สถานการณ์การลงทุนทั่วโลกพบว่า ในกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงได้ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่สินทรัพย์ปลอดภัย และ Yield Play มีแรงขายทำกำไร โดยเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงเติบโตอย่างชะลอตัว โดย IMF คาดว่าจะลดลงไปอยู่ที่ 3% สำหรับปีนี้ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2551 อันเนื่องมาจากปัจจัยหลักในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และ จีนที่เริ่มส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ซึ่งต้องทำการปรับตัวมากยิ่งขึ้น โดยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะออกนโยบายผ่อนปรนด้านการเงินมากขึ้น โดยทาง IMF มองว่าการใช้นโยบายดังกล่าวสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง ขาลงในระยะสั้นเท่านั้น แต่ระยะกลางถึงยาวอาจยังเสี่ยงอยู่
ทางฝั่งตลาดหุ้นอเมริกาพบว่าปรับตัวบวกเล็กน้อย (S&P500 +1.72% MoM) โดยเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาพบว่ายังคงอ่อนแอลง เห็นได้จากดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ ที่ดิ่งลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 รวมไปถึงดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) เดือนกันยายนลดลง 0.1% (MoM) ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบกว่า 17 เดือน หลังจากที่เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยมุมมองตลาดคาดว่า FED อาจจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในรอบการประชุมที่จะถึงนี้
ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปโดยรวมยังคงปรับตัวขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางความกังวลจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้นโดยตรง ระหว่างสหรัฐฯ และ ยุโรป หลังจาก WTO ลงมติเห็นชอบต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ในการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า จากยุโรปวงเงิน 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเริ่มเก็บภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทเริ่มวันที่ 18 ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม สภาวะเศรษฐกิจยุโรปโดยรวมเองก็ยังไม่สู้ดีนัก ซึ่งสะท้อนผ่านทางดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) รวมถึงภาคการผลิต และ บริการของยูโรโซนที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี สู่ระดับ 50.1 ในเดือนกันยายน เป็นผลมาจากภาคการผลิตสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝั่งเยอรมนี
ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่รวมไปถึงตลาดหุ้นฮ่องกงยังคงความผันผวน ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในฮ่องกง โดยบริษัทในดัชนี CSI300 ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 พบว่า มีกำไรมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์อยู่ที่ 60.71% ของทั้งตลาด และมีกำไรเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 20.42% (YoY) อย่างไรก็ตาม ในตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคของจีนยังคงอ่อนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากความรุนแรงในฮ่องกงยังสูงขึ้นจนมีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับหุ้นจีนในกลุ่ม H-Share โดยดัชนี Hang Seng และ HSCEI ปรับตัวลงมาแล้ว 11.4% และ 11.2% ตามลำดับใน 6 เดือนที่ผ่านมา
การลงทุนในตลาดหุ้นประเทศไทยยังคงปรับตัวลดลงในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยความน่าเชื่อมั่นของประเทศไทยในสถานะการคลังนั้นยังสดใส สะท้อนผ่านทางดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเดือนสิงหาคมเกินดุลที่ 3.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้ได้รับอานิสงค์ในการที่เงินทุนจะไหลเข้าเพื่อลงทุนเพิ่มเข้าสินทรัพย์ปลอดภัยสูงขึ้น โดยตัวเลขเศรษฐกิจ และ การครองชีพของครัวเรือนช่วงไตรมาสสุดท้ายจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตัวเลขเศรษฐกิจยังทรงตัวได้ เห็นได้จากดัชนี้ PMI ภาคการผลิตยังคงทรงตัวเหนือเกณฑ์ขยายตัวได้ โดยเดือนกันยายนออกมาที่ 50.6 สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ 50.0 ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานเดือนกันยายนอยู่ที่ 0.44% สูงกว่าคาดที่ 0.41% อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการจ้างงาน และ รายได้ที่มีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนภาคเอกชนกลับมาหดตัวสูงท่ามกลางแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงอ่อนแอ
รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ
กองทุน
| นโยบายการลงทุน
| การจ่ายเงินปันผล
| ความเสี่ยงกองทุน
|
K-PLAN3
| กองทุนผสมลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และหรือเงินฝาก โดยจะลงทุนในหุ้น ไม่เกิน 55% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยลงทุนในต่างประเทศ ไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
| ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
| ระดับ 5
|
KEQRMF
| กองทุน RMF ที่ลงทุนหุ้นไทย และลงทุนในหุ้นต่างประเทศไม่เกิน 25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
| ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
| ระดับ 6
|
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2562)
| 3 เดือน
| 6 เดือน
| 1 ปี
| 3 ปี
| ตั้งแต่ต้นปี
|
K-PLAN3
| - 0.93%
| 0.93%
| 0.58%
| 3.34%
| 4.89%
|
เกณฑ์มาตรฐาน *
| - 1.63%
| 0.56%
| 1.38%
| 4.62%
| 5.90%
|
KEQRMF
| - 2.55%
| 2.12%
| 1.34%
| 7.81%
| 9.23%
|
เกณฑ์มาตรฐาน **
| - 4.50%
| 0.09%
| - 0.71%
| 6.64%
| 7.55%
|
ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี
ดูผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ที่ https://www.kasikornasset.com
* ดัชนีชี้วัดของกองทุน (Benchmark) คือ ค่าเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) (40%) TBMA Government Bond Total Return Index อายุระหว่าง 1-3 ปี (30%) Total Return of ThaiBMA MTM Corporate Bond Index อายุ 1-3 ปี (A-ขึ้นไป) (10%) MSCI ACWI Net Total Return USD Index (15%) ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน และ US Generic Government 12 Month Yield (5%) บวกด้วย Average Credit Spread ของตราสารที่มีอันดับต่ำสุด ในระดับ Investment Grade (BBB) อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน และปรับด้วยต้นทุนการป้องความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
** ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)
ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย
|