3 สายการเงิน เพื่อเผชิญกฎอนิจจัง

3 สายการเงิน เพื่อเผชิญกฎอนิจจัง

​ ผ่านไปแล้วกับศึกหนักช่วงวิกฤติที่ผ่านมาจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำเอาหลาย ๆ คนเครียด นอนไม่หลับเพราะธุรกิจที่กำลังจะไปได้ดี กลับต้องมาหยุดชะงักเพราะโรคระบาดที่เราไม่เคยคาดคิด แต่ก็ยังดีที่ตอนนี้ประเทศไทยของเราก็เริ่มเห็นการฟื้นฟูมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจ สุขภาพ และ เศรษฐกิจ แต่ก็เชื่อได้เลยว่า กว่าที่ทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นได้แบบนี้ หลาย ๆ คนหรือ หลาย ๆ ภาคส่วนก็คงต้องฝ่าฟันกันมาไม่ใช่น้อย จนบางทีการหันไปพึ่งหลักพระพุทธศาสนา ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ที่อาจจะสะสมมา

ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา แก่นของการดับทุกข์ ก็คือ การปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับทุกสิ่ง ก็เหมือนกับช่วงชีวิตของเราตอนนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือ ที่เราเรียกกันว่า New Normal มันก็เป็นเรื่องธรรมดา ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราแค่ต้องปรับตัวให้ทันกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตามกฎอนิจจัง ที่ว่าทุกอย่าง “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป”

เมื่อเปรียบเทียบกฎอนิจจังกับ โลกของการเงินและการลงทุน สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดก็คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในผลลัพธ์ การทำหน้าที่ของผู้ลงทุนที่ดี คือ การศึกษาให้ดีก่อนลงทุน ลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ไม่ว่าผลจะดีตามคาด หรือไม่ก็ตาม เพราะถือว่าตอนเลือกลงทุน เราศึกษาอย่างดีแล้ว ทำใจให้สบาย และ ยอมรับกับผลที่ได้ โดยไม่ต้องมีความทุกข์ วันนี้ ทาง K-Expert มีวิธีการจัดการเรื่องการเงิน เพื่อช่วยให้เราจัดการเรื่องการเงินได้ดีที่สุดกับ 3 สายการเงิน เพื่อเผชิญ กฎอนิจจัง

1. สายเงินออมเผื่อฉุกเฉิน
โดยพื้นฐานการออมที่ดี คือ ควรมีเงินสำรองเผื่อในกรณีฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน ยิ่งในช่วงวิกฤต COVID-19 เงินออมฉุกเฉินถือว่าเป็นสิ่งที่หลายคนหันมาให้ความสำคัญหลายคนมักพูดอยู่เสมอว่า “ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะตั้งใจเก็บเงินมากกว่านี้” จากกฎอนิจจัง ทำให้ทุกคนตระหนักว่า เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินมีความสำคัญหลายอาชีพ เช่น นักบิน ที่รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 6 หลัก แต่หลังเจอสถาการณ์วิกฤต ต้องหยุดบิน หรือ ถูกเลิกจ้าง โดยที่ไม่ทันได้เก็บเงินส่วนนี้ไว้เพื่อฉุกเฉิน ซึ่ง K-Expert ขอแนะนำ 2 ทางเลือกในการออม ดังนี้
ทางเลือกแรก e-Savingsซึ่งเหมือนบัญชีออมทรัพย์แต่ทำธุรกรรมผ่าน Online เท่านั้น โดยสามารถเปิดบัญชีได้ทันที เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน K+ โดยจะมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทยแล้วหรือไม่ก็ได้ โดยดอกเบี้ยสำหรับบัญชีนี้ คือ 1.5 %ต่อปี (ตามเงื่อนไขธนาคาร) จะเก็บทั้งทีก็เก็บในที่ดอกเบี้ยดี ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
ทางเลือกที่สอง เก็บในรูปแบบกองทุน K-CASH (กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นของรัฐในประเทศ) โดยถ้าจะใช้เงิน สามารถขายคืนวันนี้ และได้เงินอีกทีพรุ่งนี้เลย แต่ถ้าขายคืนวันหยุดทำการ ถือว่าขายคืนวันถัดไป เช่น ถ้าขายคืนวันเสาร์ อาทิตย์ เปรียบเสมือนว่าขายคืนวันจันทร์ ได้เงินวันอังคาร ซึ่งผลตอบแทนของกองทุนนี้ที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยที่ผ่านมา ชนะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป

ดังนั้นเงินออมเผื่อฉุกเฉิน แสนแรกใส่ e-Savings ส่วนที่เกินแสนจัดเข้า กองทุน K-CASH เลยครับ

2. สายป้องกันไว้ก่อน
K-Expert ขอเสนอ 2 รูปแบบการป้องกันตามกฎอนิจจัง คือ ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเงินกู้
ประกันสุขภาพ
ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลค่อนข้างสูง จนบางทีหลายๆ คนก็รู้สึกว่า หากเป็นโรคร้ายแรงอะไรขึ้นมา เงินที่หามาได้ทั้งชีวิตก็ไม่มีผลอะไร ถ้าบางคนมีสวัสดิการประกันสุขภาพอยู่หรือพอใจกับการรักษาที่ตนมี อาจใช้สวัสดิการที่ตนมีก็ได้ แต่ถ้าใครที่อยากได้การรักษาที่สะดวกสบายขึ้น แนะนำว่าควรมีประกันสุขภาพด้วย และ ถ้ามีกำลังทรัพย์พอ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายก็ตอบโจทย์ เช่น สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ Elite Health Plus อย่างตัวผมอายุ 39 ปี ทำแผนที่จ่ายตามจริง 20 ล้านบาทต่อปี สำหรับกรณีนอกรักษาตัวในโรงพยาบาลในประเทศไทย ค่าเบี้ยประมาณปีละ 3 หมื่นบาท ป่วยเป็นอะไรทียิ่งกว่าคุ้ม คิดว่ามีไว้อุ่นใจเพื่อรับมือกฎอนิจจัง แต่มีแล้วไม่ต้องใช้ดีกว่าครับ
ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเงินกู้
เพราะชีวิตก็อนิจจังเช่นกัน เกิดมีอะไรไม่คาดคิด เราก็คงไม่อยากสร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะถ้าเป็นหนี้ที่เราสร้างขึ้นเอง การมีประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเงินกู้ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ อย่างน้อยหนี้ที่เราสร้างไว้จะได้ไม่ต้องตกเป็นภาระเดือดร้อนให้ผู้อื่น หรือบางคนที่เป็นผู้นำครอบครัวถ้าเกิดอะไรขึ้นกับเราแล้วครอบครัวจะเดือดร้อน ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ (www.kasikornbank.com/th/personal/Insure/life/Pages/whole-life-99-5.aspx ) ก็ทำเพื่อเป็นมรดกไว้ให้คนที่เราต้องดูแลได้เช่นกัน

3. สายกระจายความเสี่ยง
ถือว่าเป็นวิธีจัดการการเงินที่เหมาะกับ กฎอนิจจังหลายคนมักถามว่า ลงทุนแบบไหนดีที่สุด ก็คงต้องตอบว่าลงทุนโดยการกระจายความเสี่ยง และ เหมาะกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้น่าจะดีที่สุด อย่างสถานการณ์ COVID-19 ตัวอย่างตลาดหุ้นไทย ในไตรมาสแรกของปีนี้ที่ดัชนี SET ขึ้นไปสูงสุดที่ 1,600.48 จุด (เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2563) และ ลงมา 'ต่ำสุด' อยู่ที่ 1,024.46 จุด (เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2563) ถ้าเทียบ เป็น % ลดลงมาประมาณ 36% ถ้าเปรียบเป็นเงิน 1 ล้านบาท ก็ลดลงเหลือ 640,000 บาท นี้แหละอนิจจังของแท้ ถ้าเราเก็บเงินหรือลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างเดียว วันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมาเราคงอยู่ไม่เป็นสุขกันเลยทีเดียว แต่ถ้าเรารู้จักกระจายความเสี่ยง เช่นเก็บทองไว้บางส่วน ล่าสุดราคาทองช่วงปลายเดือน เม.ย ที่ผ่านมา ทองแตะบาทละ 26,000 กว่าบาท ก็คงใจชื่นขึ้นมาหน่อย แต่จะกระจายความเสี่ยงด้วยสัดส่วนที่เท่าไหร่ ทาง K-Expert เลยมีพอร์ตการลงทุนมาแนะนำตามระดับความเสี่ยงดังรูปครับ

โดยทั้ง 3 สายการเงินข้างต้นเป็นเพียงข้อแนะนำเท่านั้น บางคนอาจจะมีวิธีป้องกันกฎอนิจจังในรูปแบบอื่น แต่ผมเองได้ใช้ทั้ง 3 วิธี เห็นแล้วว่าเมื่อเจอวิกฤตเข้ามาจริง ๆ อย่างวิกฤต COVID-19 ด้านผมอาจจะไม่ได้รับผลกระทบเรื่องงาน แต่แฟนที่เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินกลับได้รับผลกระทบจนเงินออมฉุกเฉินของผมก็ได้ถูกเอามาช่วยแฟน ส่วนประกันสุขภาพที่ทำไว้เกิดติดเชื้อ COVID-19 มาจริงๆ ก็มั่นใจได้เลยว่ามีค่ารักษาแน่นอน และ ถึงแม้หุ้นที่ลงทุนไว้อาจพังพินาศไปบ้าง แต่ทองแท่งที่เก็บไว้ก็ช่วยให้สบายใจขึ้นมาทีเดียว

กฎอนิจจัง เป็นการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่ง ไม่เพียงแต่เรื่องการเงิน ดังนั้นการใช้ชีวิตให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา คือการรู้ทันและเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง โดยทำหน้าที่ของเราเองให้ดีที่สุดและไม่ยึดมั่นในของทุกสิ่ง ถ้าเราทำหน้าที่ของเราดีที่สุดแล้วไม่ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น ผลจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ต้องไปทุกข์ เพราะถือว่าเราได้ทำหน้าที่ของเราดีที่สุดแล้วนั่นเอง นี่แหละแก่นพระพุทธศาสนา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง