแล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในไตรมาสที่ 4 ปีนี้
อย่างไรก็ตาม หลายมาตรการดังกล่าวที่ออกมา ยังต้องใช้เวลาในการติดตามผลต่อไปว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยได้มากน้อยแค่ไหน ประกอบกับมาตรการการเงินที่คาดว่าการลดดอกเบี้ยในปีนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นเร็วอย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง เนื่องจากมุมมองของ กนง.มองว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันเหมาะสมต่อเศรษฐกิจแล้ว
จากหลายปัจจัยข้างต้นทำให้นักวิเคราะห์หลายท่านปรับลดการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยปีนี้ลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยออกมาในไตรมาสที่ 1/67 สะท้อนแนวโน้มกำไรที่ลดลง ดูแล้วเศรษฐกิจไทยในปีนี้จึงค่อนข้างน่าเป็นห่วง
แนะทางหุ้นไทย ถอดใจ หรือ เดินหน้าลงทุน
ตลาดหุ้นไทยปรับลงรับการปรับลดการเติบโตทางเศรษฐกิจไปแล้ว แต่โอกาสที่จะปรับลงหลังจากนี้ยังมีอยู่ จากอิทธิพลแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่า ผลกระทบค่าเงินดอลลาร์จากนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่ยังตึงตัวทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกต่อเนื่อง และไทยยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนใหม่
ดังนั้น
นักลงทุนที่ถือลงทุนอยู่ หากมีสัดส่วนที่มากเกินกว่า 30% ของเงินลงทุน แนะนำให้พิจารณากระจายการลงทุนไปยังภูมิภาคอื่นที่น่าสนใจกว่าหุ้นไทยในตอนนี้ เช่น กองทุนหุ้นเวียดนาม K-VIETNAM ที่ระดับราคายังไม่แพงและมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เป็นต้น
นักลงทุนใหม่ ที่ยังไม่มีหุ้นไทยและสนใจลงทุน แม้ราคาหุ้นจะปรับลงมามาก แต่ไม่แนะนำให้รีบเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ ควรรอประเมินสถานการณ์ทิศทางนโยบายการเงินของไทยและมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม หากมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยที่ชัดเจนและมาตรการที่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงกว้างจึงค่อยทยอยลงทุน ช่วงเวลานี้หากสนใจลงทุนควรกระจายการลงทุนในภูมิภาคอื่นที่เติบโตกว่าหรือลงทุนในกลุ่มที่เป็นเมกะเทรนด์และกลุ่ม defensive อย่าง โรงพยาบาล สาธารณูปโภค สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง - ค่อนข้างต่ำ แนะนำ ลงทุนในเงินฝากหรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น-กลาง หรือ กองทุนผสม เช่น K-FIXEDPLUS , K-FIXED ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี , กองทุนผสม K-WealthPLUS Series ที่มีผู้จัดการกองทุนคอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้อย่างสม่ำเสมอ
คำเตือน : ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน
บทความโดย
กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPT
K WEALTH Trainer
กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงสูง
K-VIETNAM
แนะนำลงทุนหุ้นเวียดนามชั้นนำ เน้นหุ้นกลุ่มที่มีศักยภาพการเติบโตสูง เช่น กลุ่มการเงิน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และ กลุ่มอุปโภคบริโภค
อ่านรายละเอียดกองทุน
|
ซื้อกองทุนบน KPLUS
|
|
|
K-HIT-A(A)
แนะนำกองทุนที่กระจายการลงทุนหลากหลาย เป็นธีม Megatrends กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก 5-7 ธีมและจะมีการพิจารณาการลงทุนเทรนด์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอจากการเปลี่ยนธีมอย่างน้อย 1 - 3 ธีม ในทุก ๆ ปี ผ่านกองทุนหลัก Allianz Global Investors Fund - Allianz Thematica Share Class P (EUR)
อ่านรายละเอียดกองทุน
|
ซื้อกองทุนบน KPLUS
|
|
|
K-GHEALTH
แนะนำ K-GHEALTH มีสัดส่วนของหุ้นกลุ่ม Biotech อยู่ค่อนข้างมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สนับสนุนนวัตกรรมด้านสุขภาพ และเทรนด์ดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้น Healthcare มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund, Class A (acc) - USD (กองทุนหลัก)
อ่านรายละเอียดกองทุน
|
ซื้อกองทุนบน KPLUS
|
|
|
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง - ต่ำ
K-WealthPLUS Series
แนะนำกองทุนเดียวได้ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และ สินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลก บริหารพอร์ตร่วมกับบลจ. ชั้นนำระดับโลก J.P. Morgan Asset Management รับความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดีกว่า สามารถเลือกที่เหมาะกับสไตล์คุณ
อ่านรายละเอียดผลิตภัณฑ์