Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

​​        สถานการณ์การลงทุนทั่วโลก ตลาดหุ้นทั่วโลกช่วงนี้ปรับตัวขึ้นตามความคาดหวังในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีนซึ่งคาดว่าจะสามารถหาทางออกร่วมกันได้ รวมไปถึงการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป การผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งใหม่ของธนาคารกลางยุโรป แต่เมื่อดูเศรษฐกิจโลกองค์รวมพบว่า ยังเติบโตในแนวโน้มที่ชะลอตัวลง เห็นได้จากดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ปรับตัวลดลงทั่วโลก ซึ่งหากสงครามการค้ายังไม่คลี่คลายลง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะส่งผลชัดมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า
 
        ตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากความคาดหวังของตลาดต่อการผ่อนคลายข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน อีกทั้งได้รับแรงหนุนในเชิงบวกจากตัวเลขดัชนีเศรษฐกิจในด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงเกินคาด สูงกว่าเป้าหมายของ FED (+2.4% YoY) และ ยังคงปรับตัวขึ้น 3 เดือนต่อเนื่องติดต่อกัน ส่วนอัตราการว่างงานปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังคงกังวลในเรื่องอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้นซึ่งสะท้อนถึงวงจรเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตเต็มที่แล้ว ก่อนส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยในระยะถัดไป อย่างไรก็ตาม นักลงทุนอาจต้องติดตามว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ จะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายกันต่อไป
 
        ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง อีกทั้งเศรษฐกิจภาพรวมยังอ่อนแอลง เห็นได้จากเงินเฟ้อของยูโรโซนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ห่างจากเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% สืบเนื่องมาจากการชะลอลงของเศรษฐกิจโลก และ ความไม่แน่นอนของสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจยูโรโซนที่เน้นการส่งออกในระดับสูง โดยปัจจุบันทางธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้เพิ่งประกาศออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันโดยมีมาตรการ คือ 1) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.1% (จาก -0.4% สู่ระดับ -0.5%) 2) กลับมาใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน 3) เริ่มปล่อยกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบ จึงเป็นไปได้ที่เรายังคงต้องจับตามองกันต่อไปว่าจะสามารถกระตุ้นภาพรวมของเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้หรือไม่
 
        ตลาดหุ้นในฝั่งจีนนั้นยังคงปรับตัวขึ้นในกรอบแคบต้อนรับปัจจัยบวกจากรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของหุ้นที่อยู่ในกลุ่มภาคการบริการ และ การบริโภค โดยสะท้อนตัวเลขไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคการบริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการค้าจีนเดือนสิงหาคมยังอ่อนแรงลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าในเดือนก่อนหน้า และ ยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ +2.2% โดยจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้คาดการณ์ GDP จีนปี 2019 และ 2020 จะขยายลดลงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5 - 6% ตามลำดับ รัฐบาลจีนยังส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจตัวเอง

        ตลาดหุ้นประเทศไทยยังคงปรับตัวขึ้นลงผันผวนตามทิศทางราคาหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นส่วนใหญ่ โดยเป้าหมาย SET Index ล่วงหน้า 12 เดือนอยู่ที่ 1,750 ซึ่งหุ้นกลุ่มธนาคารมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์นำสำรองส่วนที่สูงกว่าจำนวนเงินสำรองตามสัดส่วน IFRS9 ณ วันแรกกลับมาบันทึกเป็นกำไรได้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ พบว่า GDP นั้นขยายตัว ลดลงเหลือ 3.0% YoY โดยได้รับผลกระทบจากประเด็นการส่งออก อีกทั้งปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นก็ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการบริโภคในภาคเอกชน และภาครัฐยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูง

รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ
กองทุน​
นโยบายการลงทุน
การจ่ายเงินปันผล​
ความเสี่ยงกองทุน
​K-PLAN2
​กองทุนผสมลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และ หรือเงินฝาก โดยจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล


ระดับ 5​


KDLTF
​กองทุน LTF ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี กระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
​มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6

​ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กันยายน 2562)  ​

​กองทุน
​3 เดือน
​6 เดือน
​1 ปี
​3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
​K-PLAN2
​0.79%
​2.93%
​1.04%
​2.77%
​4.14%
​เกณฑ์มาตรฐาน *
​0.71%
​2.20%
​1.71%
​3.66%
​4.64%
​KDLTF
​-2.30%
​2.73%
​-5.23%
​5.16%
​6.29%
​เกณฑ์มาตรฐาน **
​-0.98%
​4.08%
​-2.22%
​6.97%
​​8.65%

ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี 

ดูผลการดำเนินงานย้อนหลังได้ที่ https://www.kasikornasset.com 

* ดัชนีชี้วัดของกองทุน (Benchmark) คือ ค่าเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET TRI) (20%) TBMA Government Bond Total Return Index อายุระหว่าง 1-3 ปี (50%) Total Return of ThaiBMA MTM Corporate Bond Index อายุ 1 - 3 ปี (A-ขึ้นไป) (15%) MSCI ACWI Net Total Return USD Index (10%) ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน และ US Generic Government 12 Month Yield (5%) บวกด้วย Average Credit Spread ของตราสารที่มีอันดับต่ำสุด ในระดับ Investment Grade (BBB) อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน และ ปรับด้วยต้นทุนการป้องความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน#*
** ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)

​ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย

K-Expert