Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

​​​​​​ตลาดหุ้นทั่วโลกผันผวนเป็นส่วนใหญ่ 


        เดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นโลกปรับตัวลดลงเพราะความวิตกกังวลของนักลงทุนว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยหลังเกิดสัญญาณ Inverted Yield Curve ในตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ และ ปัจจัยด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองในหลายภูมิภาคเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ถึงแม้ว่าประเด็นเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจมีความผ่อนคลายลงเมื่อสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกและเลื่อนเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในบางรายการ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความผันผวนอย่างมากในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความไม่แน่นอนเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกและเลื่อนการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในบางกลุ่ม เพื่อแบ่งเบาภาระผู้บริโภคในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแรงอีกครั้งเมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี เกิดสัญญาณ Inverted Yield Curve สร้างความกังวลต่อนักลงทุนว่าเศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ 
ไตรมาส 2/62 ออกมาได้อย่างแข็งแกร่ง
 
ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมืองอิตาลีที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลปัจจุบัน และในประเด็น Brexit ของอังกฤษ นั้น ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐฯ พร้อมสนับสนุนให้อังกฤษตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรปแบบ No-Deal Brexit ประกอบกับผลสำรวจของบีเอ็นพี พาริบาส์ ระบุแนวโน้มที่อังกฤษจะแยกตัวออกจาก EU แบบไม่มีข้อตกลง (No deal) ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 50% จากเดิมที่ 40% ทั้งนี้ผลการสำรวจของบีเอ็นพี พาริบาส์ สอดคล้องกับผลสำรวจของรอยเตอร์ที่ทำการสำรวจในวันที่ 2-7 ส.ค. ระบุว่ามีแนวโน้มเฉลี่ย 35% ที่จะเกิด Brexit แบบ No deal ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่รอยเตอร์ทำการสำรวจเมื่อ 2 ปีก่อนและสูงกว่าระดับ 30% ในการสำรวจเดือนที่แล้ว อีกทั้งการปรับตัวลดลงต่อเนื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ เยอรมนี และฝรั่งเศส ปรับตัวลดแรงตามด้วยเช่นกัน สร้างความกังวลแก่นักลงทุนว่าเศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยนักลงทุนคาดหวังว่ารัฐบาลเยอรมนีและ ECB จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
 
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นฝั่งญี่ปุ่นตลาดปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องกลตามทิศทางของเศรษฐกิจตลาดโลก โดยนักลงทุนได้ทำการขายสินทรัพย์เสี่ยงเพื่อเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยท่ามกลางสงครามการค้าที่ยังมีโอกาสยืดเยื้อจากจีนมายังญี่ปุ่น นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับผลกระทบจากประเด็นที่เกาหลีใต้ทำการถอดชื่อของญี่ปุ่นออกจากรายชื่อประเทศที่ได้สิทธิพิเศษทางการค้า (White List) เพื่อตอบโต้ที่ญี่ปุ่นกีดกันการค้ากับเกาหลีใต้ในช่วงก่อนหน้านี้

  ทางฝั่งตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่และตลาดหุ้นฮ่องกงจีนแผ่นดินใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนได้คลายความกังวลในประเด็นสงครามการค้า ภายหลังทางการสหรัฐฯ ประกาศยกเลิกและเลื่อนการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนในบางรายการไปจนถึงวันที่ 15 ธ.ค. จากกำหนดเดิมในวันที่ 1 ก.ย. อีกทั้งยังมีสำนักข่าวรายงานว่ากระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ อาจอนุญาตให้บริษัท Huawei สามารถซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ ต่อไปได้อีก 90 วัน ในขณะที่ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลดลง โดยยังคงได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ฮ่องกงได้รับอิสรภาพจากจีนแผ่นดินใหญ่

        ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวตามทิศตลาดหุ้นทั่วโลก ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด โดยมีมติ 5:2 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25 bps ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าไม่น่าจะปรับลดในครั้งนี้เนื่องจากทาง กนง. มีความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเงินของไทยเรื่องหนี้ภาคครัวเรือน และ อสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากใน 2 - 3 ปีที่ผ่านมา จึงได้มีมาตรการ LTV ออกมาเพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ สาเหตุที่มีการปรับลดในครั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าคาดจากผลกระทบสงครามการค้าทำให้ภาคการส่งออกหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ และ เริ่มส่งผลต่อการบริโภคภายในประเทศ และ อัตราเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายล่าง จึงเห็นควรให้ปรับลดในครั้งนี้ โดยในระยะยาวยังคงมีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นไทยเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่สูง อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้น โดยมองว่าราคาหุ้นอยู่ในระดับต่ำกว่า 1,650 จุด เป็นระดับที่น่าสนใจในการลงทุนระยะยาว

รายละเอียดกองทุนที่แนะนำ
​กองทุน
​นโยบายการลงทุน
การจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่ยงกองทุน
K-STAR-A(A)
​ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ 
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6
​K-PLAN3
​กองทุนผสมลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และหรือเงินฝาก โดยจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 55% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน 
ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 5


ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2562)  

​3 เดือน
​6 เดือน
​1 ปี
​3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
​K-STAR-A(A)
​1.94%
​1.68%
​- 1.13%
​​N/A​​
6.59%
​เกณฑ์มาตรฐาน *
​1.46%
​0.81%
​- 1.48%
​N/A
​6.26%
​K-PLAN3
​1.11%
​1.06%
​- 0.52%
​2.73%
​3.78%
​เกณฑ์มาตรฐาน **
​0.87%
​1.39%
​- 0.06%
​3.86%
​4.80%
​ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี 

* ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET TRI) 
** ดัชนีชี้วัดของกองทุน (Benchmark) คือ ค่าเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) (40%) TBMA 

Government Bond Total Return Index อายุระหว่าง 1-3 ปี (30%) Total Return of ThaiBMA MTM Corporate Bond Index อายุ 1-3 ปี (A-ขึ้นไป) (10%) MSCI ACWI Net Total Return USD Index (15%) ปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อแปลงเป็นสกุลเงินบาท ณ วันที่คำนวณผลตอบแทน และ US Generic Government 12 Month Yield (5%) บวกด้วย Average Credit Spread ของตราสารที่มีอันดับต่ำสุด ในระดับ Investment Grade (BBB) อายุ 1 ปี ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณผลตอบแทน และ ปรับด้วยต้นทุนการป้องความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน#* 

​ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจากบล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย

THE PREMIER Advisory ธนาคารกสิกรไทย