19 ก.พ. 63

เตรียมตัวรับมือก่อนโดนเลย์ออฟ

คะแนนเฉลี่ย

ออมและลงทุน

​เตรียมตัวรับมือก่อนโดนเลย์ออฟ


          “พิษเศรษฐกิจ โรงงานปิดกิจการ พนง.ตกงานเพียบ” หลายคนเห็นพาดหัวข่าวกันแบบนี้แล้วอาจทำให้นึกย้อนไปถึงปี 2551 ที่เศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่ สร้างผลกระทบให้สถาบันการเงินซบเซา ถึงขึ้นต้องขับไล่และยึดทรัพย์จำนอง ทำให้การว่างงานของพนักงานมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น มาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มกังวลแล้วว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันก็มีข่าวบริษัทปิดกิจการและพนักงานตกงานรายวัน ซึ่งจากสถิติของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมในปีที่ผ่านมา (ม.ค. – ต.ค. 62) พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 1,989 แห่งถูกปิดตัวลง หรือมีพนักงานตกงานกว่า 49,157 คน ซึ่งส่งผลต่อตัวเลขหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากคนไทยอายุ 30 ปี ที่ 1 ใน 5 มีค่าเฉลี่ยหนี้ต่อรายเพิ่มขึ้นถึง 552,499 บาท และคนไทยวัยเกษียณที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี มีหนี้เฉลี่ย 453,438 บาทต่อราย  


          ในสถานการณ์แบบนี้ที่ไม่มีอะไรแน่นอน เราไม่ควรที่จะอยู่นิ่ง แต่ควรเตรียมรับมือให้พร้อมก่อนจะโดนเลย์ออฟ เพื่อให้เรามีทางเลือกและรับมือได้ทัน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะโดนเลิกจ้าง หรือเกษียณก่อนกำหนดก็ตาม 

วิธีการเตรียมตัวรับมือ

​ 

     1. เก็บเงินให้ถูก

              โดยควรเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งเงินก้อนนี้ควรเก็บไว้ในบัญชีที่มีสภาพคล่องสูง สามารถถอนได้ตลอดเวลา บัญชีเงินฝากที่แนะนำคือ บัญชีออมทรัพย์แบบไม่มีสมุดคู่ฝาก หรือเรียกว่า “K-eSavings Account”  สามารถเปิดบัญชีผ่าน K PLUS ได้ทันที บัญชีนี้ได้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ต่อปี (ตามประกาศ ณ วันที่ 17 ก.พ. 63) และอีกบัญชีที่แนะนำคือ บัญชีกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น กองทุน K-CASH หรือกองทุน  K-SFPLUS ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ที่ผ่านมามีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ประมาณ 1.4% - 2.3% (ณ วันที่ 21 ก.พ. 63) ส่วนการเบิกถอนจะใช้ระยะเวลา T+1 คือขายคืนวันนี้ภายในเวลา 15.30 น. จะได้รับเงินภายในวันทำการถัดไป เช่น ขายคืนวันจันทร์ ได้รับเงินวันอังคารเช้า เป็นต้น

     2. อย่าสร้างหนี้สินเกินตัว 

               ระวังเรื่องการก่อภาระหนี้ในช่วงนี้ โดยเฉพาะการก่อหนี้ใหม่หรือมีภาระหนี้สินเกินตัว โดยแนะนำว่าไม่ควรมีภาระผ่อนหนี้เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เช่น รายได้เดือนละ 20,000 บาท ไม่ควรผ่อนหนี้เกิน 8,000 บาทต่อเดือน หากใครมีภาระหนี้อยู่ควรรีบเคลียร์หรือจัดการให้เรียบร้อย เช่น หากผ่อนบ้านอยู่ ควรผ่อนเพิ่มขึ้นเดือนละ 10% หรือนำเงินโบนัสที่ได้รับมาปิดหรือโปะหนี้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้หมดหนี้เร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายได้อีกด้วย

     3. หากเกิดเหตุ หาตัวช่วย/ทางเลือกให้ถูก

          • การช่วยเหลือจากบริษัท

                    “เงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฏหมายแรงงาน” เงินก้อนนี้จะจ่ายให้ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยที่ไม่ได้มีความผิด หรือไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจ โดยการจ่ายขึ้นอยู่กับอายุงาน แบ่งออกเป็น



          การเลิกจ้างนี้ นายจ้างจะต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าจ้างอีก 1 เดือน เป็น “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” หรือเรียกกันว่า “ค่าตกใจ” 
​​

​          • การช่วยเหลือจากภาครัฐ

  “เงินชดเชยการว่างงานจากประกันสังคม” ผู้ที่มีสิทธิได้เงินจำนวนนี้ต่อเมื่อเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน โดยเงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับทดแทนในช่วงที่ว่างงานนั้นจะได้รับปีละไม่เกิน 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากเราได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 20,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท (คิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท คูณ 50%) เป็นเวลา 6 เดือน แต่หากเป็นการเซ็นใบลาออกเอง ถือเป็นการลาออกโดยสมัครใจจะได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน 
 
               ทั้งนี้ เราต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ว่างงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น และปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน

          • การหาอาชีพใหม่

                    ถ้ามีเงินเก็บเพียงพอ ควรมองหาอาชีพใหม่รองรับ เพื่อเป็นแหล่งรายได้สำรอง เช่น 
                    • ขายของออนไลน์ ข้อดีคือ ไม่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงมากนัก ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ข้อเสียคือ ร้านค้าไม่เป็นที่รู้จัก และขาดความน่าเชื่อถือ
                    • ทำธุรกิจแฟรนไชส์ธุรกิจแฟรนไชส์” ข้อดีคือ แฟรนไชส์ส่วนใหญ่ที่นำมาขายประสบความสำเร็จมาแล้ว มีแบรนด์เป็นที่รู้จัก และมักมีธนาคารให้การสนับสนุนด้านเงินทุนด้วย ข้อเสียคือ ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง และต้องเสียส่วนแบ่งจากยอดขาย 

​               การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เราคาดเดาได้ยากแบบนี้ เป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดหนี้สินที่เราสามารถทำกันได้ง่ายๆ ทั้งนี้หากใครที่ไม่รู้จะเริ่มบริหารเงินยังไง อย่างที่เราบอกไป อย่าลืมลองหาตัวช่วยอย่างการเก็บเงินในบัญชีที่มีสภาพคล่องสูง หรือที่เราเรียกกันว่า “K-eSavings Account” ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่น K PLUS ส่วนใครที่อยากเรียนรู้กันแบบเต็มๆ ทาง K-Expert ก็มี Workshop ที่น่าสนใจ สามารถเลือกดูเวลาและหัวข้อที่สนใจได้ที่นี้





ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง : 

​​K-eSavings Account​

​แฟรนไชส์ จาก ธนาคารกสิกรไทย

​สมัคร Franchise


ให้คะแนนบทความ

พฤทธิ์ จำรัสพันธุ์ AFPT

ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย