เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะที่ปรับตัวลดลง ภายใต้ความกังวลของสงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้ออย่างต่อเนื่อง โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้ออกมาประกาศตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้เหลือเพียงแค่ 3.2% ซึ่งถือว่าลดลงต่ำสุดในรอบ 30 ปีก็ว่าได้
ทั้งนี้ ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกายังคงเผชิญกับความผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดยเศรษฐกิจในฝั่งสหรัฐฯ นั้นยังคงมีท่าทีที่ชะลอตัวลง เมื่อดูจากตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือนเมษายน 2019 ที่พลิกกลับมาลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผลกระทบจากความกังวลต่อข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ทำให้ผู้บริโภคลังเลที่จะใช้จ่าย นอกจากนี้ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ประจำเดือนพฤษภาคม 2019 อยู่ในระดับประมาณ 50.9 จุด ซึ่งถือว่าปรับลดลง แต่ยังอยู่เหนือระดับ 50 จุด ซึ่งถือว่าผู้จัดการฝ่ายผลิตและผู้ประกอบการยังมีมุมมองว่า เศรษฐกิจด้านการผลิตและบริการมีโอกาสขยายตัวได้แต่ไม่มากนัก
สำหรับหุ้นยุโรปโดยรวมแล้วปรับตัวลดลงในทิศทางตลาดโลก โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ออกมา (PMI) ยังคงต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 47.70 (ตลาดคาดการณ์ที่ 48.10) ซึ่งสะท้อนมุมมองเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่อ่อนแอ แต่ไม่ได้แย่ หากมองที่ตัวเลข GDP ของเยอรมนี ไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 0.6% และ 0.4% เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนในด้านสถานการณ์ Brexit หลังจากที่ เทเรซา เมย์ ได้ออกจากตำแหน่งแล้วก็ยังอาจมีความไม่แน่นอนในการลงทุนหากในกรณีที่มีการทำประชามติครั้งที่สองซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นใจจากนักลงทุนโดยรวม
ทางฝั่งตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ และ ตลาดหุ้นฮ่องกง ก็ได้รับผลจากประเด็นของสงครามการค้าที่กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง หลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนจาก 10% เป็น 25% ซึ่งทางการจีนก็ได้ตอบโต้กลับ โดยประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 5,000 รายการที่มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นจีน และ ค่าเงินหยวนยังคงผันผวนในช่วงเดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแรงลงในช่วงนี้ โดยคาดว่าทางการจีนอาจจะมีมาตรการออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นอินเดีย BSE100 Index ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 4% โดยสวนทางตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับลงจากแรง trade war ขานรับผลเลือกตั้ง หลังจากที่นาย Modi แห่งพรรค BJP ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และ ได้เลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 คาดว่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจอินเดียในด้านการส่งต่อนโยบายเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้น่าจะมีเงินทุนไหลเข้าอินเดีย พยุงค่าเงินรูปีที่มีความผันผวน
เมื่อกลับมามองตลาดหุ้นไทยพบว่ามีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยผลประกอบการบริษัทใน SET INDEX ใน ไตรมาส 1/2019 ดีมากกว่าคาดการณ์ประมาณ 8.9% โดยได้รับผลดีจากการดำเนินงานปกติ และ รายการพิเศษ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาวะเศรษฐกิจภายในบ้านพบว่าชะลอตัว โดย GDP ไตรมาสที่ 1 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.8% เท่ากับเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 ซึ่งการลดลงนี้มาจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และ รายได้จากการท่องเที่ยวที่เติบโตน้อยลง รวมถึงการส่งออกสินค้าที่หดตัวลงในช่วงนี้
รายละเอียดกองทุนแนะนำ
กองทุน
| นโยบายการลงทุน
| การจ่ายเงินปันผล
| ความเสี่ยงกองทุน
|
K-SET50
| ลงทุนหุ้นในดัชนี SET50 เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50
| ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
| ระดับ 6
|
K-STAR-A(R)
| ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ โดยมีนโยบายขายคืนอัตโนมัติ
| ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
| ระดับ 6
|
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2562)
| 3 เดือน
| 6 เดือน
| 1 ปี
| 3 ปี
| ตั้งแต่ต้นปี
|
K-SET50
| - 0.86%
| 0.52%
| - 3.37%
| 8.66%
| 4.48%
|
เกณฑ์มาตรฐาน *
| - 0.75%
| 0.74%
| - 2.94%
| 9.24%
| 4.72%
|
K-STAR-A(R)
| - 0.23%
| 1.09%
| - 3.69%
| 9.33%
| 5.08%
|
เกณฑ์มาตรฐาน **
| - 0.47%
| 0.97%
| - 3.68%
| 7.94%
| 5.52%
|
ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี
* ดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI)
** ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)
ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และบลจ.กสิกรไทย
|