Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

Investment View มุมมองการลงทุนทั่วโลก

​​​​​​​​

        ในเดือนที่ผ่านมาตลาดการเงินโดยภาพรวมปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง การเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีความคืบหน้าไปในทิศทางบวกมากขึ้น หลังจากที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้ง 2 ฝ่ายเจรจากันที่กรุงวอชิงตัน เพื่อหาทางออกเรื่องชะลอการเพิ่มอัตราเก็บภาษีนำเข้าจากจีน จากเดิมที่กำหนดไว้เป็นวันที่ 1 มี.ค.นี้ และ เจรจาประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังหาข้อตกลงไม่ได้ โดยประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า จะเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีเวลาเจรจา และ หาข้อสรุปที่เป็นธรรมระหว่างกันได้
 
        ขณะที่รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา เปิดเผยว่าคณะกรรมการส่วนใหญ่มีแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยที่ไม่เร่งรีบ และ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25 - 2.5% เป็นระดับที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ เงินเฟ้อ (Neutral Rate) ขณะที่นโยบายด้านงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ ความเห็นส่วนใหญ่มองว่า ควรจะสิ้นสุดการปรับลดงบดุลสิ้นปีนี้ หลังจากที่ได้เริ่มปรับลดมาตั้งแต่ ต.ค. 2560

        หุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังในการบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีน และ ทาง ECB มีการส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณามาตรการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคธนาคารเพื่อรักษาสภาพคล่องในระบบ เพื่อทดแทนโครงการที่จะทยอยครบกำหนดในช่วงกลางปีหน้า ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่ยังมีสัญญาณการชะลอตัวจากตัวเลข Manufacturing PMI เดือน ก.พ. อยู่ที่ 49.2 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 50.3 โดยชะลอตัวต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี

        หุ้นจีนแผ่นดินใหญ่และหุ้นฮ่องกงปรับตัวขึ้น จากความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน การปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งมาจากความคาดหวังในการบรรลุข้อตกลงการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน โดยล่าสุดมีรายงานว่า จีนเสนอนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากที่สหรัฐฯ ประกาศจะเลื่อนเวลาเริ่มขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนออกไป จากเดิมมีกำหนดในวันที่ 1 มี.ค.

        หุ้นไทยปรับตัวขึ้นตามภูมิภาค ได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 61 ขยายตัว 4.1% สูงสุดในรอบกว่า 6 ปี ตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยสนับสนุนจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ยังเติบโตได้จากการขับเคลื่อนของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ยังขยายตัวได้ในอัตรา 5 - 6% ในปีนี้ และการประเมินมูลค่า (Valuation) ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลงมาใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่ระดับ 3.4% การกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนช่วยส่งผลบวกต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวม การส่งสัญญาณการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดยังช่วยลดความกังวลต่อสภาพคล่องโลกตึงตัว และ ส่งผลให้ค่าเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่กลับมาแข็งค่าขึ้น ส่งผลดีต่อเงินลงทุนต่างชาติไหลกลับที่ไทย แต่ขณะเดียวกันมีปัจจัยที่ยังต้องติดตาม เช่น แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศหลัก ๆ ของโลกซึ่งส่งสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน รวมทั้งความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างจีน - สหรัฐฯ​

รายละเอียดกองทุนแนะนำ 
​กองทุน
​นโยบายการลงทุน
​การจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่​ยงกองทุน
K-SET50
​​ลงทุนในหุ้นดัชนี SET50 เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6
K-STAR-A(A)

​ลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานดีและมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนดีสม่ำเสมอ

​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​​ระดับ 6

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562) 


​3 เดือน
​6 เดือน
​1 ปี
​3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
​K-SET50
​1.05%
​-2.83%
​-6.51%
​11.82%
​5.21%
​เกณฑ์มาตรฐาน *
​1.15%
-2.63%
​-6.06%
​12.39%
​5.33%
K-STAR-A (A)
​0.97%
​-3.38%
​-6.96%
​N/A
​5.25%
​เกณฑ์มาตรฐาน **
​1.12%
​-3.13%
​​-6.83%
​N/A
​5.88%


ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี 
* ดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI)
** ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI) 

​ผลการดำเนินงานในอดีต และ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจาก บล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย


THE PREMIER Advisory