Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

​​​​​

สถานการณ์การลงทุนทั่วโลก : ในวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ - จีนได้ลงนามข้อตกลงการค้า Phase1 ไปเรียบร้อยที่ทำเนียบขาว พร้อมยกเลิกจีนจากการเป็นผู้แทรกแซงค่าเงิน ที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้ประกาศในเดือน ส.ค. 2562 และ เริ่มต้นเจรจาข้อตกลงการค้า Phase2 ทันที อย่างไรก็ดีสหรัฐฯ เปิดเผยว่า มีโอกาสที่สหรัฐฯ จะยังไม่ลดภาษีนำเข้าเพิ่มเติมจนกว่าจะผ่านการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พ.ย. 2563 อย่างไรก็ตามข้อตกลงการค้า Phase1 อาจเป็นการยุติความไม่แน่นอนเพียงชั่วคราว เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงในการเจรจาการค้า Phase2 ในอนาคต

สหรัฐฯ : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.2 ดีกว่าคาด และ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.8 ยอดค้าปลีกในเดือน ธ.ค. ปรับตัวขึ้นต่อเป็นเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 1.45 แสนตำแหน่งในเดือน ธ.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และ เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนธ.ค. ขยายตัวต่ำกว่าคาด โดยเงินเฟ้อขยายตัวเพียง 0.2% MoM และเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.1% MoM ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ คงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป

ดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน 1M +4.4% และ 12M +28.8% ปัจจุบันมี 12-M forward P/E 19.1 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 16.0 เท่า)
 
ยุโรป : GDP เยอรมัน +0.6% ในปี 2562 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2556 อย่างไรก็ดียังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี สาเหตุที่เศรษฐกิจยังคงขยายได้ต่อเนื่องนั้นเป็น เพราะ แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค และ การขยายตัวของภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตปรับตัวลง ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นเกือบใกล้จุด All Time High ขานรับนายฟิล โฮแกน กรรมาธิการด้านการค้าของ EU มีการเจรจาในเชิงบวก กับ นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน ในประเด็นความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างกัน จับตาประเด็นการประชุมนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) หากมีมุมมองที่ผ่อนคลาย ประเมินว่า ECB อาจจะหั่นดอกเบี้ยลงในปีนี้ และ ปรับเพิ่มวงเงิน QE ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563

ดัชนี STOXX600 ให้ผลตอบแทน 1M +2.4% และ 12M +25.5% ปัจจุบันมี 12-M forward P/E 15.3 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 13.9 เท่า)

จีน : ธนาคารจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงินลงอีก (RRR) 0.5% ทำให้ RRR ของจีนจะลงมาอยู่ที่ระดับ 12.50% เป็นการเพิ่มสภาพคล่องในวงเงินประมาณ 8 แสนล้านหยวน หรือ 1.15 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนอยู่ที่ระดับ 52.5 ในเดือน ธ.ค. 2562 ลดลงจากระดับ 53.5 ในเดือน พ.ย. 2562 อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ถึงภาวะที่ยังคงขยายตัว ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 7.6% YoY ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 16.3% อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อของจีนออกมาต่ำกว่าคาด ทางการจีนได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ธ.ค. ซึ่งออกมาหดตัว 0.5% YoY ต่ำกว่าคาดการณ์ว่าจะลดลงที่ 0.4% YoY และ ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เดือน ธ.ค. ขยายตัว 4.5% YoY โดยรวม GDP ไตรมาสที่ 4 ของจีนขยายตัว 6.0% YoY เป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 29 ปี

ดัชนี Shanghai Composite (SHCOMP index) ให้ผลตอบแทน 1M +1.8% 12M +23.1% ดัชนี HSCEI index ให้ผลตอบแทน 1M +4.2% และ 12M +12.8% ปัจจุบันมี 12-M forward P/E 8.5 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 8.6 เท่า)

ไทย : ตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแออยู่ ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค.ปรับตัวดีขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือน +0.87% นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ และ ภายในประเทศ มีเพียงการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ยังดีอยู่ การแข็งค่าของค่าเงินบาทยังคงส่งผลให้การส่งออกยังหดตัว ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ GDP โตต่ำกว่า 3.0% และ การที่ไทยถูกสหรัฐฯ มองว่าแทรกแซงค่าเงินบาท ทำให้ ธปท.ไม่สามารถแทรกแซงค่าเงินบาทได้มากนักในระยะต่อไป ทางด้านตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค. ปรับตัวลงมาอยู่ที่ 68.3 จากเดิม 69.1 ในเดือนก่อนซึ่งเป็นการปรับตัวลงต่อเนื่อง 10 เดือน ประเด็นหลักที่ผู้บริโภคกังวล คือ เสถียรภาพทางการเมืองของไทย และ สภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวช้า โดยเป้าหมายของ SET มีกรอบอยู่ที่ 1,650 - 1,800 ในปีนี้

ดัชนี SET ให้ผลตอบแทน 1M +3.4% และ 12M +4.5% ปัจจุบันมี 12-M forward P/E 15.9 เท่า (เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 14.4 เท่า)

รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ 
​กองทุน
​นโยบายการลงทุน
​การจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่ยงกองทุน
​K-SFPLUS
​กองทุนรวมตราสารหนี้ลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน และหรือเงินฝากทั้งในประเทศและต่างประเทศ อายุตราสารเฉลี่ยของกองทุนไม่เกิน 1 ปี 
​ไม่จ่ายปันผล




​ระดับ 4
​K-GINCOME-A(R)
​กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan Investment Funds – Global Income Fund, Class A (mth)-EUR (กองทุนหลัก) ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
รับซื้อคืนหน่วยอัตโนมัติ

​ระดับ 5

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2563)  
​​

ต้นปีถึงปัจจุบัน​
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
(ต่อปี)
3 ปี
(ต่อปี)
ตั้งแต่จัดตั้ง
(ต่อปี)
​K-SFPLUS
​0.08%
​0.54%
​1.04%
​2.07%
​1.65%
​1.59%
​เกณฑ์มาตรฐาน*
​0.10%
​0.42%
​0.93%
​1.89%
​1.68%
​1.64%
K-GINCOME-A(R)
​0.72%
​2.45%
​​3.04%​
​8.78%
​3.70%
​3.33%
​เกณฑ์มาตรฐาน**​
​0.00%
​3.28%
​3.91%
​​10.64%
​5.79%
​5.71%
ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี  

ดูผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ที่ https://www.kasikornasset.com​

  * ดัชนีชี้วัดของกองทุน (Benchmark) คือ ค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนรวมของ Government Zero Rate Return Index 6 เดือน (35%) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี วงเงินน้อยกว่า 5 ล้านบาท เฉลี่ยของ 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทพาณิชย์ หลังหักภาษี (35%) ผลตอบแทนรวมของ Corporate Zero Rate Return Index (BBB) 1 ปี (5%) และ US Generic Government 6 Month Yield บวกด้วยค่าเฉลี่ยของ Credit Spread ของตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BBB อายุ 6 เดือน ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน ปรับด้วยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเทียบเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน (25%)
  ** ดัชนีชี้วัดของกองทุน คือ ดัชนี Bloomberg Barclays US High Yield 2% Issuer Cap Index (Total Return Gross) Hedged to EUR (40%) / ดัชนี MSCI World Index (Total Return Net) Hedged to EUR (35%) / ดัชนี Bloomberg Barclays Global Credit Index (Total Return Gross) Hedge d to EUR (25%)

​ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และบลจ.กสิกรไทย


THE PREMIER Advisory ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย K-Expert