เป็นที่น่าจับตามองว่าสถานการณ์หุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นแต่ก็ยังมีความผันผวนอยู่ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ โดยล่าสุดธนาคารโลก (World Bank) ได้ลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเหลือ 2.6% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี
ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกามีการปรับตัวขึ้นมา หลังจากธนาคารกลาง Fed มีมติในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 2.25 - 2.50% และ เปิดช่องให้สนับสนุนลดดอกเบี้ยถึง 2 ครั้งในปีนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เห็นได้จากภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ และ เงินเฟ้อที่ชะลอตัวอันเป็นผลจากความรุนแรงของสงครามการค้า อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามผลการประชุม G20 ในเรื่องพิพาทสงครามการค้าว่าจะสามารถคลี่คลายข้อพิพาทได้หรือไม่
สำหรับทางฝั่งยุโรป โดยรวมแล้วตลาดหุ้นปรับตัวตามทิศทางตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าเป็นหลัก โดยเศรษฐกิจในฝั่งยูโรโซนนี้ยังคงอ่อนแอ เห็นได้จากตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งชะลอตัว - 0.50% ตามที่ตลาดคาดในเดือนเม.ย. ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกับฝั่งอเมริกา โดยคาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะคงอัตราดอกเบี้ยทั้งปีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ Brexit อังกฤษยังคงมีความเสี่ยงที่จะออกจากยุโรปแบบ No-deal หากนาย บอริส จอห์นสัน ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจที่ยังคงมีความไม่แน่นอน จากตัวเลขสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดคาดการณ์
ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นด้วยความหวังของนักลงทุนว่าสงครามการค้าระหว่างจีน และ สหรัฐอเมริกาจะเริ่มคลี่คลายได้ในการประชุม G20 ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงในช่วงนี้ โดยภาคการผลิตหดตัวลดลงมา เมื่อดูที่ค่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ลดลงมาอยู่ที่ 49.8 เดือนพ.ค. จาก 50.2 ในเดือนเม.ย.ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะกลับมากระตุ้นเศรษฐกิจ และ ลดแรงกดดันจากสงครามการค้าผ่านการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) หรือ ลดดอกเบี้ยนโยบายส่วนนโยบายการคลังผ่านทางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม และ การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากข้อพิพาททางการค้า
ส่วนตลาดหุ้นไทยพบว่าฟื้นตัวระยะสั้นตามตลาดหุ้นทั่วโลก และ ยังสะท้อนปัจจัยกดดันจากภาคเศรษฐกิจโดยรวมต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศพบว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตประมาณ 3.2 - 3.9% ซึ่งค่อนข้างต่ำ บวกกับตัวเลขการส่งออกที่ยังไม่ดีนัก โดยพบว่าหดตัวอยู่ที่ - 5.8% ในเดือนพ.ค. เนื่องจากการลดลงของความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม และ ค่าเงินที่แข็งขึ้นของไทย อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจไทยส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น และ มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยในเดือนพ.ค. 2019 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงกว่าเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.1 จุด โดยดีขึ้นทั้งในด้านการผลิต และ คำสั่งซื้อทั้งหมดเป็นสำคัญ
รายละเอียดกองทุนแนะนำ
กองทุน
| นโยบายการลงทุน
| การจ่ายเงินปันผล
| ความเสี่ยงกองทุน
|
K-STAR-A(A)
| ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและ มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ | ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
| ระดับ 6
|
K-EQUITY
| ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและ มีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว มีการกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม | จ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
| ระดับ 6
|
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2562)
| 3 เดือน
| 6 เดือน
| 1 ปี
| 3 ปี
| ตั้งแต่ต้นปี
|
K-STAR-A(A)
| 6.81%
| 9.53%
| 6.66%
| N/A
| 11.37%
|
K-EQUITY
| 6.28%
| 8.52%
| 5.61%
| 10.45%
| 10.38%
|
เกณฑ์มาตรฐาน *
| 6.57%
| 9.70%
| 6.48% | 9.86%
| 11.96%
|
ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี
* ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็น สิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และบลจ.กสิกรไทย
|