K WEALTH /
บทความ /
Wealth Management / เจาะลึก "K-SF" กองทุนความเสี่ยงต่ำ ที่น่าสนใจช่วงดอกเบี้ยขึ้นแรง
13 กันยายน 2565
3 นาที
เจาะลึก "K-SF" กองทุนความเสี่ยงต่ำ ที่น่าสนใจช่วงดอกเบี้ยขึ้นแรง
“
• ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลดีต่อการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เพราะเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ สามารถนำเงินไปลงทุนต่อได้ทําให้ไม่เสียโอกาสในการรับดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
• การบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากตัวเลข Maximum Drawdown มาเป็นตัวช่วยในการวิเคาะห์ร่วมกับ Recovering Period ว่านักลงทุนมีโอกาสขาดทุนสูงสุดเท่าใด และสามารถยอมรับความเสี่ยงนั่นได้หรือไม่
“
ในภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอนและเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เพื่อกระจายความเสี่ยงถือเป็นทางเลือกที่ดี และน่าจะดีกว่าการถือเงินสดไว้ด้วยซ้ำ คนที่รับความเสี่ยงได้น้อยอาจเริ่มต้นลงทุนตราสารหนี้โดยตรงหรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เพราะใช้เงินลงทุนน้อย มีสภาพคล่องสูง และสะดวกในการซื้อขาย แนะนำกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นหรือกองทุนที่มีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่กองทุนถืออยู่ไม่เกิน 1 ปี กองทุนตราสารหนี้ที่น่าสนใจในตอนนี้มีอะไรบ้างไปดูกัน
กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นมีลักษณะอย่างไร
ช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นเมื่อถือจนครบกำหนดอายุ สามารถนำเงินไปลงทุนต่อได้เพื่อทําให้ไม่เสียโอกาสในการรับดอกเบี้ยที่ระดับใหม่ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นจากกองทน K-SF ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในเงินฝากประจำอายุ 1 ปี ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนอายุ 1 ปี ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นตราสารหนี้ไทยระยะสั้นที่มีเครดิตความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้ในระดับที่น่าลงทุน มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 4 ปานกลางค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างสินทรัพย์ที่กองทุน K-SF ลงทุน เช่น พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หุ้นกู้ บมจ. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เป็นต้น นอกจากกองทุนเปิดอย่าง K-SF ในกลุ่มตราสารหนี้ระยะสั้น หากต้องการลงทุนประหยัดภาษีและกังวลในสินทรัพย์เสี่ยงมากๆ ก็สามารถลงทุน KSFRMF ได้ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1ปี 3ปี และ 5ปี อยู่ที่ 0.34% 0.57% และ 0.84% ตามลำดับ จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น หากลงทุนในกองทุนรวมตราสารที่อายุสั้นๆ ถ้ามีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นและกองทุนรวมตราสารเหล่านี้เมื่อครบอายุแล้วกองทุนต้องไปลงทุนใหม่ ก็จะได้รับตราสารตัวใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยใหม่ที่น่าจะสูงขึ้นตามไปด้วยนั้นเอง
จะรู้ได้อย่างไรว่าเรารับความเสี่ยงของกองทุนนั้นๆ ได้จริง
การลงทุนในตราสารหนี้ก็มีทั้งข้อดีและสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ในฐานะนักลงทุนจะรู้ได้อย่างไรว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะแม้การลงทุนนั้นจะบอกว่าเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้น้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่เสี่ยงเลย หรือความเสี่ยงระดับ 3 กับ 4 หรือระดับ 4 เหมือนกัน มันแปลว่าเรารับได้จริงหรือเปล่า Drawdown หรือ Maximum Drawdown จะช่วยนักลงทุนมือใหม่ๆ หาคำตอบกับข้อกังวลใจนี้ได้ ไปดูรายละเอียดกัน
DRAWDOWN / MAXIMUM DRAWDOWN
Drawdown คือ ผลขาดทุนสะสมของกองทุนในอดีตที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้ง โดยวัดจากการลดลงของเงินทุนจากจุดสูงสุดในอดีต ถึงจุดต่ำสุด ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี โดยเราจะเห็นการเกิด Drawdown มากมาย แต่จุดที่นักลงทุนจะให้ความสนใจคือจุดที่กองทุนนั้นเกิดการ Drawdown สูงสุดหรือ Maximum Drawdown นั้นเอง ซึ่งในกองทุนรวมจะแสดงผลขาดทุนสูงสุดในระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (หรือตั้งแต่จัดตั้งกองทุนกรณีที่ยังไม่ครบ 5 ปี) โดยวัดจากระดับ NAV ต่อหน่วยที่จุดสูงสุดไปจนถึงจุดต่ำสุดในช่วงที่ NAV ต่อหน่วยปรับตัวลดลง ค่า Maximum Drawdown เป็นข้อมูลที่ช่วยให้ทราบถึงความเสี่ยงที่อาจจะขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนรวม เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นขออธิบายได้ตารางดังต่อไปนี้
กองทุนตราสารหนี้ / ข้อมูลเชิงสถิติ
|
K-SF
|
K-CBOND
|
Maximum Drawdown
| -0.09%
| -1.78%
|
Recovering Period
| 0.10 เดือน
| 6.41 เดือน
|
อายุเฉลี่ยของตราสารหนี้
| 3.84 เดือน
| 1 ปี + 11.04 เดือน
|
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี
| 1.37%
| 0.85%
|
ประเภทกองทุน
| กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
| กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว
|
หมายเหตุ : ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ Fund Fact sheet วันที่ 27/7/65
จากตารางด้านบน สมมติมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท
1) ลงทุนในกองทุน K-SF
ตัวเลข Maximum Drawdown จะบอกว่ากองทุนนี้มีโอกาสขาดทุนสูงสุดอยู่ที่ -0.09% ระยะเวลาคืนทุนจากที่ขาดทุนกลับมาเท่าทุน หรือ Recovering Period จะอยู่ที่ 0.1 เดือน (3 วัน) และอายุเฉลี่ยของกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นนี้อยู่ที่ 3.84 เดือน หมายความว่าหากเราลงทุนและดูข้อมูลเชิงสถิตินี้แล้วให้ถามตัวเองว่าถ้าเกิดเหตุขาดทุน ที่ประมาณ 1 ล้านละ 900 บาท และตัวเลขขาดทุนที่ว่า จะกลับมาเป็นบวกได้ภายในเวลาสั้นๆ จากอดีตกองทุนนี้ใช้เวลา 3 วัน และเราน่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดหวังได้อยู่ประมาณใกล้ๆ 1.37% ถ้าหากถือได้ยาวถึง 3 เดือนกว่าๆ เกือบ 4 เดือน แบบนี้เรายอมรับได้ไหม ถ้ายอมรรับได้ก็ถือว่ารับกับความเสี่ยงที่กองทุนนี้มีได้
2) ลงทุนในกองทุน K-CBOND
ตัวเลข Maximum Drawdown จะบอกว่ากองทุนนี้มีโอกาสขาดทุนสูงสุดอยู่ที่ -1.78% หมายความว่าหากเราลงทุนโอกาสขาดทุนสูงสุดที่ 11,780 บาท จากเงินลงทุน 1 ล้านบาท โดยกองทุน K-CBOND มีระยะเวลาคืนทุนหรือ Recovering Period อยู่ที่ 6.41 เดือน ซึ่งหากเทียบกับ SF ก็จะใช้เวลาที่ยาวกว่า แต่หากไม่ได้มีเหตุให้ต้องการใช้เงินในช่วงเวลา 6 เดือน หรือรอได้ การใช้ข้อมูล Maximum Drawdown เป็นตัวช่วยตัดสินใจประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก็จะช่วยได้มาก ผลตอบแทนจากการลงทุน ที่เทียบเคียงจากผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี ไม่ได้การันตีหรือบอกว่าการลงทุนในปัจจุบันจะได้รับเท่านั้นจริง สามารถอ่านทำความเข้าใจเรื่องผลตอบแทนและแนวโน้มการลงทุนของกองทุน K-CBOND
ประโยชน์ของการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยใช้ Maximum Drawdown
ทำให้รู้ว่ากองทุนหรือสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่เคยขาดทุนสูงสุดเท่าไหร่ โดยเทียบเงินที่มีโอกาสขาดทุนนั้นกับระยะคืนทุน แล้วตัดสินใจได้ว่ายอมรับการขาดทุนนั้นได้หรือไม่ จากตัวอย่าง K-SF เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้นที่เสี่ยงน้อย จากความเสี่ยงในการขาดทุนสูงสุดสามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็วภายใน 3 วัน ทำให้ไม่น่ากังวล ส่วน K-CBOND เป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะยาว จากความเสี่ยงในการขาดทุนสูงสุดสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายใน 6.41 เดือน ถือเป็นระยะเวลาที่ไม่นานจนเกินไป นักลงทุนสามารถนำแนวทางตามตัวอย่างทั้งหมดนี้ไปใช้วิเคราะห์และบริหารจัดากรความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ ได้เช่นกัน
ดังนั้นในการลงทุนหากนักลงทุนกังวลเรื่องความเสี่ยง สามารถใช้ Maximum Drawdown มาช่วยในการพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุนได้ และตราสารหนี้ระยะสั้นจะช่วยลดความผันผวนในช่วง กนง. มีนโยบายปรับขึ้นดอกเบี้ย หากหลังจากนี้นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยเริ่มทรงตัวการเลือกกองทุนตราสารหนี้ระยะที่ยาวขึ้น จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์มากกว่านั้นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย
บทความโดย K WEALTH TRAINER พธพร รัตนสิโรจน์กุล