K WEALTH / บทความ / Market Update / ประเด็นร้อน : เงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งแรงสุดในรอบ 40 ปี กระทบสินทรัพย์เสี่ยง ร่วงทั่วโลก
14 มิถุนายน 2565
3 นาที

ประเด็นร้อน : เงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งแรงสุดในรอบ 40 ปี กระทบสินทรัพย์เสี่ยง ร่วงทั่วโลก


​​​​

​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​“​

ศุกร์ที่ 10 มิ.ย. 65 และจันทร์ที่ 13 มิ.ย. 65 ดัชนีตลาดหุ้นหลายแห่งทั้ง สหรัฐฯ ยุโรป เอเชีย ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง หลังสหรัฐฯ รายงานดัชนีเงินเฟ้อ


​​


สาเหตุที่สินทรัพย์ ราคาปรับตัวลง

รายงานดัชนีเงินเฟ้อ (CPI) พ.ค. 65 ปรับตัวขึ้นถึง 8.6% เทียบกับ พ.ค. 64 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใหม่ในรอบกว่า 40 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่า FED อาจเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 0.5% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. หรือ 26-27 ก.ค. เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยตลาดมองว่ามีโอกาสประมาณ 26% ที่ FED จะขึ้นในอัตรา 0.75% จากเดิมที่ FED เคยสื่อสารว่าไม่ได้มีแผนจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงถึงครั้งละ 0.75% 


ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ มิ.ย. 65 ดิ่งลงสู่ระดับ 50.2 จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา ซึ่งเกิดจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อดังกล่าว ทำให้การบริโภคในสหรัฐฯ ในอนาคตอาจอ่อนตัวลง 


สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทย เนื่องจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐฯ ขยับตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับสัปดาห์ที่ผ่านมารายงานตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือน พ.ค. ออกมาสูงถึง 7.1% ทำให้นักลงทุนคาดว่า กนง. ต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ



สินทรัพย์และดัชนี ที่ได้รับผลกระทบ

• ศุกร์ที่ 10 มิ.ย. และจันทร์ที่ 13 มิ.ย. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ติดลบต่อเนื่อง เช่น ดัชนี Dow Jones -2.7%, -2.0% S&P 500 -2.9%, -2.6% และ Nasdaq -3.5%, -3.2% เทียบกันวันก่อนหน้าตามลำดับ ส่วนฝั่งยุโรป ดัชนี Euro Stoxx 50 -3.36%, -2.53% เทียบกันวันก่อนหน้าตามลำดับ 

ตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย ที่เมื่อวันศุกร์ได้ปิดตลาดไปก่อนฝั่งสหรัฐฯ เมื่อจันทร์ที่ 13 มิ.ย. ก็ปรับตัวลงตาม เช่น ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น -3.0%, ดัชนี CSI300 ของจีน -1.2% ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกง -3.4% ดัชนี VN ของเวียดนาม -4.4% และดัชนี SET ของไทย -2.0%เทียบกับวันก่อนหน้า 

ด้านตลาดตราสารหนี้ จันทร์ที่ 13 มิ.ย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น (ส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ลดลง) มาปิดที่ระดับ 3.36% ทำระดับสูงสุดใหม่ของปีนี้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวขึ้นในทุกช่วงอายุเช่นกัน (อ้างอิง ThaiBMA ณ 13 มิ.ย. 65)



กองทุน ที่ได้รับผลกระทบ

กองทุนหุ้นหลายกองทุนมีราคาลดลง ตามดัชนีหุ้นต่างๆ ที่ลดลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตสูง (Growth) ที่ NAV ณ ศุกร์ที่ 10 มิ.ย. (ประกาศคืน 13 มิ.ย.) ปรับตัวลดลงแรง เช่น กองทุน K-CHANGE ปรับตัวลง -3.2% กองทุน K-USA -6.8% กองทุน K-USXNDQ -3.5%เทียบกับวันก่อนหน้า และหากพิจาณาจาก NAV กองทุนหลักต่างประเทศ คาดว่า NAV ของหลายกองทุน ณ 13 มิ.ย. (ประกาศคืน 14 มิ.ย.) จะยังคงปรับตัวลดลงอีก 


ส่วน NAV ณ จันทร์ที่ 13 มิ.ย. ของกองทุนหุ้นฝั่งเอเชียก็ลดลงตามดัชนี เช่น กองทุน K-VIETNAM -4.6% และกองทุนหุ้นไทยส่วนใหญ่ ราคาลดลง 2%-3%เทียบกับวันก่อนหน้า สำหรับกองทุนหุ้นเอเชียประเทศอื่น เช่น กองทุนหุ้นญี่ปุ่น กองทุนหุ้นจีน ที่ยังไม่ได้ประกาศ NAV ก็คาดว่าจะลดลงตามดัชนีเช่นกัน 


สำหรับกองทุนตราสารหนี้ NAV ณ จันทร์ที่ 13 มิ.ย. หลายกองทุนก็ปรับตัวลดลง อย่างกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว (กลุ่ม T+2) เช่น K-FIXEDPLUS-A -0.49% K-FIXED-A -0.35% K-CBOND-A -0.17% ส่วนกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (กลุ่ม T+1) เช่น K-SFPLUS -0.0427% K-SF -0.0098% K-CASH -0.0008% เทียบกับวันก่อนหน้า



คำแนะนำการลงทุน

สำหรับการลงทุนระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป

กองทุนหุ้นสหรัฐฯ (เช่น K-USA, K-USXNDQ ฯลฯ) กองทุนหุ้นญี่ปุ่น (เช่น K-JP, K-JPX ฯลฯ) และกองทุนหุ้นไทย (เช่น K-STAR ฯลฯ) ผู้ที่ถืออยู่และต้องการลงทุนเพิ่ม แนะนำรอประเมินสถานการณ์เพื่อรอดูความชัดเจนของ FED ในการขึ้นดอกเบี้ยช่วง 14-15 มิ.ย. และ 26-27 ก.ค. 65 ก่อนตัดสินใจ 

กองทุนหุ้นยุโรป (เช่น K-EUROPE-A(D), K-EUX ฯลฯ) ผู้ที่ถืออยู่แนะนำหาโอกาสขายคืนหรือทยอยลดสัดส่วนลง ผู้ที่ต้องการลงทุนเพิ่ม ไม่แนะนำลงทุน 

กองทุนหุ้นจีน (เช่น K-CHINA K-CHX K-CCTV ฯลฯ) ผู้ที่ถืออยู่และต้องการลงทุนเพิ่ม แนะนำทยอยลงทุนเพิ่มได้


สำหรับการลงทุนระยะสั้น หรือพักเงินเพื่อหาโอกาสลงทุน

• หากกังวลความผันผวนจากการลงทุนในช่วงนี้ แนะนำ K-CASH 

• หากต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นระหว่างการพักเงิน แนะนำกองทุนตราสารหนี้ตามระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสม เช่น K-SF ที่เหมาะกับการลงทุน 1 เดือนขึ้นไป และ K-CBOND ที่เหมาะกับการลงทุน 6-9 เดือนขึ้นไป 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก KAsset

Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”

บทความโดย K WEALTH TRAINER
KBank LIVE
 

ติดตามข่าวสารการเงินจาก
K WEALTH ฟรี!

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง