05 พ.ค. 64

ส่องกล้องมองจีน เลือกกองทุนอย่างไรให้รุ่ง

คะแนนเฉลี่ย

ออมและลงทุน

​​​​​​​ส่องกล้องมองจีน เลือกกองทุนอย่างไรให้รุ่ง


          ช่วงนี้ Theme ลงทุนหุ้นต่างประเทศกำลังมาแรง โดยภาพรวมของผลตอบแทน(ย้อนหลัง)ตลาดหุ้นในต่างประเทศ ในปีที่ผ่านมาจะเห็นชัดเจนว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนที่ 16.25% ตลาดเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) มีผลตอบแทนที่ 25.02%  ในขณะที่ตลาดหุ้นจีนโชว์ฟอร์มโดดเด่นด้วยผลตอบแทนสูงถึง 29.49% ซึ่งถือว่าตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้การลงทุนต่างประเทศในแถบเอเชียได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน


          สำหรับปีนี้ แม้ตลาดหุ้นจีนอาจเผชิญแรงเทขายในช่วงไตรมาสแรกและระยะสั้นอาจยังไม่ได้ปรับตัวบวกโดดเด่น  แต่สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและคาดหวังโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวต้องถือว่าราคาหุ้นจีนปรับลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังไม่เปลี่ยน เป็นโอกาสเข้าซื้อในช่วงที่ตลาดพักฐาน นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคตจากความพร้อมทั้งด้านนวัตกรรมและอุปสงค์ของชนชั้นกลางที่เติบโตสูง ทั้งยังมีปัจจัยบวกมากมายเห็นได้จากเศรษฐกิจจีนไตรมาสแรกโตสูงสุดในประวัติศาสตร์ 18.3% ขณะที่หลายประเทศยังไม่ฟื้นจากโควิด-19 คาดปีนี้จะโตได้ถึง 8.5%* (ที่มา: Bloomberg consensus เม.ย. 64)   และจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกในอีก 6 ปีข้างหน้า (ที่มา: J.P. Morgan Asset Management, Guide to China 1Q2021) นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยหนุนหุ้นจีน New Economy ทั้งดิจิทัลเทรนด์และการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำนวัตกรรมของโลก การบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง มุ่งใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้น และนิยมใช้สินค้า เกรดพรีเมียม อีกทั้งนโยบายการเงิน-การคลังของจีนยังสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวแข็งแกร่งยั่งยืนโดยจะเข้มงวดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

          อ่านมาถึงตรงนี้ จากข้อมูลภาพรวมแนวโน้มการลงทุนในจีนมีความน่าสนใจมากขึ้น พอหันไปดูกองทุนหุ้นจีนในตลาดมีให้เลือกมากมายหลายกองทุน แล้วจะมีวิธีการเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นจีนอย่างไรบ้าง

          ดูก่อนว่าหุ้นจีนมีกี่ตลาด ต่างกันยังไง
          โดยทั่วไป ตลาดหุ้นจีน ที่กองทุนไปลงทุน จะมีอยู่ 2 ตลาดใหญ่ๆ คือ 
          1.A-Share เรียกง่ายๆ คือ ดัชนีหุ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนในตลาดหุ้นเซียงไฮ้ และตลาดหุ้นเซินเจิ้น เป็นตลาดที่เปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ซึ่งมีโอกาสในการเจริญเติบโตได้สูง เนื่องจากจีนเป็นประเทศมหาอำนาจลำดับต้นๆ ทำให้การบริโภคและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำได้ในระดับสูง แต่มีความเสี่ยงจากการควบคุมจากภาครัฐ
          2.H-Share เป็นดัชนีหุ้นจีนในฮ่องกง จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮั่งเส็ง จะได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ ที่เป็นศูนย์กลางด้านการเงิน ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศทำได้คล่องตัว ก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป แต่ต้องเลือกให้ได้ก่อนว่าจะเน้นลงทุนในตลาดใดเป็นหลัก
          นอกจาก 2 ตลาดหลักนี้แล้ว หากจะลงทุนหุ้นจีนให้ครอบคลุมทั้งหมด ยังต้องมองไปที่โอกาสในการลงทุนผ่านตลาดอื่นๆเช่น “ADR” ซึ่งเป็นอีกทางเลือกเพื่อการซื้อขายหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดสหรัฐฯ อย่าง Alibaba หรือ Pinduoduo ด้วย

          ชอบสไตล์ลงทุนแบบไหน (Active VS Passive)
เลือกสไตล์การลงทุน เพื่อเลือกประเภทกองทุนให้เหมาะกับสไตล์ของตนเอง โดยแบบ Active คือ มีความเชื่อว่าการลงทุนแบบคัดสรรหุ้น จะทำให้ได้ผลตอบแทนชนะตลาด ซึ่งมีโอกาสชนะทั้งฝั่งกำไรและขาดทุน แต่เอาเป็นว่าสไตล์การลงทุนแบบเน้นเอาชนะ ในขณะแบบ Passive คือ เชื่อว่าลงทุนตามตลาดสิ ผลตอบแทนอ้างอิงกับตลาดนั่นแหละ คือผลตอบแทนที่ดีที่สุดแล้ว จะเป็นสไตล์การลงทุนให้มีสัดส่วนตามดัชนีของตลาด ทั้งตลาดปรับตัวขึ้นก็ได้กำไร หรือทั้งตลาดจะติดลบก็ทำใจได้ถือว่าลบไปตามตลาด เพราะเชื่อว่าผลตอบแทนตลาดดีที่สุดแล้ว

          กองทุนนั้น ลงทุนในต่างประเทศลักษณะอะไร
          กองทุนหลัก มีลักษณะ 3 ประเภท คือ 
          1.กองทุนหลักเป็น Master Fund หรือ Feeder Fund พูดง่ายๆ กองทุนต่างประเทศที่ลงทุน จะนำเงินของเราไปลงทุนต่อในกองทุนหลัก 1 กองทุนซึ่งจดทะเบียนในต่างประเทศ ดังนั้น ผลการดำเนินงานของกองทุนต่างประเทศก็จะขึ้นอยู่กับกองทุน Master Fund นี้เช่นกัน จะติดตามผลการดำเนินงานได้ง่าย แต่พึ่งพิงผลการดำเนินงานของกองทุนหลักอย่างเดียวเลย ซึ่งต้องดูลึกลงไปในกองทุนหลัก ถือหุ้นบริษัท Top 10 Holding มีบริษัทอะไรบ้าง และทำธุรกิจอะไร มีโอกาสจะได้กำไรมากน้อยแค่ไหน
          2. กองทุนหลักเป็นแบบ Fund of funds แปลว่า กองทุนต่างประเทศจะนำเงินของเราไปลงทุนในกองทุนมากกว่า 1 กองทุนในต่างประเทศ จะช่วยกระจายความเสี่ยง เนืองจากลงทุนในกองทุนหลักมากกว่า 1 กองทุน แต่จะติดตามผลการดำเนินงานได้ไม่ชัดเจน เพราะไม่ทราบสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกองทุนหลัก และ 
          3.เป็นการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Direct Investment) คือกองทุนรวมนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์(ตราสารหนี้ / หุ้น) ต่างประเทศโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไป กองทุนต่างประเทศ จะอยู่ใน 2 ประเภทแรก 

          ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 
          จาก 3 ปัจจัยแรก จะช่วยให้กรองกลุ่มกองทุนหุ้นจีนออกมาได้หลายกลุ่ม แล้วเปรียบเทียบผลตอบแทนย้อนหลังในกลุ่มใกล้เคียงกัน ถามว่าทำไมไม่ให้เลือกจากผลการดำเนินงานย้อนหลังก่อนเลย ต้องบอกว่า กองทุนจีนแต่ละกองมีลักษณะหรือสไตล์การลงทุนที่แตกต่างกัน ทำให้เลือกจากผลตอบแทนย้อนหลังอย่างเดียวไม่ได้ และผลตอบแทนในอดีตก็ไม่ได้ตัวยืนยันว่าจะได้ผลตอบแทนเหมือนกันในอนาคตด้วย และอย่าลืม พิจารณาผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงด้วย สำหรับผู้ที่ไม่เคยลงทุนต่างประเทศเป็นครั้งแรก ควรหาข้อมูล Maximum Drawdown   คือ ผลตอบแทนขาดทุนสูงสุด ในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อให้ประเมินได้ว่า กองทุนต่างประเทศเคยขาดทุน(ในอดีต)สูงสุดเท่าไร และเรายอมรับกับผลขาดทุนนั้นได้จริงๆหรือไม่ จะช่วยให้เห็นภาพความเสี่ยงจากการลงทุนที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียม มี 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมจัดการ (Management Fee) จะถูกรวมในราคาหน่วยลงทุน (NAV) อยู่แล้ว แต่ค่าธรรมเนียมซื้อ (Front-End Fee) จะถูกหักก่อน(ตอนซื้อ) เงินลงทุนที่เหลือจะนำไปจัดสรรเงินลงทุนต่อไป กับ ค่าธรรมเนียมขาย (Back-End Fee) จะถูกหักก่อน(ตอนขาย) เงินลงทุนที่เหลือจะคืนให้ต่อไป 

หลังจากดูตัวกรอง เราลองเปรียบเทียบกองทุนจีน เลือกยังไงให้เหมาะกับเรา


​กองทุน K-CHINA-A(D)
​กองทุน K-CCTV
​กองทุน CHX
​ตลาด
​All Share ครอบคลุมหุ้นจีนทุกตลาด (เช่น A-Share 
H-Share และ ADR)

​เน้นตลาด A-Share เป็นหลัก
​ตลาด A-Share ทั้งหมด อ้างอิงตามดัชนี FTSE China A50
​สไตล์
​Active​
​Active (มีโมเดลควบคุมความผันผวน (Volatilitty)) โดยผู้จัดการกองทุน บลจ.กสิกรไทย)
​Passive
​เหมาะกับใคร
​นักลงทุนที่ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนและต้องการกระจายการลงทุนมายังหุ้นจีน
​นักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นจีนแต่ไม่ต้องการรับความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลง เพราะกองทุนมีโมเดลควบคุมความผันผวน (Volatility)
​นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนอ้างอิงตามดัชนี FTSE China A50
​กองทุนหลัก
Master Fund: JPMorgan Funds-China Fund, Class JPM China I (acc) - USD
​Fund of Funds: 
1.UBS (Lux) Investment SICAV – China A Opportunity (USD)
2.Schroder International Selection Fund – China A, Class A Accumulation USD   
​Master Fund: CSOP FTSE China A50 ETF (RMB)
​Top Holding Company*
​1) Alibaba 
2) Tencent 
3) Ping An Insurance 
4) Meituan 
5) China Merchants Bank 
​Top Company ของกองทุนUBS 
1) WULIANGYE YIBIN 
2) KWEICHOW MOUTAI 
3) YUNNAN BAIYAO 
4) JIANGSU HENGRUI MEDICINE 
5) PING AN BANK 

Top Company ของกองทุน Schroder
1) Ping An Insurance Group
2) Oppein Home Group
3) Midea Group
4) China Merchants Bank 
5) China Jushi 
​1)KWEICHOW MOUTAI 
2)PING AN INSURANCE 
3)CHINA MERCHANTS BANK
4) WULIANGYE YIBIN 
5) INDUSTRIAL BANK 



​ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี*
​20.84% (ต่อปี)
​40.73% (ต่อปี)
​35.67% (ต่อปี)
​ผลตอบแทนตัวชี้วัด* (Benchmark)
45.08% (ต่อปี)
(K-CHINA มีการเปลี่ยนแปลงกองทุนหลักตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ผลการดำเนินงานย้อนหลังจึงไม่ได้สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนหลักใหม่)
47.68% (ต่อปี)
41.83% (ต่อปี)
​Sharpe Ratio
(1 ปี ณ 30 เม.ย. 64
 ที่มา Morningstar)
​1.02
​2.12
​1.64
​Maximum Drawdown* (5 ปี)
​-36.65%
​-16.10%**
​-31.71%
​Front End Fee*
Back-End Fee*
​1.50%
ยกเว้น
​1.50%
ยกเว้น
​ยกเว้น
0.15%
หมายเหตุ : * ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค. 64 ที่มาจาก Fund Fact Sheet
                  ** ข้อมูลย้อนหลังไปจนถึงวันจัดตั้งกองทุน ซึ่งย้อนหลังไปน้อยกว่า 5 ปี


          กรณีนักลงทุนทั่วไป เน้นกองทุนหุ้นจีนของ บลจ.กสิกรไทย จะสามารถเลือกกองทุนได้ตามตารางเปรียบเทียบ
          กรณีลงทุนเน้นลดหย่อนภาษี  จะมี 2 ทางเลือก ที่ลงทุนในหุ้นจีน คือ KCHINARMF และ K-CHINA-SSF  ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเหมือนกันกับ K-CHINA นั่นเอง โดยไม่มีค่าธรรมเนียม Front End Fee และ Back End Fee

          ต้องบอกว่ากองทุนหุ้นจีนมีในตลาดอยู่หลากหลายกองทุนมาก บทความนี้จะช่วยให้แยกแยะได้ว่า การลงทุนหุ้นจีนจะเลือกหรือกรองอย่างไรให้เป็นกองทุนดาวรุ่งที่เหมาะกับตนเองได้ อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพียงอย่างเดียวก็มีความเสี่ยง ควรจะมีการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนที่หลากหลายสินทรัพย์ หรือหลากหลายภูมิภาค หากสนใจอยากจะซื้อกองทุนต่างประเทศ ในแบบ New Normal ทำได้เลยผ่าน App อย่าง K-My Fund สำหรับกองทุนจาก บลจ.กสิกรไทย และ Finvest กับ 16 บลจ. ชั้นนำ ที่จะช่วยให้เริ่มต้นลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายๆ

Disclamer : “โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน/ K-CHINA-A(D) K-CHINA-A(A) K-CHINA-SSF  ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ KCHINARMF ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากมิได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ”



ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง :
- K-CCTV 


ให้คะแนนบทความ

สุนิติ ถนัดวณิชย์ CFP®

ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย