Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

​​​​     

     ​ในเดือนที่ผ่านมาตลาดการเงินโดยรวมยังคงผันผวน และ ปรับตัวลดลง ทั้งในตลาดพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ตลาดกำลังพัฒนาอย่างจีน ไทย และ ตลาดเพื่อนบ้าน หลังจาก Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.25%-2.50% และ ยังเดินหน้าแนวทางการปรับลดขนาดงบดุลต่อเนื่อง แม้จะปรับแผนการขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าจาก 3 ครั้ง เป็น 2 ครั้ง โดย Fed ได้ปรับประมาณการณ์ GDP ปีนี้ลงเหลือ 3% จาก 3.1% และ ปี 2019 ลดลงเหลือ 2.3% จาก 2.5% นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ อาจต้องถูกปิดการดำเนินงาน เนื่องจากขาดงบประมาณ เข้าสู่ภาวะ Government shutdown หลัง ปธน. ทรัมป์ ต่อรองจะไม่ลงนามผ่านร่างกฎหมายงบประมาณใดๆ หากไม่มีการอนุมัติงบประมาณสร้างกำแพงกั้นชายแดนสหรัฐฯ – เม็กซิโก รวมทั้งข่าวลือที่ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการปลดนายเจอโรม พาวเวล ออกจากตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) 

หุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ได้รับแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ด้านอิตาลี และ สหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงงบประมาณปี 2562 ของอิตาลี หลังจากมีความขัดแย้งกันตั้งแต่อิตาลียื่นร่างงบประมาณดังกล่าวไปตั้งแต่เดือน ตุลาคม โดยอิตาลีลดตัวเลขขาดดุลงบประมาณลงเป็น 2.04% จากระดับเดิม 2.40% ธนาคารกลาง ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0% และ ประกาศยุติโครงการ QE ในเดือนธันวาคมนี้ ขณะที่ Brexit ยังคงยืดเยื้อต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงเดือนมีนาคม 2562 

ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ และ หุ้นฮ่องกงปรับตัวลงจากความกังวลด้านการเติบโตของเศรษฐกิจจีน หลังตัวเลขเศรษฐกิจมีสัญญาณการชะลอตัว ในขณะที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ออกกลไกกู้ยืมระยะกลางแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (TMLF) เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินต่างๆ ปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทเอกชนขนาดเล็ก ด้านสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ เริ่มผ่อนคลาย แต่ยังไม่สิ้นสุด โดยเลื่อนการใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันออกไปอีก 90 วัน จากเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะเริ่มใช้อัตราภาษีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้าเป็นต้นไป และ จะเดินหน้าเจรจาเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งด้านการค้า ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นทั่วโลก

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงต่อเนื่องตามภูมิภาค และ ได้รับแรงกดดันจากหุ้นพลังงานหลังราคาน้ำมันปรับร่วงแรง และ สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ด้าน กนง.มีมติ 5:2 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาที่ 1.75% โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งเพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน สำหรับปัจจัยบวกของตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับแรงหนุนด้านเศรษฐกิจผ่านการลงทุนภาครัฐ การกระตุ้นด้านการบริโภคภายในประเทศ และ การท่องเที่ยว ความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง และ สภาพคล่องในระบบที่ยังมีอยู่สูง​

รายละเอียดกองทุนแนะนำ 
​กองทุน
​นโ​ยบายการลงทุน
​กา​รจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่ยงกองทุ​น
K-SET50
​​ลงทุนหุ้นในดัชนี SET50 เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6
​K-PLAN 3
​กองทุนผสมลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และหรือเงินฝาก โดยจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 55% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 5

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2562)  

​3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
K-SET50
​- 8.76%
​- 0.19%
​- 5.48%
​11.70%
​0.16%
​เกณฑ์มาตรฐาน *
​- 8.73%
​0.08%
​-5.01%
​12.22%
​0.17%
K-PLAN3
- 5.29%
​- 1.00%
​- 6.11%
​4.93%
​0.11%
​เกณฑ์มาตรฐาน **
- 5.65%
​- 1.70%
- 3.85%
​5.41%
​0.13%

ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี 
* ดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI)
** ดัชนีชี้วัดของกองทุน (Benchmark) คือ ค่าเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) (40%) TBMA Government Bond Total Return Index อายุระหว่าง 1-3 ปี (30%) Total Return of ThaiBMA MTM Corporate Bond Index อายุ 1-3 ปี (A-ขึ้นไป) (10%) MSCI ACWI Net Total Return USD Index (15%) ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน และ US Generic Government 12 Month Yield (5%) บวกด้วย Average Credit Spread ของตราสารที่มีอันดับต่ำสุด ในระดับ Investment Grade (BBB) อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน และปรับด้วยต้นทุนการป้องความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน#* 

​ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และบลจ.กสิกรไทย



THE PREMIER Advisory ธนาคารกสิกรไทย