Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content
Financial Planning
Financial Planning: เทคนิคการลงทุนแบบต้นทุนถัวเฉลี่ย
 
 
ท่ามกลางปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป ที่ส่งผลให้การลงทุนมีความผันผวนมากขึ้น เชื่อว่าหลายท่าน คงเคยได้ยินคำแนะนำให้ลงทุนแบบทยอยลงทุนหรือการลงทุนแบบต้นทุนถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging (DCA)) เพื่อให้ได้ต้นทุนลงทุนต่ำกันมาบ้างนะคะ แต่บางท่านก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า แล้วเทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้สามารถ ต้นทุนต่ำจริงหรือไม่ เหมาะกับภาวะตลาดแบบใด วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ เริ่มจากมาลองดูค่าสถิติต่ำสุดสูงสุดของ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วง 5 ปี ระหว่างปี 2550-2554


จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า การลงทุนผิดจังหวะจะทำให้มีต้นทุนลงทุนที่สูงกว่าลงทุนถัวเฉลี่ยค่อนข้างมาก นอกจากนี้จะเห็นว่าเดือนที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวขึ้นสูงมักอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ของปี ไม่ว่าจะเป็น ปี 2550 ปี 2552 และปี 2553 ยกเว้นในปี 2551 ที่ดัชนีสูงสุดในช่วงต้นปี และลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปีจากผลของ วิกฤติซัปไพรม์ ในขณะที่ผู้ลงทุนที่ชอบซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) ไว้ลดหย่อนภาษีนั้น มักจะมีพฤติกรรมซื้อกองทุนรวม LTF ในช่วงปลายปีเสมอ เนื่องมาจากบางท่าน อาจรอเงินโบนัส หรือต้องการลงทุนในช่วงปลายปี เพื่อที่จะได้ถือครองหน่วยลงทุนในระยะเวลาที่สั้นที่สุด ซึ่งจาก ข้อมูลข้างต้นจะพบว่า การจับจังหวะลงทุนในช่วงปลายปี อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เพราะไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะได้ ต้นทุนที่ถูก ในขณะที่การเลือกลงทุนแบบ DCA จะมีโอกาสที่ได้รับต้นทุนถัวเฉลี่ยที่ต่ำกว่า

แล้วเทคนิคลงทุนแบบ DCA เหมาะกับทุกภาวะตลาดหรือไม่ หากพิจารณาจากผลตอบแทนเปรียบเทียบระหว่าง การใช้เทคนิค DCA กับการจับจังหวะลงทุนเพียงครั้งเดียวในเดือนธันวาคม จะพบว่า ในช่วงภาวะตลาดขาขึ้น อย่างเช่นในปี 2550 ปี 2552 และปี2553 เทคนิคลงทุนแบบ DCA จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า ยกเว้นในปีที่ตลาดปรับตัวลดลงรุนแรงอย่างในปี 2551 หรือปรับตัวลดลงในช่วงปลายปี 2554 ที่การลงทุนเพียงครั้งเดียวในเดือนธันวาคมจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงภาวะตลาดขาลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ควรเลือกเทคนิคจับจังหวะการลงทุนเพียงอย่างเดียว แนะนำว่า อาจแบ่งเงินลงทุนโดยใช้วิธี DCA ในสัดส่วนที่น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็นเงินก้อนมากขึ้น เพื่อดูจังหวะการเข้าลงทุนและเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้มากขึ้น ดังตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่าง

ในช่วงภาวะตลาดขาลง ก็ไม่ได้หมายความว่า ควรเลือกเทคนิคจับจังหวะการลงทุนเพียงอย่างเดียว แนะนำว่า อาจแบ่งเงินลงทุนโดยใช้วิธี DCA ในสัดส่วนที่น้อยลง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็นเงินก้อนมากขึ้น เพื่อดูจังหวะการเข้าลงทุนและเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้มากขึ้น ดังตัวอย่างด้านล่าง ตัวอย่าง คุณวินัย มีเงินได้ทั้งปี 1,000,000 บาท สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากการลงทุนในกองทุน LTF สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ทั้งปี และไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น คุณวินัยมีสิทธิลงทุนในกองทุน LTF จำนวน 150,000 บาท ซึ่งหากคุณวินัยต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มที่ โดยใช้วิธี DCA หมดทั้งก้อน เท่ากับว่า จะต้องซื้อทุกเดือน เดือนละ 12,500 บาท (150,000/12เดือน) สำหรับช่วงปีที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง คุณวินัยสามารถลดจำนวนการลงทุนแบบ DCA ลง เช่น จากเดือนละ 12,500 บาท เหลือเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งจะทำให้ลงทุน LTF ด้วยเทคนิค DCA รวมเป็นจำนวน 60,000 บาท (12 x 5,000 บาทต่อเดือน) สำหรับเงินลงทุนส่วนที่เหลือจำนวน 90,000 บาทนั้น คุณวินัยสามารถรอจังหวะทยอยเข้าซื้อเมื่อหุ้นมีการปรับตัวลดลง เพื่อให้ได้ต้นทุนจากการลงทุนที่ดี

นอกจากเทคนิคการลงทุนแบบ DCA จะช่วยให้มีโอกาสลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าแล้วยังมีข้อดีอีก ก็คือช่วยสร้างวินัยการออม และยังสามารถนำไปปรับใช้กับการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ทองคำ การลงทุนในต่างประเทศ การลงทุนทางเลือก เป็นต้น

“การลงทุนมีหลากหลายเทคนิค การเลือกใช้เทคนิคได้ถูกเวลาถูกจังหวะ จะช่วยให้ได้ ต้นทุนลงทุนที่ต่ำค่ะ”

AUTHOR


ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษา
ลูกค้าบุคคล (K-Expert)

RELATED STORY