รู้สึกตัวอีกเวลาก็ผ่านมาจนจะหมดปี 2021 แล้ว และ เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปีเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นโค้งสุดท้ายของปีสำหรับเหล่าผู้มีเงินได้เช่นทุก ๆ ท่าน ในการหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี ที่อาจจะยังไม่มี หรือ มีบางส่วนแต่ยังไม่ครบ ไม่เต็มที่ ซึ่งหนึ่งตัวช่วยในการลดหย่อนภาษียอดนิยม คือ เหล่ากองทุนในกลุ่ม SSF และ RMF ที่ก็มีหลากหลายตัวให้เลือกในตลาดการลงทุน แต่ก่อนจะไปเลือกกองทุน เรามาทบทวนกันดูก่อนว่า SSF และ RMF นั้นเป็นอย่างไร
ลงทุนให้เหมาะ ลดหย่อนภาษีได้เต็ม ๆ
ก่อนจะตัดสินใจเลือก อยากให้พิจารณาเงื่อนไขและสำรวจเงินได้ทั้งปีก่อน เพื่อคำนวณสิทธิในการลงทุนค่าลดหย่อนแต่ละประเภท โดยเฉพาะระยะเวลาในการถือครอง
-
SSF ต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับวันชนวัน
-
RMF ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรือ ปีเว้นปี และถือหน่วยลงทุนจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และถือครองมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
โดยหากผู้ลงทุนอายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำให้พิจารณาลงทุนใน SSF ก่อน ซึ่งจะมีสิทธิในการขายเป็นสภาพคล่องได้เร็วกว่า RMF
คิดจะลงทุน อย่าลืมพิจารณาความเสี่ยง
-
ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ ควรเลือกกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้
-
ผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง แนะนำเลือกกองทุนประเภท Balance Fund ที่กองทุนมีนโยบายกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
-
ผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงและคาดหวังผลตอบแทนสูง เลือกลงทุนในหุ้น ซึ่งปัจจุบันสามารถลงทุนในบริษัทต่างประเทศที่กำลังเป็นกลุ่มการลงทุนที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น กลุ่ม ESG, กลุ่มสิ่งแวดล้อม หรือ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยี
ลงทุนกลุ่ม ESG ผลตอบแทนที่ยั่งยืน
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง หลายธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง และ การให้ความสำคัญกับสังคม และ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้เกิดบริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม และ กลุ่มบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และด้วยการเติบโตที่น่าสนใจนี้ ทำให้นักลงทุนหลายคนเริ่มมองหาจังหวะการเข้าลงทุนในกลุ่มบริษัทเหล่านี้มากขึ้น
การลงทุนในกลุ่ม ESG , กลุ่มสิ่งแวดล้อม หรือ กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม มีข้อดี คือ ในระยะยาวแล้วบริษัทเหล่านี้จะกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความยั่งยืน อีกทั้งสินค้าและบริการของบริษัทเหล่านี้ก็ยังเป็นที่ต้องการอีกมากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น รถพลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด การศึกษา และ การแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น และ จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในมุมของนักลงทุน การเข้าลงทุนในกลุ่มบริษัทเหล่านี้จึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามไปด้วยนั่นเอง ซึ่งกองทุนของกลุ่มบริษัทที่กล่าวมาต่างก็มีสัดส่วนอยู่ในตัวช่วยลดหย่อนภาษี อย่างกองทุนที่อยู่ในหมวด SSF และ RMF ซึ่งเป็นกองทุนยอดนิยม เพราะเป็นเครื่องมือสำหรับลดหย่อนภาษี โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุน SSF และ RMF ได้ทั้ง 2 แบบพร้อมกันตามสิทธิ ขึ้นอยู่กับอายุและความเสี่ยงของผู้ลงทุน เมื่อผู้ลงทุนจัดสัดส่วนได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้เข้าถึงเป้าหมายวัยเกษียณได้อย่างมีความสุขและมีความมั่งคั่งในชีวิต
TIPS : รวมมิตรสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อเกษียณ
สิทธิในการลงทุนค่าลดหย่อนภาษีแต่ละประเภท
สำหรับ กลุ่มเกษียณอายุ รวมกันทั้งหมด ไม่เกิน 500,000 บาท
|
|
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ต่อปี และ ไม่เกิน 200,000 บาท |
-
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
|
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ต่อปี และ ไม่เกิน 500,000 บาท
|
-
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
|
ตามจริง และ ไม่เกิน 13,200 บาท
|
-
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
|
ไม่เกิน 30% ของเงินได้ต่อปี และ ไม่เกิน 200,000 บาท
|
-
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
|
ไม่เกิน 30% ของเงินได้ต่อปี และ ไม่เกิน 500,000 บาท
|
K-Expert วรสุดา ใช้เทียมวงศ์
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า
กองทุนแนะนำ
กองทุนเปิด กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ (K-CHANGE)
ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนหุ้นระดับโลก มีให้เลือกลงทุนทั้ง K-CHANGE-SSF และ K-CHANGE-RMF
|
อ่านรายละเอียดกองทุน
|
ซื้อกองทุนง่าย ๆ บน KPLUS
|
K-CHANGE-SSF
|
|
|