Investment View

Investment View

​​​​สรุปคำแนะนำ

  • ตลาดการเงินโดยภาพรวมยังมีความผันผวนต่อเนื่องจากความกังวลในยอดขาย iPhone กดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแรง 
  • ทางด้านโกลด์แมน แซคส์ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทยอยชะลอตัวลง โดยจะชะลอตัวค่อนข้างมากในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า จากภาวะการเงินที่จะตึงตัวมากขึ้น รวมถึงผลบวกจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่ทยอยลดลง
  • หุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่ EU เห็นพ้องรับข้อตกลง Brexit แล้ว แต่ต้องรอติดตามการพิจารณาของรัฐสภาอังกฤษ ขณะที่รัฐบาลอิตาลีส่งสัญญาณปรับลดตัวเลขเป้าหมายขาดดุลงบประมาณตามคำเรียกร้องของสหภาพยุโรป (EU)
  • หุ้นจีนแผ่นดินใหญ่และหุ้นฮ่องกงปรับตัวลงจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังไม่คลี่คลายหลังสหรัฐฯ ขอความร่วมมือกลุ่มประเทศพันธมิตรร่วมกันหลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์โทรคมนาคมของ Huawei จากความกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูล
  • หุ้นไทยปรับตัวลดลงจากการปรับร่วงของหุ้นกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมัน และความกังวลในตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงหลังตัวเลข GDP เติบโตต่ำกว่าที่ตลาดคาด ในขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่ามาที่ระดับ 33.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ตัวเลขการส่งออกดีขึ้นในเดือนตุลาคมและราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น​

        ในเดือนที่ผ่านมาตลาดการเงินโดยรวมยังคงผันผวนทั้งในตลาดพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ตลาดกำลังพัฒนาอย่างจีน จากความกังวลในยอดขาย iPhone ที่กดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดสหรัฐฯ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงแรง ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานต่อเนื่อง ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และ จีนยังไม่คลี่คลาย ทางด้านโกลด์แมน แซคส์ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะทยอยชะลอตัวลง โดยจะชะลอตัวค่อนข้างมากในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า จากภาวะการเงินที่จะตึงตัวมากขึ้น รวมถึงผลบวกจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่ทยอยลดลง ทั้งนี้ โกลด์แมน แซคส์ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 2.5% ในไตรมาส 4 ของปีนี้ โดยลดลงจากระดับ 3.5% ในไตรมาส 3 ขณะที่ในไตรมาสแรกของปีหน้า จะอยู่ที่ 2.5% ก่อนที่จะชะลอตัวสู่ 2.2%, 1.8% และ 1.6% ใน 3 ไตรมาสถัดไป

  หุ้นยุโรปปรับตัวลดลง ได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ในขณะที่ EU เห็นพ้องรับข้อตกลง Brexit แล้ว แต่ต้องรอติดตามการพิจารณาของรัฐสภาอังกฤษ ขณะที่รัฐบาลอิตาลีส่งสัญญาณปรับลดตัวเลขเป้าหมายขาดดุลงบประมาณตามคำเรียกร้องของสหภาพยุโรป (EU)

        ตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวนจากประเด็นการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมัน และความกังวลในตัวเลขเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงหลังตัวเลข GDP เติบโตต่ำกว่าที่ตลาดคาด ตัวเลขส่งออกเดือนตุลาคมออกมาดีกว่าที่คาดมาก จากที่คาด 4.0% เติบโต 8.7% จาก -5.2% ในเดือนกันยายน สินค้าหลักมาจากทองคำที่ฟื้นตัวแรงจากความต้องการ และราคาที่ปรับตัวดีขึ้นทางด้านสินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ช่วยหนุนในเดือนที่ผ่านมา

รายละเอียดกองทุนแนะนำ
​กองทุน
นโยบายการลงทุน
​การจ่ายเงินปันผล
​ความเสี่ยงกองทุน
​K-SET50
​ลงทุนหุ้นในดัชนี SET50 เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 6
​KDLTF
​กองทุน LTF ที่ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี กระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
​จ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
​ระดับ 6
​KBLRMF
​กองทุน RMF ที่ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ โดยลงทุนในหุ้น   ไม่เกิน 40% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
​ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
​ระดับ 5


ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (ข้อมูล ณ 27 พฤศจิกายน 2561)

​3 เดือน
6 เดือน
​1 ปี
​3 ปี
​ตั้งแต่ต้นปี
K-SET50​
​- 4.06%
​- 4.57%
​2.51%
​10.47%
​- 2.11%
KDLTF
​- 5.32%
​- 6.25%
​- 3.13%
​8.24%
​- 7.04%
​เกณฑ์มาตรฐาน*
- 3.93%
​- 4.34%
​3.10%
​9.74%
​- 1.60%
KBLRMF
​- 1.73%
​- 1.79%
​- 1.72%
​2.29%
​- 3.66%
​เกณฑ์มาตรฐาน**
​- 0.98%
​- 0.99%
​0.78%
​4.70%
​- 0.39%

ผลการดำเนินงานช่วงเวลาน้อยกว่า 1 ปี จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนสะสม ส่วนช่วงเวลา 1 ปีขึ้นไป จะแสดงเป็นอัตราผลตอบแทนต่อปี 
* ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI)
** กองทุนจะใช้ค่าเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวมราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯ (30%) Total Return of ThaiBMA GOVERNMENT BOND INDEX อายุ 1-3 ปี (20%) Total Return of ThaiBMA GOVERNMENT BOND INDEX อายุ 3 - 7 ปี (10%) Total Return of ThaiBMA MTM Corporate Bond Index อายุ 1-3 ปี (A- ขึ้นไป) (15%) และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีเฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ (25%) เป็นตัวชี้วัดของกองทุน โดยก่อนวันดังกล่าว กองทุนใช้เกณฑ์มาตรฐานของสมาคมฯ คือ ค่าเฉลี่ยของดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯ กับค่าเฉลี่ยของ TBMA Government Bond Index และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีเฉลี่ยของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์

​ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดย K-Expert โดยใช้ข้อมูลและคำแนะนำจาก บล.กสิกรไทย และ บลจ.กสิกรไทย


THE PREMIER Advisory