ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหลาย ๆ ประเทศได้มีการเร่งกระจายวัคซีนเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในประเทศให้ได้ไวมากที่สุด ประกอบกับมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ และ ประชาชน ส่งผลทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจภายในประเทศดูสดใสขึ้น และยังส่งผลต่อเนื่องไปยังตลาดหุ้นของประเทศนั้น ๆ จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมในช่วงนี้ “การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ” จึงกำลังเป็นที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะตลาดหุ้นของเอเชียเราเอง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าหากมองย้อนกลับไปดูภาพรวมของผลตอบแทนตลาดหุ้นต่างประเทศในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 16.25% ส่วนตลาดเอเชียที่รวมประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ผลตอบแทนถึง 25.02% โดยมีตลาดหุ้นของประเทศจีนที่โดดเด่นด้วยผลตอบแทนสูงถึง 29.49% เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เองทำให้การลงทุนในตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะจีน ได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนมากขึ้นเป็นจำนวนมาก
เลือกลงทุนให้ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด
หากพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นจีน อาจเรียกได้ว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการปรับตัวที่โดดเด่นมากนัก แต่ในระยะยาวข้างหน้ายังคงเป็นตลาดหุ้นที่มีโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดีอยู่ ด้วยปัจจัยทั้งโอกาสในการเติบโต ความพร้อมทางด้วยนวัตกรรม และ อุปสงค์ของประชากร อย่างไรก็ตามกองทุนหุ้นจีนที่มีอยู่ในตลาดนั้นมีอยู่อย่างมากมาย การพิจารณาเลือกเข้าลงทุนจึงจะต้องใช้ 4 วิธีในการเลือกลงทุน ดังนี้
-
เลือกตลาดที่จะเข้าลงทุน
โดยทั่วไปตลาดหุ้นจีนที่นักลงทุนนิยมเข้าไปมีอยู่ 2 ตลาดใหญ่ ๆ คือ A-Share และ H-Shared ซึ่งความแตกต่างกันตลาดหุ้นที่จดทะเบียน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ -
A-Share : เป็นดัชนีหุ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้นเซียงไฮ้ และ เสิ้นเจิ่น มีโอกาสในการเติบโตที่สูง จากการบริโภคและ การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามตลาดนี้มีความเสี่ยงในการลงทุนจากการควบคุมของภาครัฐ
-
H-Share : เป็นดัชนีหุ้นในฮ่องกง ที่มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮั่งเส็ง และเนื่องมาจากตำแหน่งของฮ่องกง ทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการเงิน และ มีการทำการค้าขายกับต่างประเทศได้คล่องตัวมากกว่า
-
Active หรือ Passive สไตล์ไหนที่เป็นคุณ
นักลงทุนแต่ละบุคคลต่างมีรูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ -
Active คือ การลงทุนที่เน้นการบริหารเชิงรุก ด้วยการคัดสรรหุ้นเพื่อซื้อ-ขายในเวลาที่เหมาะสม เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นการเอาชนะเป็นเกณฑ์
-
Passive เป็นการลงทุนในแบบที่ตรงข้ามกัน นั่นคือ การลงทุนตามเกณฑ์มาตรฐาน จะลงทุนให้มีสัดส่วนสอดคล้องตามดัชนีของตลาด
-
ลักษณะการลงทุนของกองทุนหลัก
กองทุนหลักที่นักลงทุนสามารถเข้าไปลงทุนได้นั้น มีลักษณะในการลงทุนที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ -
Master Fund (หรือ Feeder Fund) เป็นการเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมของต่างประเทศอีกที ซึ่งการพิจารณาลงทุนก็จะต้องพิจารณาไปถึงหุ้นที่กองทุนหลักนั้นถือครองอยู่ว่าเป็นธุรกิจอะไร และ มีโอกาสทำกำไรได้แค่ไหน
-
Fund of Funds การไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศหลาย ๆ กองทุน ข้อดีคือ มีการกระจายความเสี่ยง แต่ข้อด้อยคือ การติดตามผลการดำเนินงานจะไม่ชัดเจน การลงทุนโดยตรง เป็นกองทุนรวมที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยตรง
-
ประเมินได้ชัดเจนขึ้น ด้วยผลการดำเนินงานย้อนหลัง (return, sharpe ratio, MDD)
หลังจาก 3 วิธีแรกน่าจะทำให้หลาย ๆ ท่านสามารถที่จะกรองกองทุนหุ้นจีนออกมาได้หลายกลุ่มแล้ว หลังจากนั้นเราควรนำกองทุนหุ้นจีนเหล่านั้นมาเปรียบเทียบผลตอบแทนย้อนหลังในกลุ่มที่ใกล้เคียงกัน และ ควรเปรียบเทียบร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ยังไม่เคยลงทุนต่างประเทศเลย ควรหาข้อมูลของ Maximum Drawdown หรือ ผลตอบแทนขาดทุนสูงสุดในช่วงเวลาหนึ่งมาประกอบการตัดสินใจด้วย เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมว่า กองทุนต่างประเทศกองนี้ได้เคยขาดทุนสูงสุดเท่าไหร่ และ ท่านยอมรับผลขาดทุนนั้นได้หรือไม่
สำหรับกองทุนจีนของ บลจ. กสิกรไทยนั้น สามารถเลือกลงทุนได้ 2 รูปแบบ คือ
-
การลงทุนกรณีทั่วไป ที่จะเน้นการลงทุน โดยมีลักษณะแบบ Master Fund (หรือ Feeder Fund) ซึ่งหากกรองออกมา 3 กองทุน จะประกอบด้วย
- กองทุนหุ้นจีน A-Share รูปแบบการลงทุน Passive คือ กองทุน
K-CHX
- กองทุนหุ้นจีน All-Share (ผสมหลากหลายตลาด แต่เน้นตลาด A-Share) รูปแบบการลงทุน Active คือ กองทุน
K-CHINA
- กองทุนหุ้นจีน A-Share รูปแบบการลงทุน Active โดยมีกลยุทธ์ในการควบคุมความเสี่ยง คือ กองทุน
K-CCTV
-
การลงทุนที่เน้นการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวที่มีการลงทุนในหุ่นจีน คือ กองทุนหุ้นจีน All-Share รูปแบบการลงทุน Passive ได้แก่ กองทุน
K-CHINARMF
อย่างไรก็ตาม กองทุนหุ้นจีนในตลาดนั้นมีอยู่หลากหลายกองทุนมาก บทควาวมนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ทุก ๆ ท่านสามารถแยกแยะได้ว่า จะเลือก หรือ กรองอย่างไรให้กองทุนจีน ๆ เหมาะสมกับรูปแบบของตัวท่าน นอกจากนี้ การลงทุนในต่างประเทศเพียงอย่างเดียวอาจมีความเสี่ยงที่มากเกินไปได้ ควรมีการกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ หรือ ภูมิภาคที่หลากหลาย สำหรับท่านใดที่ตัดสินใจเลือกกองทุนที่จะเข้าลงทุนได้แล้ว สามารถซื้อกองทุนได้ง่าย ๆ ผ่านแอบพลิเคชั่น KPLUS บนมือถือของท่านได้เลย
K-Expert : สุนิติ ถนัดวณิชน์ CFP®
ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย