K WEALTH / บทความ / Wealth Management / จริงหรือ ที่เราอาจไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณ
12 กันยายน 2566
5 นาที

จริงหรือ ที่เราอาจไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณ


​​​​​​​​​​​​​​​​​“

• มีการอภิปรายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคม ทั้งเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ ทั้งเรื่องกำไรเฉลี่ยของกองทุนช่วงปี 62-64 เติบโตต่ำมาก รวมถึงเมื่อปี 65 เงินกองทุนลดลงไป 17,000-18,000 ล้านบาท


• มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ทำให้หลายคนที่กำลังจะอายุ 60 ปี หรือปัจจุบันรับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่ มีความกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ


• เงินออม เงินลงทุนของเราที่เก็บมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเงินฝาก กองทุนรวม LTF SSF หรือ RMF รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยชีพ(ถ้ามี) ที่เราและบริษัทส่งเงินสะสม และสมทบเข้ากองทุนรวม จะเป็นแหล่งรายได้ให้กับเรามีชีวิตต่อหลังเกษียณ



ข่าวใหญ่สำหรับคนใกล้เกษียณในช่วงที่ผ่านมา ที่เป็นกระแสสร้างความสั่นคลอนความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณ ออกมาหลักๆ 2 ข่าวคือ


• กองทุนประกันสังคม ที่เสี่ยงล้มละลาย?


• การปรับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ ที่จะไม่ได้ทุกคน?



1.กระแสข่าวกองทุนประกันสังคมเสี่ยงล้มละลาย?

ต้นเหตุการตั้งข้อสงสัย เกิดจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 66 มีการอภิปรายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคม ทั้งเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ หลักหลายร้อยล้านบาท ทั้งเรื่องกำไรเฉลี่ยของกองทุนช่วงปี 62-64 อยู่ระดับ 1.66% ต่อปี ซึ่งเติบโตต่ำมาก รวมถึงเมื่อปี 65 เงินกองทุนลดลงไป 17,000-18,000 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2.361 ล้านล้านบาท ​


จนเกิดประโยคกล่าวหาจากส.ส.ว่า “ประกันสังคมคือระเบิดเวลาลูกใหญ่ที่รอล้มละลายในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือก็คือ คนวัย 24 ปีนี้ที่ทำงานส่งเงินเข้าประกันสังคมตลอดชีวิต อาจไม่ได้เงินสักบาทเมื่อเกษียณ นอกจากนี้ คนอายุมากกว่านั้นก็อาจได้เงินเกษียณไม่ครบเช่นกัน”​




กองทุนยังแข็งแกร่ง นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดผลการดำเนินงานการบริหารการลงทุนกองทุนประกันสังคม ณ 31 พ.ค. 66 พบว่า


• กองทุนประกันสังคม มีเงินลงทุนสะสมทั้งสิ้น 2.31 ล้านล้านบาท โดยลงทุนหลักทรัพย์ที่มีความมั่งคงสูง 1.74 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 75.22% ซึ่งผลตอบแทน 5 เดือนแรกอยู่ที่ 23,191 ล้านบาท


ขณะที่ เธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ผลตอบแทนการลงทุนกองทุนประกันสังคมในปี64 อยู่ที่ 4.91% คิดเป็นเงิน 79,438 ล้านบาท หากรวมรายได้จากการเก็บเงินสมทบและรายได้อื่นๆ กองทุนมีรายได้รวมอยู่ที่ 2.31 แสนล้านบาท


ช่วงที่มีการระบาด COVID-19 มีการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้ผู้ประกันตน กรณีเจ็บป่วย 1.04 แสนล้านบาท กรณีว่างงาน 26,725 ล้านบาท ลดเงินสมทบฯ 3 ครั้ง เป็นจำนวน 64,246 ล้านบาท และการช่วยเหลืออื่นๆ ทำให้มีรายจ่ายมากกว่ารายรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะยาว ณ 30 มิ.ย. 66 มีเงินลงทุนสะสมอยู่ที่ 2.34 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24 % เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปีก่อน ที่มีเงินลงทุนสะสมอยู่ที่ 2.27 ล้านล้านบาท และคาดว่าในปี70 จะมีเงินลงทุนสะสมคิดเป็นมูลค่า 3 ล้านล้านบาท





​2.เบี้ยผู้สูงอายุ ปรับเกณฑ์ใหม่ ให้เฉพาะคนรายได้น้อย?




​ก่อนหน้านี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีการระบุเปลี่ยนแปลงให้ผู้สูงอายุที่จะรับเบี้ย ต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ทำให้หลายคนที่กำลังจะอายุ 60 ปี หรือปัจจุบันรับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่ มีความกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ


ซึ่งประกาศดังกล่าว มีการระบุไว้เพิ่มเติมว่าผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไปแล้ว ก่อนการใช้ระเบียบนี้ จะยังคงได้รับสิทธิต่อไป ซึ่งหมายความว่าใครที่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุอยู่ ก็จะได้รับเบี้ยต่อไปจนเสียชีวิตนั่นเอง


ส่วนใครที่กำลังจะอายุ 60 ปี แต่มีความกังวลว่าอาจจะไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุนั้น ต้องบอกว่าปัจจุบันคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ยังไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติ จึงต้องใช้อัตราเดิมไปก่อน แปลว่าคนที่กำลังจะอายุ 60 ปีช่วงนี้ จะยังเป็นกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิ์ตามเกณฑ์เดิม คือรับเบี้ยไปจนกว่าจะเสียชีวิต ส่วนกลุ่มคนที่อีกหลายปีจะอายุ 60 ปี ก็ต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะเข้าเกณฑ์ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุหรือไม่



ใกล้เกษียณแล้ว ควรมีแหล่งเงินออมนอกเหนือจากสวัสดิการรัฐ


นั่นคือเงินออม เงินลงทุนของเราที่เก็บมาทั้งชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเงินฝาก กองทุนรวม LTF SSF หรือ RMF รวมถึงกองทุนสำรองเลี้ยชีพ(ถ้ามี) ที่เราและบริษัทส่งเงินสะสม และสมทบเข้ากองทุนรวม ซึ่งเงินเหล่านี้ที่เราสะสมมา จะเป็นแหล่งรายได้ให้กับเรามีชีวิตต่อหลังเกษียณ



 


แต่หากใครที่ยังมีน้อย สิ่งที่จะช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋าคือการ “ลดรายจ่าย” เช่น การวางแผนลดหย่อนภาษี โดยเฉพาะคนใกล้เกษียณที่มีรายได้เยอะ มักเสียภาษีเยอะ จึงแนะนำให้วางแผนจัดการภาษี เช่น


• การซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF ที่ระยะเวลาถือน้อยกว่า SSF หากฐานภาษีสูงสุด 35% ซื้อเต็มสิทธิ์ 5 แสนบาท จะประหยัดภาษีไปได้ 175,000 บาททันที ได้ประหยัดภาษี และได้เก็บเงินด้วย ซึ่งแนะนำว่าควรนำเงินมาลงทุนใน RMF ให้เต็มสิทธิ์ ก่อนนำเงินไปเก็บไปลงทุนที่อื่น


 



ถ้าการลดหย่อนภาษีอย่างเดียวยังไม่น่าพอ แนะนำว่าควรประหยัดเงินให้ได้มากที่สุด พยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มเงินเก็บในกระเป๋า แล้วนำเงินไปเก็บ ไปลงทุนทั้งหมด รวมถึงเงินที่ได้คืนจากการลดหย่อนภาษีด้วย โดยตัวอย่างที่เก็บเงิน ได้แก่


​• เงินฝากพิเศษ super senior 30 เดือน ดอกเบี้ย 2% ต่อปี (ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 23 ส.ค. 66) และได้ความคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 3 ล้านบาท เริ่มต้นฝากตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไป โดยผู้ฝากต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป


• ทวีทรัพย์ 24 เดือน ฝากประจำปลอดภาษี ที่เหมาะกับคนที่ต้องการฝากเงินทุกเดือน ดอกเบี้ย2.3% ต่อปี (ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ วันที่ 23 ส.ค. 66) ฝากได้สูงสุด 25,000 บาท/เดือน


• หุ้นกู้ Investment Grade ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูงกว่าหุ้นกู้ Non-Investment Grade หุ้นกู้ Investment Grade มีอันดับความน่าเชื่อถือน้อยที่สุดคือ BBB- และสูงที่สุดคือ AAA ซึ่งแม้หุ้นกู้จะให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าฝากเงิน แต่เงินจะถูกล็อกเอาไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่สามารถเอาเงินออกมาใช้ก่อนได้ ดังนั้นเงินที่จะนำมาลงทุน ควรเป็นเงินเย็น มั่นใจว่าจะไม่นำมาทำอะไรก่อนครบกำหนด ซึ่งหากใครสนใจลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade แนะนำกระจายการลงทุนหุ้นกู้หลายๆตัว


• กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากเงินก้อนนี้จะขาดทุนไม่ได้ เช่น กองทุนที่อยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ กองทุน K-SF-A เหมาะกับพักเงินสั้นๆ 6 เดือนขึ้นไป ผลตอบแทนย้อนหลังสะสม 6 เดือนอยู่ที่ 0.68% กองทุน K-FIXEDPLUS-A เหมาะกับการพักเงินตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนย้อนหลังสะสม 1 ปีอยู่ที่ 1.69% แต่หากสามารถกันเงินบางส่วนที่พอจะรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้นอีกหน่อย แนะนำ กองทุนผสม K-PLAN2 ระยะเวลาลงทุนแนะนำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 2.61% ต่อปี (ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง ณ วันที่ 6 ก.ย. 66)


สำหรับใครก็ตามที่มีระยะเวลาการเก็บเงินเพื่อการเกษียณ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้เกษียณ ที่พึ่งอายุ 50 ปี คนวัยกลางคน วัยทำงานมานาน หรือแม้แต่ First Jobber พึ่งเริ่มทำงาน ให้เก็บเงินมากระจายการลงทุนเพื่อเป้าเกษียณ


• กระจายส่วนแรก นำไปลงทุนระยะยาว (Core Portfolio)


• กระจายส่วนที่สอง ลงทุนระยะสั้น (Satellite Portfolio)


เพื่อให้การลงทุนไม่ผันผวนมาก และยังมีโอกาสได้ผลตอบแทน ได้แบบจัดการได้ง่าย (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่Link บทความที่เกี่ยวข้องด้านล่าง )​



บทความโดย K WEALTH Trainer มนัสวี เด็ดอนันต์กุล AFPT

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ

ตลาดไม่เป็นใจ ลงทุนยังไงดี?
ทำเงินต่อกับ LTF อย่างไร? เมื่อครบกำหนดแต่ยังขาดทุน
ประเด็นร้อน: อัปเดตวิกฤติอสังหาฯจีน พร้อมแนวทางรับมือ
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!