Investment View

Investment View

​​​​​​สรุปคำแนะนำ

  • ​สหรัฐฯ ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (Phase 2 ครอบคลุมสินค้า 6,000 รายการ) ในอัตราที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเรียกเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีนในอัตรา 10% เริ่มมีผลวันที่ 24 กันยายนนี้ และเพิ่มเป็น 25% ในช่วงต้นปีหน้า
  • ด้าน กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 1.5% แต่เริ่มมีเสียงโหวตให้ปรับดอกเบี้ยขึ้นมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างชัดเจน ประกอบกับประเทศไทยอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน และคาดการณ์ว่าในการประชุมครั้งหน้ามีโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • เส้นทางการเลือกตั้งเปิดอย่างเป็นทางการ การเลือกตั้งที่ชัดเจนน่าจะสร้างความเชื่อมั่นและทำให้นักลงทุนต่างประเทศกลับมาซื้ออีกครั้ง
  • วิกฤตค่าเงินในกลุ่มประเทศ Emerging Market (EM) เริ่มจะผ่อนคลาย หลังจากถูกโจมตีตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม ล่าสุดสถานการณ์วิกฤตค่าเงินใน EM เริ่มมีสัญญาณบรรเทา หลายๆ สกุลเงินชะลอการอ่อนค่า และบางสกุลสามารถดีดตัวแข็งค่าขึ้นมาได้ เช่น สกุลลีลาของตุรกี 
  • บลจ. กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นปลายปี 2561 ที่ 1,750-1,800 จุด โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS) ปีนี้ที่ 8%
  • ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน LTF สามารถทยอยลงทุนได้

     สหรัฐฯ ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (Phase 2 ครอบคลุมสินค้า 6,000 รายการ) ในอัตราที่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเรียกเก็บภาษีสินค้าที่นำเข้าจากจีนในอัตรา 10% เริ่มมีผลวันที่ 24 กันยายนนี้ และ เพิ่มเป็น 25% ในช่วงต้นปีหน้า แม้ว่าการจัดเก็บภาษีนำเข้าข้างต้นจะมีการหั่นสินค้าออกไปกว่า 300 รายการ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรายการยังคงอยู่ในรายการจัดเก็บรอบล่าสุดซึ่งจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าชิ้นส่วนเหล่านี้จากจีนสูงขึ้น สำหรับ Phase 3 ที่จะเกิดขึ้น ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้นวงเงิน 2.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงหลังการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ

     เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2561 การประชุม กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 1.5% พร้อมคาดการณ์ GDP ปี 61 ยังคงขยายตัวที่ 4.4% และ คาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปี 61 อยู่ที่ 1.1% แต่เริ่มมีเสียงโหวตให้ปรับดอกเบี้ยขึ้นมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างชัดเจน ประกอบกับประเทศไทยอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานทำให้ประชาชนอาจจะประเมินภาระทางการเงินต่ำเกินจริง ซึ่งจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินในอนาคตได้ และ คาดการณ์ว่าในการประชุมครั้งหน้ามีโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

     หลังจากที่ พ.ร.บ. การเลือกตั้ง สส. และ พ.ร.บ. การได้มาซึ่ง สว. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 61 ถือเป็นการเปิดประตูสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ส่วน พ.ร.บ. การเลือกตั้ง สส. ต้องรอกลาง ธ.ค. 61 ถัดจากนั้น คสช. และ กกต. จัดประชุมเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งในกรอบ 150 วัน คาดเร็วที่สุดคือ 24 ก.พ. 62 และ ช้าที่สุดคือ 5 พ.ค. 62 เส้นทางการเลือกตั้งที่ชัดเจนจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศซึ่งได้ขายสุทธิอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักของการขาย คือ ปัญหาการเมืองในประเทศ ดังนั้น การเลือกตั้งที่ชัดเจนน่าจะสร้างความเชื่อมั่น และ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศกลับมาซื้ออีกครั้ง

     วิกฤตค่าเงินในกลุ่มประเทศ Emerging Market (EM) เริ่มจะผ่อนคลาย หลังจากถูกโจมตีตั้งแต่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม ล่าสุดสถานการณ์วิกฤตค่าเงินใน EM เริ่มมีสัญญาณบรรเทา หลาย ๆ สกุลเงินชะลอการอ่อนค่า และ บางสกุลสามารถดีดตัวแข็งค่าขึ้นมาได้ เช่น สกุลลีลาของตุรกี โดยทาง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ประเมินว่า ความกังวลต่อค่าเงิน EM อาจจะมีผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนไปจนถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ จาก US Dollar ที่แข็งค่ามากขึ้น แต่คาดว่าผลกระทบจะอยู่ในวงแคบ และ สามารถรับมือได้ หากราคาน้ำมันไม่ได้พุ่งสูงขึ้นอย่างกะทันหันจนมีผลทำให้กลุ่มประเทศ EM ที่นำเข้าน้ำมันเป็นจำนวนมากต้องขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด

     ตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนจากประเด็นการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยพื้นฐานในประเทศยังคงไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ บลจ. กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นปลายปี 2561 ที่ 1,750-1,800 จุด โดยคาดการณ์อัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS) ปีนี้ที่ 8%

รายละเอียดกองทุนแนะนำ
​​กองทุน
​นโยบายการลงทุน
​การจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่ยงกองทุน
​KDLTF
​ลงทุนหุ้นไทยพื้นฐานดี
หลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
​จ่ายเงินปันผลปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
​ระดับ 6
​KEQLTF
ลงทุนหุ้นไทยพื้นฐานดี
หลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2561)

​3 เดือน
​6 เดือน
​1 ปี
​3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
​KDLTF
​6.87%​
​-2.23%
​7.47%
​10.60%
​10.20%
​KEQLTF
​7.18%
​-1.​97%
​9.20%
​10.03%
​9.77%
​เกณฑ์มาตรฐาน *
​7.88%
​-0.68%
​8.49%
​10.54%
​7.85%

ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทยสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี
*ดัชนี ผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)

​ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดน K-Expert โดยใช้ข้อมูล และ คำแนะนำจาก บล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย


กรเอก อุ่นปิติพงษา ®CFP และ ศุภณัฐ งามเศรษฐมาศ K-Expert ที่ปรึกษาการเงินธนาคารกสิกรไทย